'วีระ' เตือนโครงการรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย เพิ่มหนี้ก้อนใหม่

‘วีระ’ ชี้ปัญหาการจัดสรรงบ 'รัฐบาล' ซ่อนยอดชำระหนี้คงค้าง 'รัฐวิสาหกิจ' เสนอเพิ่มเติมอีกรายการให้เห็นตัวเลขแท้จริง เตือนโครงการ 'รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย' ส่อเพิ่มหนี้ก้อนใหม่ เข้าอีหรอบเดิม

5 ก.ย.2567 - เวลา 15.03 น. นายวีระ ธีระภัทรานนท์ ในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณางบประมาณ 2568 ที่สงวนความเห็น ได้อภิปรายแสดงเหตุผล มาตรา 29 งบประมาณรัฐวิสาหกิจ ที่เสนอตัดงบประมาณรายจ่ายของรัฐวิสาหกิจลง 10% คิดเป็นประมาณ 3.4 พันล้านบาท ว่า ในชั้นกรรมาธิการก็มีการตัดทอนลงไปอย่างมหาศาลอยู่แล้ว

แต่ตนเองสงวนความเห็นเพื่อชี้แจงว่า การตัดรายจ่ายดังกล่าวเป็นเรื่องที่ตนไม่เห็นด้วย งบดังกล่าวเดิมรัฐบาลเสนอมา 6.9 หมื่นล้านบาท ในชั้นกรรมาธิการตัดทอนไป 3.5 หมื่นล้านบาท คงเหลือ 3.4 หมื่นล้านบาท พร้อมระบุว่า ขณะนี้เรามีรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 52 แห่ง ได้กำไร 35 แห่ง มีรายได้ประมาณ 4.4 ล้านล้านบาท มีกำไร 2.4 แสนล้านบาท นำส่งให้รัฐบาลล่าสุดเมื่อปี 2566 ประมาณ 1.7 แสนล้านบาท

แม้รัฐวิสาหกิจบางแห่งจะสามารถอยู่ได้ด้วยตนเอง เป็นสถาบันการเงิน แต่รัฐบาลมีภาระผูกพันต้องชดเชยรายได้ที่รัฐวิสาหกิจเสียไปเป็นเงินต้นและดอกเบี้ย แต่รัฐบาลกลับไม่ทำ และยังตัดลดรายการที่จะต้องให้รัฐวิสาหกิจ 5 แห่ง เป็นเงินประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาท เพื่อโยกไปเป็นงบกลางสำหรับกระตุ้นเศรษฐกิจ

อย่างไรก็ตาม นายวีระ ยก พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ ที่กำหนดไว้ว่า อัตราส่วนระหว่างยอดค้างชำระที่สถาบันการเงินออกให้ก่อน อยู่ที่ 32% ปัจจุบันกรอบดังกล่าว เพดานในการชดใช้เงินจะอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท สถานะของยอดคงค้างปัจจุบันอยู่ที่ 1.004 ล้านล้านบาท หมายความว่าไม่ทะลุเพดาน แต่จำนวนค่อนข้างเยอะ

นายวีระ ชี้ว่า การดำเนินการขณะนี้ ในงบประมาณรายจ่ายรัฐวิสาหกิจ ถ้าหากเราจะบริหารจัดการแบบนี้ อนาคตอาจเป็นปัญหาได้ เพราะส่วนหนึ่งอยู่ในรายการบริหารจัดการหนี้ของรัฐบาล 4.1 แสนล้านบาท มาแฝงไว้ในงบรายจ่ายรัฐวิสาหกิจที่จะต้องจ่ายคืน ทำให้เราไม่รู้สถานะหนี้สินและภาระค้างจ่ายของรัฐบาลอย่างแท้จริง

“ในอนาคตผมอยากเสนอให้ท่านสมาชิกลองทบทวนดูในการจัดทำงบประมาณปีต่อๆ ไป นอกเหนือจากการแยกให้ชัดเจนระหว่างการบริหารจัดการหนี้ภาครัฐ เป็นรายจ่ายที่ไม่สามารถเพิกถอนเปลี่ยนแปลงได้ กับรายจ่ายที่ต้องดำเนินการสำหรับการค้างจ่าย ที่ค่อนข้างยืดหยุ่น แต่บางครั้งเป็นการยืดหยุ่นแบบไม่ค่อยมีเหตุผลเท่าไหร่ หากในอนาคตสามารถแยกออกมาเป็นรายการให้ชัดเจนก็คงดี” วีระกล่าว

นายวีระ ยังเสนอให้เพิ่มเติมรายการชำระหนี้คงค้างของรัฐบาลที่มีต่อรัฐวิสาหกิจที่ให้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐ ซึ่งต่อไปในอนาคต รัฐบาลมีโครงการรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดสาย ยอดหนี้จะเพิ่มมาอีกก้อน เพราะต้องมีการชดเชยรายได้ที่สูญเสียไป และต้องมีการตั้งกองทุน หรือจัดระบบให้รัฐวิสาหกิจใดออกเงินไปแทนก่อน เหมือนที่ทำกับสถาบันการเงินอยู่ในขณะนี้

“มันจะมาอีหรอบเดียวกัน ถ้าเราใช้โอกาสนี้ ขยายให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่เห็นชัดเจนว่า รัฐบาลบริหารเงินได้เหมาะสมสอดคล้องหรือไม่ ก็จะเป็นประโยชน์” นายวีระกล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'จุลพันธ์' ชี้รถไฟฟ้า 20 บาท ต้องรอแถลงนโยบายก่อน ยันมีกลไกลดภาระงบรัฐ

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะรองประธานคณะกรรมธิการงบประมาณฯ ลุกขึ้นชี้แจงข้อสังเกตมีการเปลี่ยนแปลงงบประมาณรัฐวิสาหกิจในหลายส่วน ว่า การปรับเปลี่ยนงบประมาณในครั้งนี้ ส่วนงบประมาณของธนาคารในกำกับของรัฐมาเป็นงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจ

ปชน. รีดไขมันส่วนเกินงบซอฟต์พาวเวอร์ อาหาร-แฟชั่น จ้างอินฟลูฯทำคอนเทนต์

นายณัฐพล โตวิจักษณ์ชัยกุล สส.เชียงใหม่ พรรคประชาชน อภิปรายตั้งข้อสังเกตขอตัดงบประมาณโครงการซอฟต์พาวเวอร์ ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จำนวน 6โครงกา วงเงิน 762,386,000บาท

'จุลพันธ์' ยันไม่ยุบบ้านกาญจนาภิเษก 'ทิชา' ยังอยู่ในขั้นตอนประเมินตามวงรอบปกติ

นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกรวงการคลัง ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณฯ ลุกขึ้นชี้แจงภาพรวมมาตรา 21 กระทรวงยุติธรรม ว่า งบประมาณก้อนนี้รวม 12 หน่วยงาน

'ปกรณ์วุฒิ' ข้องใจ 'ดีอี' จัดงบซ้ำซ้อน ปภ. ทำระบบเตือนภัยผ่านมือถือ

นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน (ปชน.) อภิปรายว่า แม้ตนจะเคยอภิปรายไว้ในวาระ 1 แล้วว่างบประมาณในส่วนของโครงการแจ้งเตือนฉุกเฉินแห่งชาติหรือเซลล์บรอดแคสต์ ซ้ำซ้อนกับกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ของกระทรวงมหาดไทย

'จุติ' บอก 'น้องจุลพันธ์' ด้วยความรัก อยากให้อยู่นานๆ แต่ต้องทำให้ถูกต้อง

นายจุติ ไกรฤกษ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ อภิปรายว่า กราบเรียนท่านรองประธานคณะกรรมาธิการงบประมาณฯ ด้วยความรัก และความหวังดี ไม่ได้ปรารถนาเป็นอย่างอื่น แต่เมื่อตนได้คุยกับนักวิเคราะห์ที่จัดลำดับประเทศไทยแล้ว