'นันทนา' เหน็บใช้จริยธรรมตัดสิน ‘รมต.’ คงต้องฟูมฟักตั้งแต่เกิด จี้ลดอำนาจศาลรธน.

‘นันทนา’ รับเป็นเรื่องลำบาก หลัง 11 ว่าที่ รมต.มีชนักติดหลัง เสนอลดอำนาจศาล รธน. เหตุล้นเกินจนเบียดบังนิติบัญญัติ-บริหาร โอดถ้าใช้จริยธรรมตัดสิน คงต้องฟูมฟักตั้งแต่เกิด

2 ก.ย..2567-นางสาวนันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา (สว.) กล่าวถึงกรณีที่อดีต สว. ตั้งข้อสังเกตว่าว่าที่รัฐมนตรี 11 คน อาจมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ เนื่องจากคดีติดอยู่ในองค์กรอิสระ ว่า การตรวจสอบคุณสมบัติผู้มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเป็นเรื่องที่ต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้น เพราะจากประสบการณ์ที่เห็น ตั้งพลาดเพียงคนเดียว อาจหมายถึงผู้ที่แต่งตั้งจะต้องพ้นจากตำแหน่ง ซึ่งตนเห็นว่าตรงนี้เป็นปัญหาในเชิงโครงสร้างมากๆ เพราะองค์กรอิสระมีอำนาจกว้างขวาง และอำนาจล้นเกินฝ่ายบริหาร สามารถปลดผู้นำสูงสุดของรัฐบาลได้ รวมถึงยังล้นเกินมาถึงฝ่ายนิติบัญญัติสามารถยุบพรรคการเมืองได้ ตนเห็นว่าดังนั้น ทางแก้คือการยกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ให้จำกัดขอบเขตขององค์กรอิสระ เพื่อไม่ให้มีอำนาจล้นเกิน และยึดหลักการคานอำนาจระหว่างกัน การคานและถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน

ส่วนบทบัญญัติในขณะนี้ทำให้ประเทศเดินหน้าต่อไปไม่ได้ใช่หรือไม่ นางสาวนันทนา กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ลำบาก เพราะความจริงแล้วเรื่องจริยธรรมเป็นการตรวจสอบบุคคลในสาขาอาชีพของตัวเอง ซึ่งโทษจะเป็นไปอย่างเหมาะสม แต่โทษผิดจริยธรรมร้ายแรงที่ถึงขั้นตัดสิทธิ์ตลอดชีวิตตามรัฐธรรมนูญ หรือเรียกว่าใบดำนั้น ตนยังสงสัยว่าได้สัดส่วนกับความผิดหรือสิ่งที่ถูกตีความว่าเป็นจริยธรรมที่ผิดพลาดไปหรือไม่ จึงเห็นว่าเป็นเรื่องที่ควรต้องหันกลับมาทบทวน โดยเฉพาะเรื่องโทษให้เป็นไปตามสัดส่วนที่เหมาะสม

ถามย้ำว่าไม่ดีหรือที่ในครั้งนี้ จะทำให้การตรวจสอบคนที่มาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีเข้มข้นขึ้น นางสาวนันทนา กล่าวว่า ความจริงแล้วเรื่องคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เราก็อยากได้คนที่มีประวัติที่สะอาด ซื่อสัตย์สุจริต พร้อมๆกับคุณสมบัติด้านอื่น เช่น ความรู้ความสามารถและศักยภาพด้านต่างๆ แต่ไม่ใช่การตรวจสอบภูมิหลัง แล้วนำมาเป็นดัชนีชี้วัดเพียงตัวเดียวในการขึ้นดำรงตำแหน่ง ถ้าเป็นเช่นนี้หมายความว่าคนที่จะขึ้นดำรงตำแหน่งคงต้องฟูมฟักกันตั้งแต่เกิด คุณสมบัติไม่ด่างพร้อยหรือมีอะไรเสียหาย ซึ่งการวินิจฉัยแบบนี้ และบทลงโทษถือว่าไม่ได้สัดส่วน ไม่ควรย้อนพฤติกรรมในอดีตมาชี้ว่ามีพฤติกรรมผิดจริยธรรมร้ายแรง ดังนั้นควรต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมและได้สัดส่วน แต่ยอมรับว่าควรต้องมีบทบัญญัติจริยธรรม จะบอกว่าไม่สนใจเรื่องนี้ก็ไม่ได้ ไม่ควรตรวจสอบการเฉพาะเรื่องเล็กเรื่องน้อย

เมื่อถามว่าอะไรเป็นเรื่องเล็กน้อย และกรณีของนายพิชิต ชื่นบาน ถือว่าเล็กน้อยหรือไม่ นางสาวนันทนา กล่าวว่า กรณีของนายพิชิตเป็นตัวอย่างหนึ่งที่หัวหน้ารัฐบาลมองว่าอาจจะไม่ร้ายแรงที่จะตั้งเข้ามาได้ หรือกรณีของนักการเมืองอีกหลายคนที่ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิตด้วยเหตุการณ์ที่ทำมาในอดีต และไม่ได้สัมพันธ์กับสิ่งที่เป็นการกระทำในปัจจุบัน ตนคิดว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ได้รับโทษนั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระจ่าง! ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้กรณีคุณสมบัติ 'สว.หมอเกศ'

“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ กรณี สว.หมอเกศ ปริญญาเอกและตำแหน่งศาสตราจารย์ หากไม่จริง เป็นการโชว์เหนือ หลอกลวงเพื่อจูงใจให้ผู้สมัคร สว.ด้วยกัน เข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของตนเอง

โรงเรียน นรต. สั่งปลด 'หนิง' คู่กรณีเมียบิ๊กโจ๊ก พ้นอาจารย์พิเศษ

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ เผยแพร่เอกสาร แจ้งผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีอาจารย์โรงเรียนนายร้อยตำรวจประพฤติผิดจริยธรรม และการแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ

‘หมอเปรม’ แฉมีจนท.รัฐ ใช้ กม.หาประโยชน์กับประชาชน ที่ใช้โดรนเพื่อการเกษตร

หมอเปรม แฉมีเจ้าหน้าที่รัฐใช้กฎหมายหาประโยชน์กับประชาชนที่ใช้โดรนเพื่อการเกษตร จี้รัฐบาลแก้กฎระเบียบที่เป็นอุปสรรค รมว.ดีอียันรัฐบาลพร้อมสนับสนุนเต็มที่ให้การใช้โดรนเกิดประโยชน์สูงสุดในทุกภารกิจ

ชวน 'นายกฯอิ๊งค์' ลงใต้ ฟังความทุกข์ทรมานจากปาก 'เหยื่อ-ครอบครัวผู้เสียชีวิต'

'อังคณา' ชี้รัฐบาลพท.-แพทองธาร ปฏิเสธความรับผิดชอบคดีตากใบไม่ได้ ชวนนายกฯ ลงใต้ ฟังความทุกข์ทรมานจากปากเหยื่อ-ครอบครัวผู้เสียชีวิต เตือนระวังคนรู้สึกไม่เป็นธรรม อาจเข้าร่วมขบวนการก่อเหตุ