ดัชนีการเมืองไทย ส.ค. พบชื่อ 'แพทองธาร - เท้ง ณัฐพงษ์' โดดเด่นขึ้น

1 ก.ย. 2567- สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนสิงหาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,249 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 23-30 สิงหาคม 2567 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนสิงหาคม 2567 เฉลี่ย 4.46 คะแนน ลดลงจากเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ได้ 4.59 คะแนน

ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงสุด คือ ผลงานของฝ่ายค้าน เฉลี่ย 5.39 คะแนน (เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคม) ตัวชี้วัดที่ได้คะแนนต่ำสุด คือ การแก้ปัญหายาเสพติดและผู้มีอิทธิพล เฉลี่ย 4.05 คะแนน (ลดลงจากเดือนกรกฎาคม)

นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลที่มีบทบาท โดดเด่นประจำเดือน คือ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 49.73 รองลงมาคือ เศรษฐา ทวีสิน ร้อยละ 28.52 ด้านนักการเมืองฝ่ายค้านที่มีบทบาทโดดเด่นประจำเดือน คือ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 44.77 รองลงมา คือ ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ ร้อยละ 32.35 ผลงานฝ่ายรัฐบาลที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ เงินดิจิทัล 10,000 บาท ให้กลุ่มเปราะบาง ร้อยละ 41.44 ผลงานฝ่ายค้านที่ชื่นชอบประจำเดือน คือ ตรวจสอบรัฐบาล เปิดเผยข้อมูลที่เป็นจริง ร้อยละ 51.29

นางสาวพรพรรณ บัวทอง ประธานสวนดุสิตโพล ระบุว่า จากผลสำรวจดัชนีการเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 2567 ภาพรวมคะแนนลดลงจากเดือนก่อนหน้า การเปลี่ยนแปลงนี้สะท้อนถึงความไม่แน่นอนทางการเมือง โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงนายกรัฐมนตรีในช่วงกลางเดือนและการปรับคณะรัฐมนตรีที่ยังไม่สามารถสร้างความมั่นใจให้ประชาชนเท่าที่ควร ในขณะที่ความนิยมในตัวนายกฯแพทองธาร ชินวัตร และผู้นำฝ่ายค้านณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ คะแนนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแสดงให้เห็นถึงความสนใจและความคาดหวังที่สูงขึ้นของประชาชนที่มีต่อการทำงานของทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ถือเป็นความท้าทายที่ทั้งสองฝ่ายต้องเผชิญในช่วงนี้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เอกอนงค์ ศรีสำอางค์ ประธานหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต โรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ดัชนีการเมืองไทยในเดือนสิงหาคม 2567 นับว่าเป็นช่วงเวลาที่การเมืองไทยมีความร้อนแรงอย่างมาก ส่งผลต่อความเชื่อมั่นทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เนื่องมาจากการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในการยุบพรรคก้าวไกลในวันที่ 7 สิงหาคม 2567 และการตัดสินให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 14 สิงหาคม 2567 จากประเด็นนี้สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนตามมาคือ ราคาหุ้นในตลาดที่มีแรงกดดันเพิ่มขึ้น ความเชื่อมั่นทางด้านการเมืองทั้ง ในประเทศและภายนอกประเทศ ความเชื่อมั่นของประชาชนด้านเศรษฐกิจ ความผิดหวังของประชาชนด้านเงินดิจิทัล 10,000 บาทที่มีแนวโน้มสั่นคลอน กระแสระบอบทักษิณที่อาจจะกลับมาจากการคาดการณ์ของนักวิจารณ์การเมืองต่างๆ และความ ไม่แน่นอนของการจัดตั้งรัฐบาล ครม.อิ๊ง 1 ปัญหาในพรรคพลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์จับมือเพื่อไทย ฯลฯ ปัจจัยเหล่านี้ทำให้คะแนนดัชนีการเมืองไทยลดลง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดุสิตโพลชี้ประชาชนหวัง ครม.ใหม่ เร่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจเป็นเรื่องแรก

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ความคาดหวังของประชาชน ต่อ ครม.ชุดใหม่” ระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,164 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างอยากให้ ครม. ชุดใหม่

'สวนดุสิตโพล' ชี้คนไทยคาดหวัง 'นายกฯ ใหม่' เข้าใจปัญหา แก้ปากท้องได้ทันที

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับนายกรัฐมนตรี” ระหว่างวันที่ 14-15 สิงหาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,239 คน

'ดุสิตโพล' เผยคนไทยเกาะติดการเมืองเพิ่มขึ้น กว่า 63% ไม่เชื่อมั่นรัฐบาลเศรษฐา

ประธานสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “สถานการณ์การเมืองไทย ณ วันนี้”

'เศรษฐา' ยังไล่หลัง 'พิธา' ลงทะเบียนรับเงินดิจิทัล ช่วยรัฐบาลดูดีขึ้น

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนกรกฎาคม 2567” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,318 คน

ผลสำรวจชี้ คนไทยกระเป๋าฉีกพบมีหนี้สิน 20-50%ของรายได้ แถมเสี่ยงถูกเลิกจ้างสูง

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับความยากจน หนี้สิน และการเลิกจ้างงาน” ระหว่างวันที่ 15-19 กรกฎาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,146 คน สำรวจผ่านทางออนไลน์และภาคสนาม