อดีตรองหัวหน้า ปชป. โพสต์ จะเหลือ 'คนรักประชาธิปัตย์' สักกี่คน?

31 ส.ค.2567 - ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "จะเหลือ “คนรัก ปชป.” สักกี่คน?" ระบุว่าหลังจากกรรมการบริหารพรรค ปชป.มีมติให้เข้าร่วมรัฐบาล เสียงสะท้อนในโลกโซเชียลก็ดังกระหึ่ม ส่วนใหญ่ไปในทิศทางเดียวกันว่าไม่เห็นด้วย พร้อมบอกว่าเลือกตั้งครั้งหน้าจะไม่กาให้ ปชป.อีก พอกันทีกับ ปชป.

เสียงสะท้อนจากการพูดคุยกับพี่น้องประชาชนก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน สอดคล้องกับโลกโซเชียล เช่น น่าผิดหวัง ยากจะทำใจ เสียความรู้สึกกับการร่วมรัฐบาลแบบข้ามขั้ว ที่น่าห่วงมากก็คือ จะไม่เลือก ปชป.อีกแล้ว เป็นต้น พร้อมกับให้กำลังใจนายชวน หลีกภัย และ ส.ส.อีก 3 ท่าน ที่ไม่เห็นด้วยกับการร่วมรัฐบาล

ด้วยเหตุนี้ ทำให้น่ากังวลอย่างยิ่งว่าถ้า ปชป.ไม่มีคนที่มีอุดมการณ์ เช่น “ชวน หลีกภัย” พรรค ปชป.จะเป็นเช่นใด ? และ “คนรัก ปชป.” จะลดลงเหลือเท่าใด ?

“ชวน หลีกภัย” ผู้ไม่เคยกรุยทางสร้างอำนาจด้วยเงินตรา และไม่เคยใช้อำนาจหาเงินตรา แต่กลับมีบารมีด้วยการไม่ทรยศประชาชน ยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนอย่างแน่วแน่ มั่นคงในอุดมการณ์ “ซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชน” ทำให้เกิดความรักและศรัทธาจากพี่น้องประชาชนทั่วหล้า

หลายท่านคงไม่รู้ว่านายชวนฯ ได้สร้างผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนมามากมาย ผมขอยกตัวอย่างเฉพาะด้านคมนาคมขนส่งที่ผมติดตามมาโดยตลอด

นายชวนฯ มีวิสัยทัศน์กว้างไกลด้านคมนาคมขนส่ง มีผลงานเป็นที่ประจักษ์มากมาย เช่น

(1) ถนน 4 เลน
รัฐบาลชวน 1 (2535-2538) เริ่มก่อสร้างถนน 4 เลน ทั่วประเทศ นับเป็นรัฐบาลแรกที่ประกาศเป็นนโยบายและแถลงต่อรัฐสภาว่าจะก่อสร้างถนน 4 เลน ทั่วทุกภูมิภาค

(2) รถไฟทางคู่
ได้ริเริ่มโครงการรถไฟทางคู่ โดยได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ตอกหมุดเริ่มการก่อสร้างรถไฟทางคู่บริเวณเชิงสะพานพระราม 6 (ฝั่งพระนคร) เมื่อต้นปี 2536 (รัฐบาลชวน 1) หลังจากนั้น ได้กลับมาสานงานต่อในสมัยรัฐบาลชวน 2 (2540-2544) โดยการก่อสร้างรถไฟทางคู่อีกหลายสาย

(3) มอเตอร์เวย์
ได้ริเริ่มโครงการมอเตอร์เวย์ โดยได้จัดทำแผนแม่บทมอเตอร์เวย์ทั่วประเทศ และได้ก่อสร้างมอเตอร์เวย์สายกรุงเทพฯ – ชลบุรี ซึ่งเป็นมอเตอร์เวย์สายแรกของประเทศไทย ในปี 2537 (รัฐบาลชวน 1)

(4) รถไฟฟ้าบีทีเอส
ได้ผลักดันการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีเขียวหรือที่เรียกกันว่ารถไฟฟ้าบีทีเอสช่วงหมอชิต-อ่อนนุช และช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ-สะพานตากสิน ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกของประเทศไทย จนสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2542 (รัฐบาลชวน 2)

(5) รถไฟฟ้าใต้ดิน
ได้เปิดการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย โดยนายชวนฯ เป็นผู้กดปุ่มเปิดหัวเจาะอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินในปี 2542 (รัฐบาลชวน 2)

(6) สนามบินสุวรรณภูมิ
เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2540 (รัฐบาลชวน 2) นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่าจะเร่งก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิโดยใช้งบประมาณ 1.2 แสนล้านบาท ตามที่ ครม.ได้อนุมัติไว้เมื่อประมาณปี 2537 (รัฐบาลชวน 1) และตามแผนแม่บทสนามบินสุวรรณภูมิที่จัดทำขึ้นในปี 2536 (รัฐบาลชวน 1)

ดังนั้น ที่มีคนพูดว่าเวลานี้ ปชป.หมดยุคของผู้อาวุโสแล้ว ลองตรองดูหากไม่มีผู้อาวุโสอย่างนายชวน หลีกภัย และหากเราไม่สานต่ออุดมการณ์ของพรรค “ซื่อสัตย์สุจริตต่อประชาชน” แล้วจะเหลือ “คนรัก ปชป.” สักกี่คน?

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”

รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น

รทสช.ขยับทันควัน! หลังสื่อทำเนียบตั้งฉายา ‘พีระพัง‘

จากกรณี ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล ได้ตั้งฉายารัฐบาล และรัฐมนตรีประจำปี ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของสื่อมวลชนต่

เกิดขึ้นจริงๆ ‘วรงค์’ โชว์ป้ายเมื่อสามปีที่แล้ว ‘โจรปล้นชาติจะกลับมา’

นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ที่ปรึกษาพรรคไทยภักดี โพสต์รูปภาพและข้อความในเฟซบุ๊กว่า #ป้ายที่เกิดขึ้นเมื่อสามปีที่แล้ว

’พุทธะอิสระ‘ วางแล้ว! ไม่ร่วมขบวนทักท้วง ‘ทักษิณ-แพทองธาร’

นายสุวิทย์ ทองประเสริฐ หรือ "พุทธะอิสระ" ผู้ก่อตั้งวัดอ้อน้อย จังหวัดนครปฐม โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก โดยมีรายละเอียดดังนี้