'เอิร์ธ' ลูกชายอดีตผู้ว่าฯกทม. โบกมือลา ประชาธิปัตย์ ยุคกลายพันธุ์

30 ส.ค.2567 - ⁣นายพงศกร ขวัญเมือง หรือ "เอิร์ธ" อดีตผู้สมัคร สส.พรรคประชาธิปัตย์ และบุตรชายของ นายอัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร โพส๖เฟซบุ๊กระบุว่า "ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์

ผมมีความเชื่อว่านโยบายสาธารณะที่ดี สามารถเปลี่ยนแปลงประเทศและชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเราได้ ผมจึงตั้งใจหาความรู้ ตั้งใจผลักดันด้วยวิธีการต่างๆ จนสามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ในหลายๆนโยบาย

แต่ก็มีอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสวัสดิการความเป็นอยู่ การรักษาพยาบาล หรือสิทธิความเสมอภาค ที่ต้องอาศัย นโยบายระดับประเทศในการผลักดัน ผมจึงอยากทำร่วมกับพรรคที่ผมมั่นใจ นั่นคือพรรคประชาธิปัตย์ ด้วยเหตุผลดังนี้

1. ความมีส่วนร่วม พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่สมาชิกพรรคทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายพรรค โดยเฉพาะกระบวนการเลือกหัวหน้าพรรค ที่มีการเลือกตั้งโดยตรงจากสมาชิกพรรคทั้งประเทศ ซึ่งทำให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีความยึดโยง ทั้งนโยบาย แนวทางพรรค และอุดมการณ์กับสมาชิกพรรคที่มีแนวความคิดที่เหมือนกันอย่างแท้จริง

2. ความเสมอภาค พรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่ไม่มีเจ้าของ พรรคที่ทุกคนสามารถขึ้นมามีบทบาทได้ ด้วยความที่พรรคมีกลไกดั่งข้อแรก ทุกคน ไม่จำเป็นต้องรวยหรือมีทุน ก็สามารถขึ้นมาเป็นผู้นำพรรคได้ นโยบายต่างๆย่อมไม่ถูกครอบงำโดยนายทุน ทำให้นโยบายสามารถ ผลักดันได้อย่างเต็มที่

3. อุดมการณ์ พรรคประชาธิปัตย์มีอุดมการณ์ 10 ข้อ ที่สำคัญยิ่ง โดยเฉพาะข้อแรกคือ "พรรคจะดำเนินการเมืองโดยวิถีทางอันบริสุทธิ์" จึงเห็นว่าหลายครั้งที่พรรคเพียงแค่ถูกตั้งข้อสงสัยต่างๆ พรรคจะมีการแสดงความรับผิดชอบ ด้วยการแสดงสปิริตนักการเมือง ลาออก หรือ ถอนตัวจากการบริหาร เพราะนั่นคือสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ต้องการทำให้เป็น บรรทัดฐานที่ต้องการให้ประเทศไทยมีนักการเมืองที่ดี

ในการเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ผมตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการลงสมัครครั้งแรกในชีวิต ในตอนนั้น ต้องยอมรับว่าพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ได้รับความนิยมเหมือนแต่ก่อน ถึงขั้นที่อาจจะนิยมน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีมาด้วยซ้ำ แต่ในวันนั้นผมก็ไม่ได้ลังเล และได้ตัดสินใจเข้าร่วมกับพรรคด้วยตนเอง เพราะเชื่อมั่นในความเป็นสถาบันของพรรค ที่มีหลักการและทำให้เชื่อว่าหากได้รับเลือกตั้งหรือไม่ได้รับเลือกตั้งก็ตาม ก็ยังสามารถทำตามนโยบายตามความตั้งใจผ่านพรรคประชาธิปัตย์ได้

แต่ในวันนี้พรรคประชาธิปัตย์ไม่ได้ทำให้ผมมีความเชื่อมั่นในสิ่งทั้ง3อย่างนี้

ผมจึงไม่เชื่อมั่นว่าการทำงานร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์จะทำให้ผมสามารถใช้ความรู้ ความตั้งใจและความสามารถทำประเทศให้ดีขึ้นได้

ผมจึงขอยุติการร่วมงานกับพรรคประชาธิปัตย์ครับ"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

หนาวแน่ 'ยะใส' ประมวลขุมกำลังฝ่ายค้านใน-นอกสภา เขย่าผู้ไม่ครอบงำแต่ครอบครอง!

ดร.สุริยะใส กตะศิลา คณบดีวิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต อดีตผู้ประสานงานกลุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ป.ป.ช. ตอบ สลค. แล้ว! ใครใน 'ครม.อิ๊งค์' ติดคดีบ้าง

'นิวัติไชย' แจง สลค. ถามคดีว่าที่รัฐมนตรี ป.ป.ช. มีแค่หน้าที่ให้ข้อมูล ไม่มีอำนาจวินิจฉัย อุบใครอยู่ระหว่างโดนตรวจสอบบ้าง ชี้เป็นความลับ

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 37: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ผู้เขียนขอหยิบยกรายงานจากสถานทูตอื่นๆที่มีต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อจากตอนที่แล้ว โดยผู้เขียนได้คัดลอกมาจากหนังสือ

สุดสับสน! ปรากฏการณ์การเมืองไทย ยุครัฐบาล 'อิ๊งค์'

นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม อดีตสมาชิกวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ว่า พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) เป็นพรรคร่วมรัฐบาลเฉพาะกลุ่ม สส. แต่หัวหน้าพรรคกลับถูกไล่ออกไม่ให้ร่วมด้วย