27 ส.ค.2567 - ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายชวน หลีกภัย สส. บัญชีรายชื่อ และอดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกระแสข่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ว่า ในพรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยมีใครมาพูดถึงเรื่อง และได้บอกไปตรงๆ ว่าไม่เห็นด้วย ที่ไม่เห็นด้วยไม่ใช่เพราะว่าเป็นเรื่องโกรธแค้นกับใคร แต่เป็นเพราะตัวเองรณรงค์ว่าไม่เลือกพรรคเพื่อไทย เพราะพรรคดังกล่าวประกาศชัดเจนจะพัฒนาเฉพาะจังหวัดที่เลือกพรรคเพื่อไทย ก่อนจังหวัดอื่นเอาไว้ทีหลัง ภาคใต้จึงได้รับผลกระทบด้วย
แม้กระทั่งการซ่อมถนนก็ยังมีการแกล้งกัน คนไม่ค่อยรู้ว่าพรรคประชาธิปัตย์ตรวจสอบมากน้อยแค่ไหน เชื่อว่าการรณรงค์ของตนมีผลไม่มากก็น้อย เห็นได้ชัดว่าพรรคเพื่อไทยไม่มี สส. แม้แต่คนเดียวในภาคใต้ ทั้งที่ภาคอื่นได้ สส.ท่วมท้น แลนด์สไลด์อย่างที่ประกาศไว้ ดังนั้นเมื่อเลือกตั้งแล้วตนจะกลับลำ หนุนพรรคที่ตนบอกว่าอย่าเลือกนั้นเท่ากับว่าทรยศประชาชน
“ยืนยันว่าไม่ใช่เพราะผลประโยชน์ส่วนตัวแน่นอน แต่เป็นประโยชน์ของประชาชนที่ถูกเลือกปฏิบัติ ซึ่งเป็นเหตุผลชัดเจนที่ผมให้ไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งโหวตเลือกนายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี”นายชวน กล่าว
ผู้สื่อข่าวถามถึงที่มีกระแสข่าวว่าพรรคประชาธิปัตย์ขับนายชวน ออกจากพรรค นายชวนกล่าวยืนยันว่าตอนนี้ยังไม่ขับ สมาชิกที่ละเมิดมติพรรคก็จะถูกสอบวินัย แต่คนที่ละเมิดมติพรรคก็มีอยู่หลายคน ตั้งแต่สมัยโหวตเลือกนายเศรษฐา ก็มีคนกลุ่มหนึ่ง เห็นชอบทั้งที่มติพรรคให้งดออกเสียง เขาขับพวกนี้มั่ง ตนปฏิบัติตามมติพรรค คือไม่รับ และขอแถลงชัดเจนว่าไม่เห็นชอบและได้ให้เหตุผลไว้อย่างชัดเจนที่ประชุมก็ไม่ได้ว่าอะไร
ส่วนหากไปร่วมรัฐบาลจะทำให้ สส. ภาคใต้ของพรรคประชาธิปัตย์ อาจสูญพันธุ์ได้นั้น นายชวน กล่าวว่า ตัวบุคคลมีความชัดเจนว่าจะไม่ร่วมรัฐบาลก็คือตน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ นายบัญญัติ บรรทัดฐาน สส. บัญชีรายชื่อ และนายสรรเพชร บุญญามณี สส. สงขลา คนอื่นตนไม่แน่ใจจึงพูดไม่ได้ว่าคนเหล่านั้นจะเห็นด้วยหรือไม่ แต่การเข้าร่วมรัฐบาลเป็นเรื่องปกติธรรมดา และต้องผ่านกระบวนการมติพรรค
นายชวนกล่าวต่อว่า แนวต่อสู้ของพรรคประชาธิปัตย์มีความชัดเจนมาตลอด ตั้งแต่ก่อนเลือกนายเศรษฐาเป็นนายกฯด้วยซ้ำ ย้อนกลับไปตั้งแต่สมัยที่ตนเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ก็ได้ผู้แทนภาคใต้เกือบทั้งหมด แม้กระทั่งไม่เป็นหัวหน้าพรรคแล้ว ก็ยังมีส่วนช่วยให้พรรคประชาธิปัตย์ได้ ผู้แทนฯในพื้นที่จำนวนมาก จนช่วงหลัง สถานการณ์การเมืองเปลี่ยนไป ต้องเข้าใจธรรมชาติ ของการเมืองที่เปลี่ยนไป ปัจจัยที่ทำให้ชนะการเลือกตั้งคือเรื่องเงิน ผลประโยชน์ จึงทำให้ทีท่าของผู้สมัคร สส. เปลี่ยนไปเช่นกัน ขณะที่กรรมการบริหาร(กก.บห.)พรรคชุดใหม่ที่กำลังทำอยู่ตอนนี้ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ในฐานะหัวหน้าพรรคได้ประกาศเอาไว้ว่า “จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านที่เข้มแข็ง” ตนจำได้
“ผู้แทนฯของพรรคประชาธิปัตย์ภาคใต้ไม่ควรจะสูญพันธุ์ บางส่วนน่าจะเพิ่มขึ้นกว่าเดิมด้วยซ้ำ เพราะคนที่รับผิดชอบในการเลือกตั้งครั้งต่อไปก็คือนายเฉลิมชัย ซึ่งเคยเป็นเลขาธิการพรรคฯ การเลือกตั้งครั้งที่ผ่านมา ย่อมรู้อยู่แล้วว่าคราวที่แล้ว บกพร่องอย่างไรก็นำมาแก้ไข อย่างน้อยบัญชีรายชื่อควรจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 คน แต่เขตเลือกตั้ง ผมไม่กล้าประเมิน เพราะสถานการณ์การเมืองและเขตการเลือกตั้งที่เปลี่ยนแปลงไป แต่นโยบายพรรคก็ยังพูดได้เต็มปาก เพราะทุกเรื่องทำอย่างมั่นคง ดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง และมีความยั่งยืนไม่คิดเพื่อหาเสียงหรือแจกเงิน มองความมั่นคงของสังคมมาประกอบ เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา รถไฟทางคู่ สนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น ที่ชัดที่สุดก็คือเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตที่ทำให้คนยังเชื่อมั่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ยังต้องรักษาเอาไว้” นายชวนกล่าว
เมื่อถามถึงการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะต้องทำงานหนักขึ้นหรือไม่ นายชวน กล่าวว่าพรรคการเมืองที่ไม่มีบ้านใหญ่อย่างพรรคประชาธิปัตย์ ทำงานหนักทุกครั้งที่มีการเลือกตั้ง ไม่มีครั้งไหนที่สบาย แต่เมื่อระบบการเมืองเปลี่ยน ระบบธุรกิจการเมืองเข้ามา มีการใช้เงินมากขึ้นก็จะยิ่งเหนื่อย ยิ่งหนัก เพราะหากไม่ใช้เงินก็จะยิ่งยากขึ้น คนที่เล่นการเมืองแบบไม่ใช้เงินก็จะแพ้ไปเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องรณรงค์กับประชาชนให้คนได้มองเห็นความสำคัญของการเมืองสุจริต ที่จะทำให้การพัฒนาบ้านเมืองไปได้ด้วยดี อย่างไรก็ตามยังไม่เคยมี กก.บห.พรรคเข้ามาหารือถึงการดำเนินการใดๆ การประชุม สส. ก็ไม่เคยมีใครมารายงานว่าจะดำเนินการอะไรบ้าง
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น
เทวดาแม้วของขึ้น! เปิดศึกขาประจำกว่า 10 คน รวม ‘แก้วสรร-แฝดน้อง‘
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พ่อน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงฉายา “ทวีไอพี” ของ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการ
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 41): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม ? ”
รัฐธรรมนูญไทยฉบับที่ 4 คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 รัฐธรรมนูญฉบับนี้เกิดจากคณะทหาร นำโดย พลโท ผิน ชุณหะวัณ และพันเอก กาจ กาจสงคราม และมีนายทหารคนอื่น