27 ส.ค.2567 – ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มีพล.อ.เกรียงไกร ศรีรักษ์ รองประธานวุฒิสภาคนที่1 ทำหน้าที่เป็นประธานการประชุม ก่อนเข้าสู่การพิจารณาตามระเบียบวาระ น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว. ได้ลุกขึ้นเสนอญัตติด่วนด้วยวาจาขอให้ที่ประชุมวุฒิสภาปรึกษาหารือเกี่ยวกับตุลาการศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่งไปบรรยายในงาน หัวข้อเรื่องศาลรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ที่ จ.สุราษฎร์ธานี แล้วแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ซึ่งอาจเข้าข่ายละเมิดมาตรฐานจริยธรรม
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนที่น.ส.นันทนา จะชี้แจงเหตุผลและขอผู้รับรองญัตติ พล.อ.เกรียงไกร แจ้งไม่อนุญาตให้เสนอญัตติด่วนดังกล่าวต่อที่ประชุม เพราะไม่ได้ทำหนังสือแจ้งรายละเอียดให้ประธานวุฒิสภาได้รับทราบ ทั้งนี้ได้ยกข้อบังคับวุฒิสภาข้อที่ 40 แจ้งว่าการเสนอญัตติด่วนไม่ต้องเสนอล่วงหน้าได้ เช่น ขอปรึกษาเป็นเรื่องด่วน แต่การประชุมสว. ประธานวุฒิสภามีหน้าที่รักษาความสงบและเรียบร้อย ดังนั้นการเสนอญัตติทุกเรื่องตามข้อบังคับ ต้องให้ประธานวุฒิสภารับทราบข้อมูลและพิจารณาให้เสนอได้หรือไม่ ผู้เสนอญัตติถึงจะเสนอได้
น.ส.นันทนา โต้แย้งว่า ตนกำลังจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบและญัตติด่วนที่จะเสนอมีผู้รับรอง ทั้งนี้ขอให้ฟังหลักการและเหตุผลก่อน และควรฟังให้จบ แต่พล.อ.เกรียงไกร ยืนยันว่าไม่สามารถทำได้ จากนั้นนายสิทธิกร ธงยศ สว. กล่าวเสริมว่าไม่มีการบรรจุในวาระของวุฒิสภา ขอให้ประธานควบคุมการประชุม เพราะมีวาระที่จะพิจารณาต่อจากนี้อีก หากไม่เด็ดขาด ต่อไปคงประชุมลำบาก
ต่อมาพล.อ.เกรียงไกร ย้ำกับน.ส.นันทนา อีกครั้งว่าตนไม่อนุญาต และต้องทำหนังสือกราบเรียนประธานวุฒิสภาก่อนที่จะหารือในที่ประชุม เพื่อให้ประธานวุฒิสภาวินิจฉัยก่อน และขอให้ทำหนังสือล่วงหน้า ซึ่งขณะนี้ตนไม่อนุญาต จากนั้นได้เข้าสู่เรื่องตามระเบียบวาระต่อไป.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เอาแล้ว! ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ตีตกคำร้องป่วยทิพย์ชั้น 14
มติเอกฉันท์! ศาล รธน.ตีตกคำร้อง รมว.ยุติธรรม -ราชทัณฑ์ เอื้อประโยชน์ 'ทักษิณ' รักษาตัวชั้น 14 เหตุไม่มีข้อเท็จจริง หลักฐานยังห่างไกล เป็นเพียงกล่าวอ้าง
สว.พันธุ์ใหม่ อ้างต่างประเทศใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น ทำผลประชามติบิดเบือน
น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สว.กลุ่มพันธุ์ใหม่ แถลงจุดยืนถึงร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ว่า ไม่ว่ามติของคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ จะออกมาเป็นอย่างไร
เปิด 11 ชื่อผู้สมัคร 'ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ' ปลัด ก.เกษตรฯ มาวันสุดท้าย
ตามที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เปิดรับสมัครบุคคลเพื่อเข้ารับการสรรหาเป็นบุคคลผู้สมควรได้รับการแต่งตั้งเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 2 คน ระหว่างวันที่ 11-25 พฤศจิกายน 2567
จับตาสมัครตุลาการศาลรธน. ชิง 2 เก้าอี้ พรุ่งนี้วันสุดท้าย
คึกคัก ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีผู้สมัครแล้ว 8 ราย เปิดรับพรุ่งนี้วันสุดท้าย จับตาสายตุลาการเริ่มมาแล้ว นักวิชาการ – ผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมาเพียบ
2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ
จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ