‘โรม‘ บอก คงขอบคุณไม่ได้ ปม ’ตุลาการศาล รธน.‘ ลั่น ยุบพรรคทำให้ยอดรับบริจาคเพิ่ม มอง ไม่ควรเห็นเป็นเรื่องตลก เหตุสังคมที่เจริญแล้วไม่มีใครยอมรับ สงสัยการตัดสินตั้งอยู่บนพื้นฐานความเป็นกลาง หรือศัตรูของ 'ก้าวไกล'
21 ส.ค.2567 - ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน กล่าวถึงกรณีที่นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ระบุ ‘พรรคประชาชนควรขอบคุณที่ยุบพรรค เพราะทำให้เงินบริจาคเพิ่มขึ้น 20-30 ล้านบาท’ ว่า ต้องบอกว่าการยุบพรรคการเมืองใน พ.ศ.นี้ ไม่มีสังคมไหนยอมรับ โดยเฉพาะสังคมที่เจริญแล้ว ตนคิดว่าเวลาที่เราไปพูดคุยกับพรรคการเมืองและนักการเมืองในต่างประเทศที่เป็นต้นแบบประชาธิปไตย และอยู่ในระหว่างการพัฒนาประชาธิปไตย เพราะการพัฒนาประชาธิปไตยคือการพัฒนาบ้านเมืองให้มีความเจริญ ทุกคนล้วนแปลกใจที่การยุบพรรคโดยเฉพาะพรรคก้าวไกลเกิดขึ้น
นายรังสิมันต์ ชี้ว่า นี่ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก แต่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ มีพรรคการเมืองจำนวนมากที่ถูกยุบไม่มีใครยอมรับและเข้าใจได้ โดยเฉพาะเรื่องที่เป็นประเด็นซึ่งนำมาสู่การยุบพรรค ทั้งนโยบาย หรือการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ก็ล้วนเป็นสิ่งที่น่าจะสามารถทำได้ ดังนั้น การยุบพรรคแบบนี้ ไม่ใช่สิ่งที่จะยอมรับ
เมื่อการยุบพรรคเกิดขึ้นแล้ว ประชาชนที่เขามีความเห็นใจต่อเรา ก็ได้สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกของพรรคประชาชนจำนวนมาก หลายคนก็บริจาคเงินกันมา การดำเนินการเช่นนี้ คือการดำเนินการโดยภาคประชาชน ที่รู้สึกว่านี่เป็นพรรคการเมืองที่เขาเป็นเจ้าของ เป็นพรรคการเมืองที่เขาให้การสนับสนุน และอยากจะผลักดันให้พรรคการเมืองนี้ สามารถกลับมาตั้งหลักได้อย่างภาคภูมิ ในฐานะที่เป็นตัวแทนของประชาชนได้โดยเร็วที่สุด
“แน่นอนว่าเมื่อเทียบกับความเสียหายของการยุบพรรคนั่นมากกว่าเยอะ แต่ประชาชนก็ทำในสิ่งที่พอจะทำได้ในการสนับสนุนพวกเรา นี่จึงไม่ใช่เรื่องตลก หรือเรื่องที่จะสามารถนำมาพูดเล่นกันได้ ว่าการยุบพรรคทำให้พรรคประชาชนมีรายได้ 20 ล้านบาท การยุบพรรคก้าวไกล ทำให้นักการเมืองที่มีคุณภาพ ที่ควรจะเป็นอนาคตของประเทศ ต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง การยุบพรรคทำให้เพื่อน สส.ที่อยู่ในบัญชีรายชื่ออื่นๆ ไม่มีสิทธิ์อีกต่อไป การยุบพรรคทำให้เราต้องแสวงหาสมาชิกกันใหม่ การยุบพรรคทำให้ประชาชนจำนวนมากที่เป็นสมาชิกของเราถูกตัด ความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ใช่แค่ความเสียหายของพรรคก้าวไกล แต่เป็นความเสียหายของประชาชนที่เขาอยากจะเห็นการเมืองที่ต่อสู้กันด้วยนโยบาย ต่อสู้กันทางความคิด การใช้กฎหมายในการยุบพรรคต่างๆ เป็นสิ่งที่ควรจะหมดไปได้แล้ว“
แต่น่าเสียดายที่ยังเป็นอยู่และตนค่อนข้างจะตกใจกับความคิด เพราะเมื่อได้อ่านดูแล้ว ตนมีความรู้สึกว่า คนที่สั่งให้มีการยุบพรรค ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเลย และออกจะเป็นไปในโทนทีเล่นทีจริง ทำให้ตนยิ่งรู้สึกว่า เป็นสิ่งที่ไม่ควรจะเกิดขึ้น
ส่วนเรื่องวุฒิภาวะ ตนเข้าใจว่านายอุดมจบนิติศาสตร์ และมีความเข้าใจทางด้านกฎหมาย แต่ปกติคนที่เป็นศาล ควรตัดสินคดีโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เป็นกลาง ไม่ใช่เอาตัวเองเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของคดีที่ตัวเองตัดสิน หากเรามองด้วยท่าทีเช่นนี้ ก็จะทำให้เกิดคำถามว่าการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญตั้งอยู่บนความเป็นกลางจริงหรือไม่ ตั้งอยู่บนพื้นฐานพยานหลักฐานหรือไม่ ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ทำให้พรรคก้าวไกลได้โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่หรือไม่
หรือสุดท้ายการตัดสินคดีนี้ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นศัตรูของพรรคก้าวไกล หรือของความเชื่อบางอย่างไปแล้ว ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ตนคิดว่ากฎหมายของเราจะมีปัญหามาก และจะทำลายความศรัทธาของพี่น้องประชาชนมากขึ้นไปอีก
ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นในวันนี้ จะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างไรบ้าง นายรังสิมันต์กล่าวว่า ก็คงจะเกิดคำถามจากพี่น้องประชาชนจำนวนมากว่า ตกลงแล้วการตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเป็นอย่างไร และคำถามในลักษณะแบบนี้ ก็ทำให้วงการกฎหมายกลัวกันมาก เพราะตัดสินกันไม่จบ เนื่องจากตัดสินแล้วไม่สามารถสร้างความเชื่อมั่นได้ และเชื่อว่าตอนนี้สังคมก็กำลังมีคำถามนี้ ซึ่งจะนำไปสู่ความไม่เชื่อมั่นในทางการเมือง และทำให้การเมืองขาดเสถียรภาพ เหมือนประเทศที่ไร้วิญญาณ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การพัฒนาประเทศให้มีความเติบโต คงแทบเป็นไปไม่ได้ เพราะนักลงทุนที่ไหนจะอยากมาลงทุน
เพราะฉะนั้น คนที่เกี่ยวข้องกับการทำลายเสถียรภาพทางการเมือง ก็ควรเป็นคนที่ต้องรับผิดชอบกับความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้น
เมื่อถามถึงกรณีที่มีนิสิตนักศึกษาของบางสถาบัน เรียกร้องให้ถอดถอนชื่อตุลาการศาลรัฐธรรมนูญบางคน ออกจากการเป็นอาจารย์พิเศษ นายรังสิมันต์มองว่า เรื่องการตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวพันกับเรื่องการเมือง ไม่ใช่แค่เรื่องทางกฎหมาย ไม่เหมือนกับศาลอื่นๆ ต้องยอมรับว่าเรื่องในลักษณะนี้หรือเรื่องจริยธรรม เป็นสิ่งที่มีทั้งคนเห็นด้วยแล้วคนไม่เห็นด้วย
แน่นอนว่าประชาชนจำนวนมากมองว่าพรรคก้าวไกลไม่ควรจะถูกยุบ เพราะการเสนอแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีการแก้ไขมาก่อน และไม่มีอะไรที่เขียนว่าห้ามแก้ ซึ่งเมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดคำถามตามมา ยิ่งไปกว่านั้นการตัดสิน 9:0 ทำให้เกิดคำถามเรื่องความโปร่งใสในการตัดสิน เพราะหากเทียบกับการตัดสินอื่นๆ ยากมากที่จะหาฉันทามติแบบนี้ คงมีประชาชนส่วนหนึ่งที่รู้สึกว่าอยากจะทำอะไรที่สามารถทำได้ และเป็นภาพสะท้อนจากนิสิตนักศึกษาที่ไปเข้าชื่อถอดถอน
ส่วนกรณีที่ตุลาการระบุว่าพรรคควรขอบคุณ นายรังสิมันต์หัวเราะก่อนจะกล่าวว่า เราคงขอบคุณไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ควรพูดคุยกันแบบจริงจังดีกว่า การใช้ประโยคแบบเยาะเย้ยถากถาง เป็นการพูดที่ไม่ได้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเคารพในอำนาจของประชาชนเลย และตนคิดว่าเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายในสังคมต้องให้ความสำคัญ ไม่ว่าคุณจะเป็นองค์กรอะไรก็แล้วแต่ หรือจะมีที่มาอย่างไรตามรัฐธรรมนูญ แต่ตนอยากให้ทุกคนเคารพในอำนาจสูงสุดที่เป็นของประชาชน
“อย่างน้อยมีความเคารพกันบ้าง ผมเข้าใจเกมการเมือง ผมเข้าใจเรื่องความพยายามที่จะทำลายพรรคก้าวไกลจากฝ่ายต่างๆ แต่ผมยืนยันว่า ไม่ว่าท่านจะรู้สึกอย่างไร ไม่ว่าท่านจะชอบหรือไม่ชอบพรรคก้าวไกล แต่ช่วยเคารพอำนาจของประชาชนบ้าง อย่าให้การใช้นิติสงครามเป็นเรื่องปกติในสังคมเลย”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'ไอติม-กมธ.การเมือง' รุดขอความชัดเจนศาลธรน. หวังได้คำตอบปมทำประชามติ 2 ครั้ง
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการการเมืองการมีส่วนร่วม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าการ
'โรม' กล่อม 'ทักษิณ' เข้าแจง กมธ.ความมั่นคง ปมชั้น 14 เชื่อเป็นผลดีต่อรัฐบาล-นายกฯอิ๊งค์
นายรังสิมันต์ โรม รองหัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีเชิญนายทักษิณ ชินวัตร
กมธ.มั่นคงฯ ขอดูลาดเลาปม MOU44 ให้รอบด้าน
'กมธ.มั่นคง' ขอฟังข้อมูลปม MOU 44 รอบด้าน หลังหลายฝ่ายมีความเห็นต่าง 'โรม' ยันยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก เล็งใช้กลไกสภาเดินหน้าตรวสอบ เหตุเรื่องรื้อรังมานาน
'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย
เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้