อนาคตไกล เตือน แพทองธาร แตะ112-นิรโทษกรรมเหมาเข่ง อยู่ไม่ครบเทอมแน่!

"อนาคตไกล" แสดงความยินดีกับ "แพทองธาร ชินวัตร" นายกรัฐมนตรีคนที่ 31 เตือนถ้าแเตะ 112  ออกพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่ง และเกิดการทุจริตเมื่อไหร่ อยู่ไม่ครบเทอมแน่

17 ส.ค.2567 - ที่พรรคอนาคตไกล นายภวัต เชี่ยวชาญเรือ โฆษกพรรคอนาคตไกล กล่าวว่าตนและคณะผู้บริหารพรรคอนาคตไกล ขอแสดงความยินดีกับนางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี คนที่ 31 ของประเทศไทย หลังมติเสียงในสภาฝ่ายนิติบัญญัติ มีมติเห็นชอบ 319 เสียง โดยไม่มีการเสนอชื่อผู้แข่งขัน ถือเป็นผู้นำทางการเมืองผู้หญิงคนที่ 2 ของประเทศไทย เป็นประวัติศาสตร์การเมืองไทยนับแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง

"คุณแพทองธาร ชินวัตร เป็น คนรุ่นใหม่ที่อายุน้อย เข้ามาบริหารประเทศ เป็นมิติใหม่ทางการเมือง เชื่อมั่นว่า สามารถนำประเทศไปได้ แต่ต้องยึดผลประโยชน์สาธารณะมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตน ในเรื่องการขัดกันแห่งประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องนิรโทษกรรมเพราะคุณทักษิณ ชินวัตร บิดา ต้องคดีมาตรา 112 อยู่"

โฆษกพรรคอนาคตไกล กล่าวว่าประสบการณ์ทางการเมืองที่ผ่านมา นารีขี่ม้าขาว ภาค 1 นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กรณี พรบ.นิรโทษกรรมสุดซอย เหมาเข่ง และโยกย้ายข้าราชการประจำ กรณีนายถวิล เปลี่ยนศรี อดีตเลขาธิการสมช. เป็นการใช้อำนาจไม่ถูกต้องได้เกิดขึ้นมาแล้ว หากลดปัญหาผลประโยชน์ส่วนตน เชื่อว่ารัฐบาลของนางสาวแพทองธารจะอยู่ครบเทอม ในระยะเวลาอีก 3 ปีกว่า

"อย่างไรก็ตาม หากไปยุ่งเกี่ยว หรือไปแตะ พรบ.นิรโทษกรรมสุดซอย เหมาเข่ง มาตรา 112 และคดีทุจริตเมื่อไหร่ เชื่อว่า ประชาชนจะออกมาต่อต้าน รัฐบาลจะอยู่ไม่ครบเทอม จะเป็นการเรียกแขก ทหารเข้ามารัฐประหาร ชะตากรรมจะไม่ต่างจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายรัฐมนตรี กลายเป็นจากนารีขี่ม้าขาว มาเป็นนารีขี่ม้าเขียว การรัฐประหารจะเกิดขึ้นอีกครั้ง"

นายภวัต กล่าวว่าส่วนการต่อรองตำแหน่งเก้าอี้รัฐมนตรีของรัฐบาลผสม ก่อให้เกิดเถียรภาพทางการเมืองสั่นคลอนหรือไม่นั้น ตนคิดว่าหากพิจารณาถึงจำนวนเสียงฝ่ายรัฐบาล 314 เสียง ยังคงรัฐบาลขั้วอำนาจเดิม ไม่เปลี่ยนขั้ว แต่ปรับเปลี่ยนเฉพาะบางตำแหน่ง สมบัติผลัดกันชม ทำให้การต่อรองเก้าอี้ไม่กระเพื่อม เพราะฝ่ายรัฐบาลคุมเสียงข้างมากในสภา และพรรคเพื่อไทยมีประสบการณ์ในการบริหารประเทศ จะต้องอ่านเกมขาดว่า เก้าอี้รัฐมนตรี แต่ละกระทรวง ตนเองจะให้พรรคการเมืองใดดูแล โดยนำประวัติการบริหารงานในรัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน มาประกอบการพิจารณา

"เมื่อพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ อาจต้องยอมให้บางตำแหน่งแก่พรรคการเมืองในรัฐบาลผสม จะกินรวบเพียงพรรคเดียวไม่ได้ เพราะตัวแปร คือ กระทรวงใด คุมงบประมาณ ให้ประชาชนติดตามการแถลงนโยบายของนางสาวแพทองธารที่จะแถลงต่อรัฐสภาในการบริหารประเทศ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 162 วรรคหนึ่ง การต่อรองเก้าอี้ จนถึงนาทีสุดท้าย เพราะแต่ละกระทรวง อาจเป็นเก้าอี้ดนตรี ปรับเปลี่ยนให้บริหาร เพราะหลายคนที่ผ่านมาไม่มีผลงาน เป็นรัฐมนตรีโลกลืม ไม่มีผลงานเชิงประจักษ์ แต่เมื่อเสียงรัฐบาลเสียงข้างมากเด็ดขาด ทำให้รัฐบาลมีเถียรภาพ

การต่อรองตำแหน่งเก้าอี้รัฐมนตรีในกระทรวงต่างๆ หากอ่านเกมการเมือง เชื่อว่า การต่อรองตำแหน่งรัฐมนตรี น่าจะจบตั้งแต่ปฏิญาณเขาใหญ่แล้ว เพราะผลคดีกรณีนายเศรษฐา ทวีสิน อดีตนายกรัฐมนตรี ตกเก้าอี้ มีการรู้ล่วงหน้าจากฝ่ายอนุรักษ์นิยมก่อนหน้านี้แล้วและเชื่อว่าสะเด็ดน้ำก่อนที่พรรคร่วมรัฐบาลจะจับมือแถลงจัดตั้งรัฐบาลโดยสนับสนุน นางสาวแพรลทองธาร ชินวัตร บุตรสาวนายทักษิณ ชินวัตรเป็นนายกรัฐมนตรี"

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วัน 'นาฬิกากรรม'

"๒๒ พฤศจิกา." คือวันนี้ละ ได้รู้กันซะทีว่าศาลรัฐธรรมนูญจะ "รับ-ไม่รับ" คำร้อง "นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร" ไว้พิจารณาวินิจฉัยหรือไม่?

รองเลขาฯเพื่อไทย ฟาดกลับ 'ไอซ์ รักชนก' แซะแจกเงินหมื่นช่วงเลือกตั้งนายก อบจ.

น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์ สส.บัญชีรายชื่อ และรองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความผ่าน X ว่า ใจเย็นๆ นิดนะคะ รัฐบาลตั้งใจส่งเงินหมื่นกระตุ้นเศรษฐกิจ ถึงมือกลุ่มเป้าหมายให้เร็วที่สุด

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476