มาแล้ว 'จาตุรนต์' ลั่นต้องแก้รัฐธรรมนูญ หลังพรรคก้าวไกลถูกยุบ

10 ส.ค.2567 - นายจตุรนต์ ฉายแสง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กแสดงความคิดเห็นกรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจัยให้ยุบพรรคก้าวไกลว่า การยุบพรรคการเมืองตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมา ใช้หลักเหตุผลที่อ่อนแอไม่เป็นเหตุเป็นผล มีการลงโทษที่ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น และมีการเพิกถอนสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคหรือนักการเมืองที่เป็นโทษรุนแรงมาก ทั้งๆที่กรรมการบริหารพรรคจำนวนมากหรือเกือบทั้งหมดไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำผิดนั้นเลย บางพรรคที่ถูกยุบไปพิสูจน์ต่อมาภายหลังด้วยซ้ำว่าไม่มีใครทำผิดกฎหมายอะไรเลย

แต่การยุบพรรคครั้งล่าสุดมีปัญหาเพิ่มขึ้นมาอีก…

นั่นคือคำวินิจฉัยล่าสุด ได้สะท้อนปัญหาในการจัดความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายตุลาการกับฝ่ายนิติบัญญัติ หรือก็คืออำนาจหน้าที่ของรัฐสภากับการทำหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย 3 ฝ่าย ที่ฝ่ายนิติบัญญัติมีการหน้าที่ออกกฎหมายและตรวจสอบควบคุมรัฐบาล ส่วนฝ่ายตุลาการมีหน้าที่ทำให้ผู้คนและองค์กรต่างๆทำตามกฎหมาย

ฝ่ายตุลาการจะไม่ทำหน้าที่ในการกำกับการออกกฎหมายในขั้นตอนต่างๆ แต่จะมาเกี่ยวกับการออกกฎหมายก็ต่อเมื่อสภาพิจารณากฎหมายเสร็จแล้วจนถึงขั้นเห็นชอบทั้ง 3 วาระ ถ้าเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็ส่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นกฎหมายธรรมดา หากมีคนร้องตามจำนวนที่กำหนดว่ากฎหมายนี้หรือมาตรานี้ขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่าขัดแย้งก็จะต้องตกไป เช่นเดียวกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถ้าหากว่ามีปัญหาขัดรัฐธรรมนูญขึ้นมา ศาลรัฐธรรมนูญก็สามารถวินิจฉัยให้ตกไป

ในกรณีที่ถูกวินิจฉัยให้ตกไป สมาชิกที่เสนอกฎหมาย, แสดงความเห็น หรืออภิปรายและลงมติ จะไม่มีความผิดเพราะเขาถือว่าทำไปตามหน้าที่

ส่วนการพิจารณาว่ากฎหมายใดจะดีหรือไม่ เป็นดุลพินิจการตัดสินใจของรัฐสภา ไม่ใช่ศาลรัฐธรรมนูญ

ระบบถ่วงดุลเป็นเช่นนี้ และรัฐธรรมนูญก็มีระบบป้องกันอยู่ในตัวอยู่แล้วที่จะไม่ให้เกิดกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นปัญหาใหม่นี้ก็คือเกิดการจัดความสัมพันธ์อีกแบบหนึ่งที่ฝ่ายตุลาการสามารถจะมาพิจารณาได้ว่าร่างกฎหมายที่เสนอมีเนื้อหาที่ดีหรือไม่ดีและขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ทั้งๆที่ไม่ใช่ขั้นตอนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะมีอำนาจ

เรื่องที่ใหญ่มากทั้งเรื่องการยุบพรรคและเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจอธิปไตย 3 ฝ่าย จึงต้องแก้กันในขั้นตอนของการแก้รัฐธรรมนูญ ส่วนการแก้ระบบกฎหมายว่าด้วยการยุบพรรค อาจจะแก้กฎหมาย พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่พอ จำเป็นต้องแก้รัฐธรรมนูญด้วย เช่นเดียวกับเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ต้องแก้รัฐธรรมนูญเท่านั้น

ผมคิดว่ามีความจำเป็นที่จะต้องพิจารณาเรื่องนี้กันอย่างจริงจัง เพราะว่าจะไปเกี่ยวข้องกับความเป็นประชาธิปไตยของบ้านเมือง การมีหลักนิติธรรม ที่สำคัญไปเกี่ยวข้องโดยตรงกับผลประโยชน์ของประชาชน ที่ประชาชนจะสามารถมีพรรคการเมืองและใช้พรรคการเมืองให้เป็นประโยชน์ต่อการกำหนดความเป็นไปของบ้านเมืองได้แค่ไหนหรือประชาชนสามารถใช้รัฐสภาในการทำหน้าที่ออกกฎหมายและตรวจสอบควบคุมการทำงานของฝ่ายรัฐได้ดีแค่ไหน ก็ขึ้นอยู่กับการแก้รัฐธรรมนูญ

จะแก้ปัญหานี้ได้ ต้องแก้รัฐธรรมนูญครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลรธน. แพร่ 'คำวินิจฉัยกลาง' พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสว. ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำวินิจฉัยกลาง เรื่อง พระราชบัญญัติประกอบรัฐธธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ.

'พ.ร.บ.นิรโทษกรรม' เสี่ยงโมฆะ! ขืนรวมความผิด 'ม.112-110'

'คารม' เตือน 'พ.ร.บ.นิรโทษกรรม' เสี่ยงโมฆะ ขืนรวมความผิด 'ม.112-110' ส่อขัดรัฐธรรมนูญ ยิ่งเพิ่มขัดแย้ง แนะผู้ถูกกล่าวหาต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม พิสูจน์ความบริสุทธิ์ตัวเอง

‘หมอวรงค์’ ระดม 5 หมื่นชื่อ แก้กม.รัฐธรรมนูญ ชงราชประชาสมาสัยเพื่อให้ได้วุฒิสภา

กระบวนการให้ได้มาซึ่งสว.แบบนี้ ไม่ใช่การถวายคืนพระราชอำนาจ แต่นี่คือราชประชาสมาสัย ตามรัฐธรรมนูญ เพราะจะต้องเสนอแก้กฏหมายรัฐธรรมนูญ ให้เป็นไปตามหลักการแก้รัฐธรรมนูญ

ปารีณาเจออีก! กกต. สั่งฟันคดีอาญาซื้อเสียงช่วยพี่ชายเลือกตั้ง สส.ราชบุรี

สำนักงานกกต.เผยแพร่คำวินิจฉัยกกต.สั่งให้มีการดำเนินคดีอาญาน.ส.ปารีณา ไกรคุปต์ อดีตสส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ และนางนุสรา บุญสวัสดิ์ ตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)​ ว่าด้วยการเลือกตั้งสส. 2561มาตรา73(1)

กันลืม! ย้อนอ่านบันทึก 'มีชัย ฤชุพันธุ์' ที่มา 200 สว. จาก 20 กลุ่มอาชีพ

เราแบ่งกลุ่มออกเป็น 20 กลุ่ม เพื่อให้สามารถกระจายกันไปแต่ละกลุ่มจะมีหลักประกันว่าจะมีตัวแทนของคนอยู่ในวุฒิสภา มีคนตั้งข้อสงสัยว่าการกำหนดไว้ 20 กลุ่ม ไม่มีเหตุผลอะไร ทำไม่จึงไม่เป็น 25