6 ส.ค.2567- ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีวิปฝ่ายค้านโดยพรรคก้าวไกล ได้หารือเกี่ยวกับการขอปรับเวลาในการประชุมสภาฯ พรุ่งนี้ เนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญมีนัดอ่านคำพิพากษาคดียุบพรรคก้าวไกล ว่า เมื่อเช้านี้ได้ติดตามจากฝ่ายเลขาสภาฯ ยังไม่ได้เห็นเอกสารอย่างเป็นทางการมาถึงตนเอง แต่ตนคิดว่าขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของประธานสภาฯ เพราะระเบียบวาระต่างๆ ยังคงต้องดำเนินต่อไป เราก็เข้าใจฝ่ายการเมืองว่าสมาชิกในการประชุมก็จะไม่ค่อยมี ถ้าเลิกประชุมหรือพักการประชุมได้ ก็อาจจะเป็นประโยชน์ก็ได้
นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ส่วนที่จะมีการตัดสินคดียุบพรรคในวันพรุ่งนี้ ซึ่งมีความเกี่ยวเนื่องกับตนเองนั้น ตอนนี้ตนกำลังใจยังดีมาก เพราะเราไม่ได้เตรียมตัวว่าจะอยู่นานเท่าไหร่ เรารู้ว่ารัฐธรรมนูญ 2560 มีความน่ากังวลหลายประเด็น โดยเฉพาะสถาบันนิติบัญญัติ ถ้าประชาชนมีความกังวลว่าอำนาจล้นเกินของสถาบันอื่น มาทำให้สถาบันนิติบัญญัติ เช่น การเสนอกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎร ที่กว่าจะผ่านด้วยความยากเย็น ที่มีทั้งสภาสูง และองค์กรอิสระ รวมถึงความเข้มแข็งของฝ่ายค้าน ที่กังวลว่าจะทำให้สภาฯ 3 ปีข้างหน้าจากนี้จะไม่สง่างาม และส่งผลกระทบต่อการทำงานในอนาคตอีกด้วย ซึ่งไม่ใช่เรื่องส่วนตัวแต่อย่างใด
เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ประเมินสถานการณ์ และเตรียมแผนในวันพรุ่งนี้อย่างไรบ้าง นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า หากมองจากข้อต่อสู้ของพรรคก้าวไกลที่ยื่นข้อต่อสู้ รวมถึงความคิดเห็นของนักวิชาการที่มีมาตรฐาน ก็เชื่อว่าคำตัดสินน่าจะเป็นคุณ ซึ่งเราก็ต้องเตรียมแผนไว้หลายฉากทัศน์ ตอนนี้ยังทำงานแบบไม่มีอะไรเกิดขึ้นในวันพรุ่งนี้ก่อน แต่หากมีอะไรเกิดขึ้นเราก็พร้อมรับทุกสถานการณ์
ส่วนกรณีที่มีการดึงองค์กรต่างประเทศเข้ามาร่วมจับตาคดียุบพรรคก้าวไกล มีข้อห่วงกังวลอะไรที่จะส่งผลอะไรต่อประเทศในอนาคตหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า เรื่องนี้ประชาชนก็รู้ดี หากเราปิดประเทศแบบเมียนมา และกัมพูชา เราคงไม่ต้องแคร์ต่างชาตินัก แต่ประเทศไทยเป็นประเทศเปิด และมีตัวตนในเวทีโลก ซึ่งจะเป็นไปไม่ได้ถ้าเราจะบอกว่า เราขอมีตัวตนในโลก แต่ไม่ให้โลกจับตามองประเทศไทยของเรา จึงต้องถามกลับว่าเรามีตัวตนอย่างไรในเวทีโลกมากกว่า
เมื่อถามว่ามีการติงว่าเป็นมารยาท ที่ต่างชาติไม่ควรแทรกแซง นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า ตนมองว่าก็สามารถวิจารณ์กันได้ โดยเมื่อวานนี้ (5 ส.ค.) รองโฆษกรัฐบาลก็มีการเผยแพร่ข่าวในเว็บไซต์ ซึ่งตนเองก็ไม่แน่ใจว่าเป็นการไร้มารยาทหรือไม่ และเราควรที่จะพูดกันตรงๆ ว่า ถ้าเรายังปล่อยให้เป็นแบบนี้เราก็จะได้รับการยอมรับจากทั้งใน และต่างประเทศ ซึ่งเราอาจจะบอกว่าเราไม่แคร์ก็ได้ว่าต่างประเทศจะคิดกับเราอย่างไร แต่ส่วนตัวแล้วเห็นว่า ความพยายามที่เราจะมีตัวตนในโลก ก็ต้องสอดคล้องกับการเป็นประชาธิปไตย ถ้าไม่มีความเป็นประชาธิปไตยก็จะส่งผลต่อศักดิ์ศรีของสภาฯ และตัวตนของรัฐบาล
ผู้สื่อข่าวถามว่าในวันพรุ่งนี้นายประดิพัทธ์จะเดินทางไปที่พรรคก้าวไกล เพื่อร่วมกิจกรรมด้วยหรือไม่ นายปดิพัทธ์ กล่าวว่า แน่นอนว่าจะต้องไปหาเพื่อนอยู่แล้ว ไม่ว่าผลจะเป็นอย่างไร หากตามที่นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคก้าวไกล ได้ระบุไว้ว่า เราได้ปาร์ตี้แน่นอน ไม่ว่าผลจะเป็นบวกหรือลบ เพราะการที่เราได้ให้กำลังใจกันแล้ว การอยู่ด้วยกันในช่วงเวลาที่ยากลำบากเป็นคุณค่าที่เรายึดถือร่วมกันอยู่แล้ว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2
จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'อสส.' ตอบความคืบหน้าคดี ทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างปกครองฯ ต่อศาลรธน.เเล้ว
รายงานข่าวจากสำนักงานอัยการสูงสุด ความคืบหน้ากรณี เมื่อวันที่ 22 ต.ค.2567 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญมีเผยแพร่เอกสาร การพิจารณาคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา
'ดิเรกฤทธิ์' ชี้ MOU44 รัฐสภาไม่เห็นชอบ บังคับใช้ไม่ได้ สะกิดพลเมือดีร้องศาลรธน.
MOU44 เป็นหนังสือสัญญาตาม รธน.มาตรา178 เมื่อไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาย่อมไม่สามารถใช้บังคับได้
พฤศจิกายน ศาลรธน. รับคำร้องคดี ทักษิณ-พท. ล้มล้างการปกครองฯ
ความคืบหน้าคำร้องคดีสำคัญทางการเมือง กรณีที่ ธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายความอิสระ ได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยสั่งการให้นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่ 1