นักวิชาการ มช. ชี้หากตัดสินตามหลักกฎหมายไม่มีทางยุบก้าวไกลได้

ขอบคุณภาพจากเว็บไซด์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร

นักวิชาการ ม.เชียงใหม่ชี้เปรี้ยง ก้าวไกลยิ่งยุบยิ่งโต ย้ำหากตัดสินตามเนื้อผ้าหลักกฎหมาย ไม่มีทางยุบได้ เตือนศาลรธน.อย่าออกคำตัดสินที่ลดทอนความน่าเชื่อถือซ้ำรอยอดีต

4 ส.ค. 2567 – นายสมชาย ปรีชาศิลปกุล หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าววิเคราะห์ผลคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคก้าวไกลวันที่ 7 ส.ค. โดยกล่าวว่า เบื้องต้นต้องดูก่อนว่า คดียุบพรรคก้าวไกล จะถูกตัดสินด้วยหลักการทางกฎหมาย หรือตัดสินด้วยหลักการทางกฎหมาย หรือเป็นการตัดสินที่เป็นเรื่องของอำนาจทางการเมือง โดยหากคดีนี้ ตัดสินด้วยหลักการทางกฎหมายอย่างจริงจัง ก็คิดว่าการจะตัดสินยุบพรรคก้าวไกล น่าจะเป็นไปได้ยาก เพราะหากพิจารณาจะพบว่ามีประเด็นที่สำคัญต้องพิจารณาเช่น การยื่นคำร้องให้ศาลรธน.ยุบพรรค ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือกกต.ได้ไต่สวนคดีและยื่นคำร้องต่อศาลรธน.ตามขั้นตอนถูกต้องมากน้อยเพียงใด

นายสมชายกล่าวต่อว่า ประเด็นที่สอง ศาลรธน.มีอำนาจในการรับคำร้องไว้วินิจฉัยมากน้อยแค่ไหน ซึ่งทั้งสองประเด็นข้างต้นเป็นเรื่องปัญหาในเชิงเทคนิคว่าผู้ยื่นคือกกต.กับผู้ตัดสินคือศาลรธน.ที่มองว่ามีปัญหาในเรื่องความชอบด้วยรัฐธรรมนูญเยอะไปหมด เช่นกกต.ไม่ได้ดำเนินการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทั้งที่กกต.เป็นผู้ออกกฎเกณฑ์ระเบียบต่างๆ ออกมา ซึ่งเรื่องนี้มีประเด็นข้อโต้แย้งเยอะ ส่วนการตัดสินยุบพรรคการเมือง ไม่ได้เป็นการตัดสินตามรธน.แต่ไปอ้างพรบ.พรรคการเมือง ที่ก็มีข้อโต้แย้งอยู่ว่า การยุบพรรคการเมืองโดยอาศัยพรบ.ประกอบรธน. ทำได้หรือไม่ ที่เป็นปัญหาเรื่องเทคนิคที่โต้แย้งกันได้

นายสมชายกล่าวอีกว่า แต่ปัญหาใหญ่ตอนนี้คือเรื่องเหตุในการกล่าวอ้างที่จะนำมายุบพรรคก้าวไกล ที่กล่าวอ้างว่า พรรคก้าวไกล มีพฤติการณ์ณ์ล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ถือเป็นประเด็นที่ค่อนข้างมีปัญหา ทั้งกรณีที่ว่า การกระทำที่เกิดขึ้น เป็นการกระทำของพรรคก้าวไกลหรือไม่ เพราะเราจะเห็นว่าข้อกล่าวหาที่มีเช่นการที่ส.ส.พรรคก้าวไกลสมัยที่ผ่านมา ไปใช้ตำแหน่งส.ส.ยื่นขอประกันตัว (ผู้ต้องหาคดี 112) หรือการที่มีการไปติดสติกเกอร์ยกเลิก 112 ต้องพิจารณาก่อนว่า เป็นการกระทำโดยส่วนตัวหรือไม่ เพราะเป็นการกระทำที่ส.ส.แต่ละคนไปทำ แต่ไปเหมารวมว่าเป็นการกระทำของพรรคก้าวไกล ซึ่งโดยปกติการกระทำที่จะเป็นในนามพรรคการเมือง ต้องเป็นความเห็นพ้อง หรือเป็นมติพรรค และต้องดูด้วยว่า การกระทำทั้งหมดที่ทำมา ไม่ว่าจะเป็นการร่วมกันลงชื่อเสนอแก้ไขมาตรา 112 หรือไปยื่นขอประกันตัว-ไปติดสติกเกอร์ฯ ตามที่กล่าวอ้างกัน แต่เรื่องเหล่านี้เป็นการใช้สิทธิตามพื้นฐานรัฐธรรมนูญ เพราะอย่างการให้ประกันตัว กฎหมายก็ไม่ได้บอกว่า คดีเหล่านั้นห้ามยื่นขอประกันตัว หรือการเสนอแก้ 112 ก็เป็นหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ที่เป็นอำนาจตามกฎหมายและประมวลกฎหมายอาญา ก็ถือเป็นพรบ.อย่างหนึ่ง ทางส.ส.ก็สามารถใช้สิทธิ์เสนอแก้ไขได้

“ประเด็นที่นำมาเป็นข้อกล่าวหา ผมว่ามีปัญหาอยู่มาก ซึ่งหากตัดสินตามหลักกฎหมาย ผมคิดว่าเป็นเรื่องยากที่จะยุบพรรคก้าวไกล แต่ปัญหาคือ เราเชื่อกันจริงหรือว่า การตัดสินคดียุบพรรคก้าวไกลครั้งนี้เป็นเรื่องของหลักการทางกฎหมายล้วนๆ โดยไม่เกี่ยวกับเรื่องทางการเมือง ซึ่งผมไม่เชื่อ คือหากคาดการด้วยหลักทางกฎหมาย ผมคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ เป็นไปได้ยากมากที่จะยุบพรรคก้าวไกล ด้วยเหตุตามที่มีการกล่าวอ้างมาของกกต. “นักกฎหมายจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ระบุ

เมื่อถามว่า หากคำวินิจฉัยกลางของศาลรธน.ที่จะออกมาวันที่ 7 ส.ค. ศาลรธน.ไม่สามารถให้เหตุผลที่มีน้ำหนักต่อสังคมได้ จะทำให้ความศรัทธาของศาลรธน.กับประชาชน จะมีปัญหาหรือไม่ นายสมชายกล่าวว่า ในความเห็นของผม คิดว่า ศาลรธน.ได้ตัดสินคดีหลายคดีที่มีปัญหาอย่างมาก ดังนั้น หากจะมีคำตัดสินที่จะทำให้ลดทอนความน่าเชื่อถือของศาลรธน.เกิดขึ้นอีกได้หรือไม่ ผมก็คิดว่าก็เป็นไปได้ หากเราดูจากประวัติศาสตร์ เพราะมันเคยเกิดขึ้นแล้วและเมื่อเกิดขึ้นแล้วมันก็มีโอกาสจะเกิดขึ้นได้อีก ตราบที่โครงสร้าง-อุดมการณ์ของศาลรธน.ยังไม่เปลี่ยน ส่วนจะสั่นคลอนต่อความน่าเชื่อถือของศาลรธน.หรือไม่ สำหรับศาลรธน.ไทย ผมคิดว่าในแง่ความน่าเชื่อถือต่อสาธารณะ คิดว่ามันมีไม่ได้มากเท่าใด ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่เวลาคาดเดาคดีนี้ ส่วนใหญ่ไม่ได้คาดเดาจากหลักการทางกฎหมาย แต่คาดจากประเด็นทางการเมืองเป็นหลัก คนที่มีความเห็นว่าก้าวไกลจะถูกยุบพรรค ก็คาดเดาจาก อำนาจทางการเมืองเป็นหลัก ไม่ได้คาดเดาจากหลักการทางกฎหมายที่มันควรจะเป็น

“ดังนั้น ก็มีโอกาสเป็นไปได้ที่จะมีการยุบพรรคก้าวไกล แต่หากดูจากหลักการทางกฎหมาย หลักการตามระบอบประชาธิปไตย มันเป็นสิ่งที่แทบเกิดขึ้นไม่ได้เลย หรือเกิดขึ้นได้ยากมาก”

หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนากฎหมาย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าววิเคราะห์ทางการเมืองหลัง 7 ส.ค. หากมีการตัดสินยุบพรรคก้าวไกลว่า หากถามผม ก็มองว่ามันอาจจะส่งผลดีต่อพรรคก้าวไกลในอนาคต แม้จะเป็นพรรคใหม่ที่ตั้งขึ้นมาก็ตาม แต่จะทำให้เมื่อมีการเลือกตั้งใหญ่เกิดขึ้นในอนาคต จะทำให้แรงสนับสนุนของคนที่คาดหวังการเปลี่ยนแปลง จะไหลไปเทที่พรรคก้าวไกล และจะไม่ได้เกิดแค่กับเฉพาะคนรุ่นใหม่เท่านั้น แต่คนที่ปรารถนาดีต่อสังคมไทยจำนวนไม่น้อย คงน่าจะเห็นใจและสนับสนุนพรรคก้าวไกลเพิ่มมากขึ้น ซึ่งที่คนพูดกันว่า ยิ่งยุบยิ่งโต มีความเป็นไปได้ เพราะเขาจะเห็นว่าน่าจะเหลือเพียงส่วนเดียวที่ทำให้สังคมไทยเปลี่ยนแปลงได้ และจะทำให้สถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิจอย่างที่เป็นอยู่ จะทำให้สังคมไทยมีความยากลำบากมากขึ้น เพราะตอนนี้คนก็ตระหนักว่าอย่างที่เศรษฐกิจประเทศไทยยังไม่ไปไหน ก็เพราะระบบการเมืองที่มันผูกขาดอยู่กับอำนาจกลุ่มทุน ซึ่งหากตราบใดไม่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางการเมือง เราจะไปคาดหวังให้เศรษฐกิจไทยกลับมาดีแบบเดิม ผมคิดว่ามันเป็นไปได้ยากมาก จำเป็นต้องมีการจัดการกับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ แต่หากโครงสร้างทางเศรษฐกิจยังตกอยู่ใต้การเมืองแบบนี้ มันก็เป็นไปได้ยาก
เมื่อถามว่าหากพรรคก้าวไกล ถูกยุบพรรค จะทำให้การเคลื่อนไหวเสนอแก้มาตรา 112 แทบจะถูกปิดประตูไปเลยหรือไม่

นายสมชาย กล่าวว่า ยังทำได้ เพราะมาตรา 112 เป็นแค่ประมวลกฎหมายอาญา เป็นกฎหมายระดับพรบ.ที่ฝ่ายนิติบัญญัติต้องแก้ไขได้ ต่อให้มีการยุบพรรคจริง 112 ก็ยังแก้ไขได้ 112 ไม่ใช่ พระไตรปิฎก คือหมายความว่า บรรจุความถูกต้อง ดีงามทั้งหมดอยู่ในนั้น เพราะมีปัญหาอยู่ในมาตรานั้นอยู่ จึงต้องแก้ไขได้ ไม่มีกฎหมายอะไรที่แก้ไม่ได้และในอดีต มาตรา 112 ก็เคยถูกแก้ไขมาแล้ว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นักวิชาการ มีคำอธิบาย 'ทำไม?ประเทศไทยปีนี้จึงหนาวเย็นมากกว่าปกติ'

ความกดอากาศสูงที่กดทับประเทศไทยดังกล่าวทำให้เกิดอากาศปิดหรือมีลักษณะคล้ายฝาชีครอบ แหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆที่ปล่อยฝุ่นPM2.5 มาถูกอากาศเย็นหรือมวลความกดอากาศสูงครอบไว้

อันตรายที่ต้องระวัง! ‘ดร.สนธิ’ อธิบายทำไมช่วงนี้อากาศเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส แต่แดดแรง

มวลอากาศเย็นหรือความกดอากาศสูงได้แผ่ขยายจากแผ่นดินใหญ่ประเทศจีนลงสู่ประเทศไทยทำให้ประเทศไทยมีอา กาศหนาวเย็นขึ้น

จัดระดมสมอง 'สื่อยุคเทคโนโลยีใหม่ ความท้าทายแห่งอนาคตสื่อสารมวลชน' 21 พ.ย.นี้

สมาคมศิษย์เก่าสื่อสารมวลชน - คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มัดรวมกูรู ร่วมเสวนา “สื่อยุคเทคโนโลยีใหม่ ความท้าทายแห่งอนาคตสื่อสารมวลชน" พร้อม Live สด ให้ชมทั่วประเทศ ในวันที่ 21 พฤศจิกายน นี้