กมธ.นิรโทษ สรุปรายงานส่งสภาฯ พร้อมความเห็นในคดีอ่อนไหวมี 3 แนวทาง

1 ส.ค.2567 - ที่รัฐสภา นายนิกร จำนง ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม แถลงผลการพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ก่อนเสนอรายงานต่อที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

โดยนายนิกร กล่าวว่า ในรายงานจะมีรายละเอียดการดําเนินงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ซึ่งสามารถสรุปผลการพิจารณาศึกษา และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ ได้ดังนี้ ในส่วนผลการพิจารณาศึกษา 1.ช่วงเวลาในการนิรโทษกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบัน

2.ประเด็นคดีที่ควรได้รับการนิรโทษกรรม ทั้งคดีหลัก คดีรอง และคดีที่มีความอ่อนไหว ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากความขัดแย้งครอบคลุมช่วงระยะเวลาที่ยาวนาน ทําให้มีข้อมูลสถิติคดีที่ต้องนํามาพิจารณาจํานวนมาก เพื่อประโยชน์ในการอํานวยความยุติธรรมคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จึงเห็นว่า ควรจําแนกคดีออกเป็น คดีหลัก คดีรอง และคดีที่มีความอ่อนไหว

ทั้งนี้ คดีหลักคือคดีที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยตรง เป็นการกระทําที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง คดีรองคือคดีที่พ่วงมากับคดีหลัก หรือคดีที่มีความผิดลหุโทษ อย่างไรก็ดี การพิจารณาคดีรองต้องพิจารณาด้วยว่าเป็นการกระทําที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองหรือไม่ ส่วนคดีที่มีความอ่อนไหว คือ คดีที่ยังเป็นข้อขัดแย้งถกเถียงในสังคมอยู่

3.รูปแบบและกระบวนการในการนิรโทษกรรม หรือการนิรโทษกรรมโดยใช้รูปแบบผสมผสาน

4.ควรกําหนดนิยามของคําว่า 'การกระทําที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง' ซึ่งหมายความว่า การกระทําที่มีพื้นฐานมาจากความคิดที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมือง หรือต้องการบรรลุเป้าหมายทางการเมืองอย่างใด อย่างหนึ่งในช่วเวลาที่ความขัดแย้งหรือความไม่สงบทางการเมือง

5.ควรกําหนดขอบเขตของการนิรโทษกรรม

6.ข้อดี ข้อเสียการนิรโทษกรรมหรือไม่นิรโทษกรรมในคดีหลัก คดีรอง และคดีที่มีความอ่อนไหว

7.ความเห็นของกรรมาธิการเกี่ยวกับคดีที่มีความอ่อนไหว ในส่วนความผิดตามมาตรา 110 และ มาตรา 112 คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ ได้พิจารณาในประเด็นการนิรโทษกรรมหรือไม่นิรโทษกรรมผู้กระทําความผิดตามมาตรา 110 และมาตรา 112 ซึ่งคือความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์

อย่างไรก็ตาม กรรมาธิการฯ ได้มีการแสดงความเห็นออกเป็น 3 แนวทาง ดังนี้ แนวทางที่ 1 ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหว

แนวทางที่ 2 เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหวโดยมีเงื่อนไข ซึ่งกรรมาธิการฯ ที่เห็นด้วยกับแนวทางนี้ได้เสนอเงื่อนไขในการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของกรรมาธิการฯ และที่ปรึกษาประจําคณะกรรมาธิการฯ ที่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหวโดยมีเงื่อนไขด้วย

แนวทางที่ 3 เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหวโดยไม่มีเงื่อนไข

8.การอำนวยความยุติธรรมโดยกลไกตามกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจบัน

9.บัญชีท้ายร่างพระราชบัญญัติ ระบุ ความผิดตามกฎหมาย 25 ฉบับ โดยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 14 ฐานความผิด จํานวน 58 มาตรา

สำหรับข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการฯ มีดังต่อไปนี้ 1.คณะรัฐมนตรีควรพิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เพื่อนําไปเป็นแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมโดยเร็ว พร้อมทั้งออกนโยบาย มาตรการที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม และแจ้งผลของการพิจารณาหรือการปฏิบัติตามข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ มายังที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร จากนั้นให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรแจ้งผลดังกล่าวไปยังคณะกรรมาธิการสามัญทั้ง 35 คณะเพื่อติดตามผลการปฏิบัติตามมติของสภาต่อไป

2.ข้อมูลสถิติคดีจากหน่วยงานของรัฐ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะบางประการของกลุ่มชุมนุม ทําให้สามารถนําข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาได้ว่า คดีใดเป็นคดีที่เป็นการกระทําที่เกิดจากแรงจูงใจทางการเมือง และข้อมูลที่ควรใช้เป็นหลักในการพิจารณา คือ ข้อมูลของสํานักงานศาลยุติธรรม เนื่องจากเป็นข้อมูลที่มีการรวบรวมสถิติไว้อย่างเป็นระบบ มีความชัดเจนพอสมควร และได้มีการฟ้องร้องเป็นคดีแล้ว อย่างไรก็ตาม ยังสมควรต้องสืบค้นจํานวนผู้กระทําความผิด ในแต่ละฐานความผิตมาประกอบการพิจารณาด้วย

3.ฐานความผิดนั้นมีความยึดโยงกับการนิรโทษกรรมอย่างมีนัยสําคัญ กล่าวคือ ฐานความผิดนั้นสามารถเป็นกรอบในการพิจารณาว่า ฐานความผิดใดที่มีผลสืบเนื่องมาจากแรงจูงใจทางการเมือง ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพิจารณาเรื่องการนิรโทษกรรม หรือการดําเนินการอื่นใด และประเด็นฐานความผิดเกี่ยวกับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110 และมาตรา 112 นั้น ยังคงเป็นประเด็นที่มีความอ่อนไหวอยู่

4.แม้โดยหลักการเห็นว่าไม่ควรนิรโทษกรรมผู้กระทําความผิดตามมาตรา 288 และมาตรา 289 แต่อย่างไรก็ดี มีการแสดงข้อกังวลว่า การจะนิรโทษกรรมคดีใด ไม่ควรพิจารณาจากข้อหาเพียงอย่างเดียว เพราะอาจมีคดีที่ผ่านกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ปกติ หรือถูกกลั่นแกล้งว่ากระทําความผิดตามมาตราดังกล่าว กล่าวคือ ผู้ถูกดําเนินคดีไม่มีเจตนา ไม่ได้กระทําผิด หรือไม่มีผู้เสียชีวิตจริง ในกรณีนี้ควรให้มีการสืบพยานเพื่อให้ทราบว่า ผู้ถูกคําเนินคดีเป็นผู้กระทําความผิดจริงหรือไม่ ถ้าผู้ถูกดําเนินคดีไม่ได้เป็นผู้กระทําความผิด ก็ควรให้สิทธิเข้าสู่ กระบวนการติจารณาของคณะกรรมการนิรโทษกรรมเพื่อเป็นช่องทารหนี่งในการอ่านวยความยุติธรม

5.สภาผู้แทนราษฎรควรมีข้อสังเกตไปยังคณะรัฐมนตรีซึ่งเป็นฝ่ายบริหาร ว่าในระหว่างที่ยังไม่มีการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม สมควรที่คณะรัฐมนตรีจะได้กำหนดนโยบายให้กับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม ดําเนินการตามกลไกของกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อเป็นการอํานวย ความยุติธรมตามแนวทางที่คณะกรรมาธิการวิสามัญฯ เสนอ

6.การกําหนดให้ผู้ได้รับนิรโทษกรรมได้รับสิทธิที่ต้องสูญเสียไปโดยผลของคําพิพากษากลับคืนมา สามารถกระทําได้โดยต้องกําหนดไว้ในกฎหมายอย่างชัดแจ้งว่า จะคืนสิทธิใดบ้าง และเมื่อการนิรโทษกรรมที่จะเกิดขึ้นนี้ มุ่งหมายในการคลี่คลายประเด็นความขัดแย้งทางการเมือง ดังนั้น จึงควรคืนสิทธิทางการเมืองให้กับผู้ที่ได้รับนิรโทษกรรม

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นิกร' แนะรัฐถอดบทเรียน ยอดตายบนถนนพุ่ง 8% ชี้ประเด็นสำคัญ ขับเร็ว ไม่ใช่เมาแล้วขับ

นายนิกร จำนง ที่ปรึกษาคณะกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการป้องกันและลดอุบัติเหตุเพื่อสร้างความปลอดภัยทางถนนแห่งรัฐสภา และประธานคณะอนุกรรมการด้านประสานงาน บริหารจัดการ รณรงค์ และประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการป้องกันและลดอุบัติเหตุเ

'นิกร' เชื่อแก้รธน. มาตรา 256 ฉบับพรรคส้ม โอกาสผ่านยาก เหตุหักอำนาจ สว.

นายนิกร จํานง เลขานุการกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีสภาผู้แทนราษฎร เตรียมพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และหมวด 15/1

กมธ.ประชามติ สรุปใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น ชงรายงานให้ สส.-สว. ถ้าเห็นแย้งจะถูกแขวน 180 วัน

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ นำโดย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. โฆษก กมธ., นายกฤช เอื้อวงศ์ โฆษก กมธ. และนายนิกร จำนง เลขานุการ กมธ. ร่วมกันแถลงถึงมติของกมธ.ร่วมกันฯ

'นิกร' ชี้เหตุปัจจัยยังไม่พอ 'สนธิ' ปลุกระดมปีหน้า บอกนักการเมืองโฟกัสเลือกตั้งนายก อบจ.

นายนิกร จำนง ผู้อำนวยการพรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่นายสนธิ ลิ้มทองกุล ออกมาประกาศ ว่า ในปีหน้า 2568 จะมีการจัดเวทีทุกเดือนและอาจมีการลงถนน ว่า เป็นเรื่องในอนาคตต้องรอดู จะว่าไม่กังวลก็กังวล

'นิกร' ยอมรับสภาพ พรบ.ประชามติ แก้รธน.ล่าช้าไป 1 ปี คาดทำครั้งแรกต้นปี 69

นายนิกร จำนง ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีที่มีการระบุว่ากฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงิน เพื่อลดเวลาพักร่างกฎหมาย 180 วัน

'ชูศักดิ์' รับเลือกตั้งครั้งหน้า คงต้องใช้ รธน.ฉบับเดิม ขอแค่ตั้ง ส.ส.ร. ทันรัฐบาลนี้

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีนายนิกร จำนง เลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ยืนยันว่าการจะแปลงร่างกฎหมายประชามติเป็นกฎหมายการเงินไม่สามารถทำได้