ประเดิมถกงบดิจิทัลวาระสอง 'ก้าวไกล' จัดชุดใหญ่

สภาถกงบกลางปี 2567 วาระสอง กมธ.ก้าวไกล” ระบุตรากฎหมายไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ-พ.ร.บ.การเงินการคลัง ย้อนเกล็ดรัฐบาล ถ้าเห็นว่าเป็นหนี้ หากเงินหมื่นแจกไม่ทันไตรมาสสี่ ปชช.ฟ้องศาลได้ใช่หรือไม่

31 ก.ค.2567 - ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาคนที่1 เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท ในวาระสอง พิจารณารายมาตรา ซึ่งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว

นายพิชัย ชุณหวชิร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการการคลัง ในฐานะประธาน กมธ.วิสามัญ กล่าวว่า กมธ. พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเสร็จแล้ว เริ่มพิจารณาวันที่ 19 ก.ค. เสร็จวันที่ 25 ก.ค. เป็นการพิจารณางบกลาง ในส่วนรายจ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านโครงการเติมเงิน 10,000บาท ผ่านโครงการดิจิทัลวอลเล็ต และยินดีชี้แจงข้อซักถามในทุกมาตรา

โดยมาตรา 3 วงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท นายนพณัฐ มีรักษา กมธ.พรรคก้าวไกล ขอสงวนความเห็นว่า การตราร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ พบว่ามีปัญหาข้อกฎหมายที่สำคัญ เรื่องเหตุผลและความจำเป็นในการตราร่าง พ.ร.บ. มีความจำเป็นระหว่างปีงบประมาณ หรือภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้ หรือไม่ คำถามคือคณะรัฐมนตรี (ครม.)มีความจำเป็นอะไร ถ้าคำตอบคือเพื่อหาเงินไปใช้กับโครงการดิจิทัล ก็ต้องทราบด้วยว่าโครงการจะเริ่มแจกเงินในไตรมาสแรกของปีงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2568 ทุกฝ่ายทราบดีไม่ได้แจกในปีงบประมาณนี้ ดังนั้น ย่อมไม่มีความจำเป็นใดที่จะต้องร่างงบเพิ่มเติมในปี 2567 จึงทำให้การร่างกฎหมายนี้ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเงินการคลังของรัฐ

นายนพณัฐ กล่าวอีกว่า กระทรวงการคลังอาจชี้แจงว่าแม้จะแจกไม่ทันในวันที่ 30 ก.ย.นี้ แต่สามารถใช้เป็นงบข้ามปีได้ โดยอาศัยช่องทาง มาตรา 43 ของ พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ การก่อหนี้ผูกพันจะต้องมีมูลแห่งหนี้ก่อน ซึ่งอาจมองว่าการลงทะเบียนถือว่าเป็นการก่อหนี้ผูกพันแล้ว ซึ่งการให้คำอธิบายแบบนี้มีปัญหาแน่นอน เพราะไม่ใช่ว่าสัญญาทุกประเภทจะก่อให้เกิดหนี้ อีกทั้งเจตนารมณ์ของการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณเพื่อใช้จ่ายข้ามปีมีขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริงกับระบบราชการไทย กล่าวคือ มีการจัดซื้อจัดจ้าง มีเซ็นสัญญาไปแล้ว จึงอนุญาตให้ตราร่าง พ.ร.บ. เพื่อป้องกันไม่ให้หน่วยงานรัฐโดนฟ้อง เพราะผิดนัดชำระหนี้

นายนพณัฐ กล่าวด้วยว่า การเปิดให้ลงทะเบียนแล้วอ้างว่าเป็นการก่อหนี้ผูกพันไม่เคยมีมาก่อน การบอกว่าเงินหมื่นบาทเป็นสัญญาให้ เลยเกิดปัญหา เพราะสัญญาให้จะสมบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนั้นต่อให้เปิดลงทะเบียน แต่ยังไม่ส่งมอบเงิน ก็ต้องถือว่าสัญญาไม่สมบูรณ์ ฟ้องต่อศาลไม่ได้ ขณะเดียวกัน ถ้ากระทรวงคลังยืนยันว่าเป็นหนี้จริงๆ ถ้ารัฐบาลแจกไม่ทันในไตรมาสหนึ่งของงบ 2568 แปลว่าผิดนัดชำระหนี้ ประชาชนมีสิทธิ์ฟ้องร้องให้จ่ายเงิน 1 หมื่นบาทแก่ตนเองใช่หรือไม่ ทั้งนี้ หากในอนาคตมีปัญหาเรื่องใช้จ่ายงบประมาณ ผู้เกี่ยวข้องอ้างไม่รู้ในประเด็นกฎหมายเหล่านี้ไม่ได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ศิริกัญญา' ยก 4 เหตุผลตัดงบดิจิทัลเหลือหมื่นล้านบาท!

'ศิริกัญญา' กาง 4 เหตุผลตัด 'งบดิจิทัลวอลเล็ต' เหลือหมื่นล้านบาท เหน็บจะเล่นแร่แปรธาตุอย่างไรก็ตามแต่ดอกเบี้ยไม่หลอกใคร จวกเกินเลยไปมากเอาค่าน้ำค่าไฟรวมเป็นรายจ่ายลงทุน

'อนุทิน' รับลูกคลังเรื่องย้ายทะเบียนบ้านรับเงินหมื่น

รมว.มหาดไทย รับลูกคลัง ให้กรมการปกครองประสานดูการย้ายทะเบียนบ้านเพื่อรับเงินหมื่น ยืนยันไม่ต้องกังวล-มีวิธีป้องกันการทำผิด

'จุลพันธ์' ยืนกระต่ายขาเดียวบอกสุ่มเสี่ยงเท่ากับอยู่ในกรอบ!

'จุลพันธ์' ชี้ ปชช.ลงทะเบียนรับดิจิทัลวอลเล็ต เป็นนิติกรรม-ข้อผูกพันร่วมกัน โต้ กมธ.รู้อยู่แก่ใจ เลี่ยงใช้ 'สุ่มเสี่ยง' ผิดกฎหมาย

กมธ.เสียงข้างน้อยจับไก่รัฐบาลปั้นจีดีพี 'ดิจิทัลวอลเล็ต'

กมธ.เติมงบแจกหมื่นฝั่งเสียงข้างน้อย แฉเอกสาร จาก 'คลัง' ชี้ประเมินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังประเมินใหม่ ทำเศรษฐกิจโต 0.9% ไม่ตรงกับรัฐบาลแถลงจะโต 1.8%