ตามสไตล์! เพื่อไทยเหยียบเรือสองแคมเรื่องนิรโทษกรรม

ตามคาด เพื่อไทยโผล่อยู่ฝั่งนิรโทษฯ 112 แบบมีเงื่อนไข 'เชิดชัย-สมคิด' อ้างปีมหามงคล แต่ 'นพดล อดีตทนายทักษิณ' ค้านสุดตัว 'ก้าวไกล'เสียงแตก 'ทนายแจม' หนุนล้างผิดแบบไม่มีเงื่อนไข สวนทาง 'ชัยธวัช-โรม'

31 ก.ค.2567 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า หลังมีข่าวว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายชูศักดิ์ ศิรินิล จากพรรคเพื่อไทย (พท.) เป็นประธาน จะส่งรายงานผลการศึกษาฯ ของ กมธ. ต่อประธานสภาฯภายในสัปดาห์นี้ โดยมีการเปิดเผยจากนายพงศ์พล ยอดเมืองเจริญ โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตราพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม จากพรรครวมไทยสร้างชาติที่เปิดเผยว่า กมธ.ใช้วิธีบันทึกความเห็นอย่างมีอิสระ ไม่มีการโหวต โดยผลความเห็นล่าสุด เมื่อวันที่ 25 ก.ค.2567 ต่อเรื่อง การนิรโทษกรรม คดี 112 คือ ไม่นิรโทษกรรม 112 จำนวน 13 เสียง, นิรโทษกรรม 112 จำนวน 3 เสียง และนิรโทษกรรม 112 แบบห้ามกระทำผิดซ้ำ จำนวน 12 เสียง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจากการตรวจสอบรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาการตรา พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ เพื่อดูบันทึกความเห็นของ กมธ. โดยเฉพาะจากพรรคเพื่อไทย พรรคแกนนำรัฐบาล ว่ามีท่าทีอย่างไรต่อการนิรโทษกรรมคดี 112 หลังปัจจุบันนายทักษิณ ชินวัตร ตกเป็นจำเลยคดี 112 ที่ศาลอาญา

พบว่า ในส่วนของแนวทางที่ 1 ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหวคือคดีมาตรา 110 และ 112 ปรากฏว่า นายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กรรมาธิการและที่ปรึกษา กมธ.ที่เคยเป็นอดีตทนายความให้กับนายทักษิณ สมัยหนีคดีอยู่ต่างประเทศ ให้ความเห็นว่า “ไม่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 110 และมาตรา 112 เพราะเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและเป็นเรื่องความมั่นคง”

ขณะที่แนวทางที่ 2 เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหวโดยมีเงื่อนไข มีคนจากพรรคเพื่อไทย เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าว 2 คนคือ นายเชิดชัย ตันติศิรินทร์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยและอดีตแนวร่วมเสื้อแดงภาคอีสาน ในฐานะ กมธ. ซึ่ง นพ.เชิดชัยให้ความเห็นว่า คณะกรรมาธิการวิสามัญได้มีความเห็นตรงกันว่า ต้องมี พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ผู้กระทำความผิดในคดีอาญาซึ่งไม่ใช่คดีแพ่ง โดยจำแนกการกระทำเป็นคดีหลัก คดีรอง และคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง โดยใช้วิธีการนิรโทษกรรมแบบผสมผสาน ให้มีการนิรโทษกรรมคดีความผิดที่ชัดเจนแบบอัตโนมัติและให้มีคณะกรรมการนิรโทษกรรมพิจารณาวินิจฉัยคดีที่มีการอุทธรณ์ และคดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมืองแบบมีเงื่อนไข ซึ่งจากการสอบถามผู้ที่จะก่อเหตุประท้วงก็เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมลักษณะเช่นนี้ จึงควรหาแนวทางที่จะทำให้เยาวชนที่ถูกดำเนินคดีกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ อีกทั้งเมื่อการ ดำเนินคดีกับเยาวชนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนก็ต้องเปิดโอกาสให้มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดที่เป็นเยาวชน

“การนิรโทษกรรมผู้กระทำ ความผิดตามมาตรานี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงหรือลบล้างมาตรา 112 รวมถึงในช่วงนี้เป็นเวลา ที่เหมาะสมที่จะมีการนิรโทษกรรม จึงขอยืนยังความเห็นเดิมว่าให้มีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิด ตามมาตรานี้แบบมีเงื่อนไขตามรูปแบบที่เสนอ และยืนยันให้ใช้คำว่า “คดีที่มีความอ่อนไหวทางการเมือง” ซึ่งจะรวมถึงคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ด้วย แต่การจะกำหนดเงื่อนไขในการ นิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามมาตรานี้อย่างไร ควรพิจารณาจากการกระทำความผิดเป็นรายบุคคล นอกจากนี้ ปี 2567 เป็นปีมหามงคลจึงเหมาะสมที่จะให้มีการนิรโทษกรรมในปีนี้ เพื่อให้เกิดความสงบ ในประเทศไทยซึ่งอาจจะเปลี่ยนมุมมองของเยาวชนบางส่วนได้”

และอีกคนหนึ่งคือ นายสมคิด เชื้อคง อดีต สส.อุบลราชธานี เพื่อไทย รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง และเคยเป็นแกนนำ สส.เพื่อไทยปี 2556 ในการออก พ.ร.บ.นิรโทษกรรมที่เรียกกันว่านิรโทษกรรมฉบับสุดซอย ให้ความเห็นไว้ว่า ควรมีการนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แบบมีเงื่อนไข เพราะผู้ที่ถูกดำเนินคดีในแต่ละคดีอาจกระทำความผิดแตกต่างกัน บางคดีเป็นการจงใจ กระทำความผิด และบางคดีไม่ใช่การจงใจกระทำความผิด จึงสามารถแยกนิรโทษกรรมผู้กระทำความผิด ในคดีเหล่านั้นแบบมีเงื่อนไขได้

ขณะที่ในส่วนของ กมธ.จากพรรคก้าวไกลเอง โดยเฉพาะที่เป็น สส. ตรวจสอบแล้วพบว่า มีความคิดเห็นที่ต่างกันอยู่เช่นกัน โดยในกลุ่มกมธ.ที่เห็นด้วยกับการให้นิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหว (มาตรา 110 และ 112) มีนายชัยธวัช ตุลาธน หัวหน้าพรรคกับนายรังสิมันต์ โรม เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมแบบมีเงื่อนไข เช่นนายชัยธวัชให้ความเห็นว่า การนิรโทษกรรมแบบมีเงื่อนไขโดยกำหนดเงื่อนไขและมาตรการป้องกันการกระทำผิดซ้ำที่เหมาะสม เช่น การไม่กระทำผิดซ้ำภายในระยะเวลาที่กำหนดสามปีหรือห้าปี โดยระบุตอนหนึ่งว่า

“การนิรโทษกรรมจะช่วยคลี่คลายความขัดแย้งทางการเมืองในปัจจุบัน และจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนกับสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าแม้ไม่ได้เป็นความขัดแย้งระหว่างประชาชนกับองค์พระมหากษัตริย์หรือสถาบันพระมหากษัตริย์โดยตรง แต่มีความเห็นทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ ดังนั้น การนิรโทษกรรมจะช่วยคลี่คลายความขัดแย้งในปัจจุบัน และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เพิ่มความศรัทธาใน เรื่องสถานะความเป็นกลางทางการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ และลดเงื่อนไขที่จะนำเอาประเด็นเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์เข้าไปเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมือง”

ส่วน ส.ส.-กมธ.จากพรรคก้าวไกลที่เห็นด้วยกับการนิรโทษกรรมคดีที่มีความอ่อนไหว อย่างคดี 112 โดยไม่มีเงื่อนไข คือ น.ส.ศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ ส.ส.กทม. หรือทนายแจม อดีตทนายความคดี 112 ของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กูรูอัจฉริยะฟันธงปมเรื่อง 'ต้นอ้อ' แค่สร้างคอนเทนต์

'อัจฉริยะ'โว รู้หมดใครเป็นอย่างไร หลัง 'ต้นอ้อ เป็นหนึ่ง' ถูกแฉแอบอ้าง 'รองเลขาฯนายกฯ' อัดเบื้องหลังสกปรกทุกคน อวยตัวเองทำงาน 15 ปี ไม่มีคดีฉ้อโกง บอกสมัยนี้การสร้างคอนเทนต์ ตีฟูกระแสจนเวอร์เกิน

รองเลขาฯนายกฯ โต้ข่าวถูกแอบอ้างชื่อ สั่งทีมกฎหมายจัดการ ยกเลิกบัตรทีมงาน 14 คน

นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง และอดีต ส.ส.อุบลราชธานี พรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า

'ทะลุฟ้า' เดินสายฯ อ้าง 'บุ้ง-สำนึกความเป็นมนุษย์' ปล่อยผี 112

'ทะลุฟ้า' บุกสภาฯ เรียกร้องนิรโทษกรรมรวมความผิด ม.112-ชะลอคดีความ -ปล่อยนักโทษการเมืองที่อยู่ในเรือนจำ ด้านชูศักดิ์ย้ำยังไม่ได้มีมติปฏิเสธ หรือไม่รับข้อเสนอ แต่อยู่ระหว่างการหารือ