'อ๋อง' ออกอาการ! อาจหลุดเก้าอี้รองประธานสภาฯ

30 ก.ค. 2567 - ที่รัฐสภา นายปดิพัทธ์ สันติภาดา รองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดวินิจฉัยคดียุบพรรคก้าวไกล ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ มีการเตรียมพร้อมอย่างไร เนื่องจากมีรายชื่อเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคชุดที่จะถูกตัดสิทธิ์ ว่า ในวันที่ 7 สิงหาคม มีความเป็นไปได้หลายทาง เราคิดถึงความเป็นไปได้ และข้อจำกัดก่อน ตอนนี้พยายามดูว่างานในความรับผิดชอบทั้งหมด มีอะไรที่ทำได้บ้างทั้งก่อนและหลัง วันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งก็ต้องพยายามแยกส่วน แต่ถ้าถามว่า จะหยุดการทำงานของเราในระยะต่อไปได้หรือไม่ ก็ไม่ เพราะงานดังกล่าว เราได้ดำเนินการไปเรียบร้อยแล้ว ไม่ได้มีการเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษ

ส่วนได้มีการพูดคุย หรือให้กำลังใจกับเพื่อน สส. ในพรรคก้าวไกลหรือไม่นั้น นายปดิพัทธ์กล่าวว่า คุยกันในฐานะเพื่อนแบบไม่มีพรรค เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ไม่มีใครหวั่นเกรงอะไรเลย ทุกคนยังควรทำงานอย่างเต็มที่

เมื่อถามว่า จะมีโอกาสไปร่วมงานในวันที่ 7 สิงหาคม ซึ่งพรรคก้าวไกลจะมีการจัดกิจกรรมที่ที่ทำการพรรคด้วยหรือไม่ นายปดิพัทธ์กล่าวว่า ตนไม่ทราบตารางงานนั่งบัลลังก์ งานหลักของตนคือการรับผิดชอบการประชุม ถ้าเพื่อนๆ ไปรวมตัวกันที่ไหน ก็ค่อยติดตามข่าวกัน

ส่วนการอ่านคำวินิจฉัย จะกระทบต่อตำแหน่งรองประธานสภาคนที่ 1 หรือไม่ นายปดิพัทธ์กล่าวว่า แน่นอนคำวินิจฉัย ที่หากยุบพรรคแล้ว ตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรคด้วย คุณสมบัติของตำแหน่งรองประธานสภา ระบุว่า ต้องเป็น สส. หากสภาพ สส.สิ้น การทำงานของรองประธานสภาก็สิ้นเช่นเดียวกัน

เมื่อถามว่า มองอย่างไรถึงกระแสข่าวว่าพรรคร่วมรัฐบาลอยากได้ตำแหน่งดังกล่าว ซึ่งหากนายปดิพัทธ์หลุด ก็อาจจะมีคนเสนอชื่ออื่นที่ไม่ได้มาจากพรรคก้าวไกล นายปดิพัทธ์กล่าวว่า ก็เป็นสิทธิ์โดยชอบธรรมของสภา เพราะตำแหน่งในสภาทั้งหมด มาจากการเสนอชื่อโดย สส. แต่ก็คิดว่าตำแหน่งนี้คงไม่มีใครอยากได้มาก หรือถ้าได้ไปแล้วจะเกิดประโยชน์โทษผลทางการเมืองอะไรบ้าง ขออย่างเดียวใครก็ตามที่มาแทนตนหากเห็นด้วยกับแนวทางที่ตนพยายามพัฒนาสภาอยู่ ก็ให้พัฒนาต่อ

ส่วนตำแหน่งที่ได้จากการทำเอ็มโอยูระหว่างพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยนั้น ตำแหน่งนี้ยังควรจะเป็นของพรรคก้าวไกลอยู่หรือไม่ ไม่แน่ใจว่าเอ็มโอยูนั้น จะมีสาระอยู่หรือไม่ แน่นอนว่าเรายังคาดหวังการรักษาคำพูด เพราะประชาชนเจ็บปวดกับการเสียคำพูดมาหลายรอบแล้ว

“แต่แน่นอนว่า เอ็มโอยูก็คือเอ็มโอยู เราเห็นการฉีกมาแล้ว ไม่ได้คาดหวังมาก แต่ถ้าเราเห็นถึงหลักการที่ควรจะเป็น เช่น การมีรองประธาน 1 ใน 3 ที่มาจากฝ่ายค้าน ทำให้เกิดความสมดุลในความเป็นกลาง ไม่ใช่เป็นกลางในเชิงบุคคล แต่เป็นความเป็นกลางในเชิงสถาบัน ซึ่งอาจเป็นออฟชั่นที่ดี ที่ทางวิปรัฐบาล และวิปฝ่ายค้าน ได้คุยกัน“

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง ปมกล่าวหา 'กกต.' ชงยุบก้าวไกล

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้องกรณีที่ กรณี นายธรณิศ มั่นศรี (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 2

ยกคำร้อง ปมร้องปธ.สภาฯ กราบบังคมทูลแต่งตั้งนายกฯ ไม่ตรวจคุณสมบัติ

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ สั่งไม่รับคำร้อง กรณีที่นายกิตติ แสงประดิษฐ์ (ผู้ร้อง)​ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ว่าการที่ประ

ภูมิใจไทย เฮ! รอดคดียุบพรรค

นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วย พ.ต.ท. ระพีพงษ์ จิรพัฒนาลักษณ์ รองเลขาธิการ กกต. , น.ส.โชติกา แก้วผล ผู้อำนวยการ กกต.ประจำจังหวัดปราจีนบุรี และคณะ ร่วมสังเกตการณ์การรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ.ปราจีนบุรีและนายก อบจ.จังหวัดปราจีนบุรี ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี

เหลียวหลังแลหน้า การเมืองไทย จาก 2567 สู่ 2568 ส่องจุดจบ ระบอบทักษิณภาค 2

รายการ"ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด"สัมภาษณ์ นักวิชาการ-นักการเมือง สองคน เพื่อมา"เหลียวหลังการเมืองไทยปี 2567 และแลไปข้างหน้า

เปิด 'คำสั่งศาลรธน.' ตีตกคำร้อง 'วัฒนา อัศวเหม' กรณีคำพิพากษาคดีทุจริตคลองด่าน

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญที่ ๗๐/๒๕๖๗ เรื่อง นายวัฒนา อัศวเหม (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย