‘ภูมิธรรม’ แจงไม่ได้ยกเลิกไร่ละพัน พร้อมดึงกลับมาใช้ถ้าราคาข้าวตก ย้ำคนละส่วนกับปุ๋ยคนละครึ่ง ชี้ สส. รุมค้าน เหตุไม่เข้าใจถ่องแท้ไปฟังเกษตรกรมา
19 ก.ค. 2567 – ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี สส.พรรคภูมิใจไทย ระบุเกษตรกรเรียกร้องขอนำค่าชดเชยไร่ละ 1 พันบาท กลับมา และเอาปุ๋ยคนละครึ่งคืนไป ว่า เรื่องนี้ต้องแยกเป็น 2 ประเด็น เรื่องของการชดเชยไร่ละ 1 พันบาทยังมีอยู่ ไม่มีอะไรมาแทนอะไรได้ เพราะไร่ละ 1 พันบาท 20 ไร่ 2 หมื่นบาทนั้น เป็นมาตรการที่รัฐบาลเอาไว้ใช้สำหรับการแทรกแซงหรือช่วยเหลือเกษตรกรตอนที่ราคาข้าวตกและเกษตรกรขาดทุน ตราบใดที่เกษตรกรขาดทุนโครงการนี้ยังสามารถกลับมาใช้ได้อยู่ และถ้าเกษตรกรเสียหายมากกว่านี้ การช่วยเหลืออาจจะเพิ่มมากขึ้นก็ได้ ยืนยันว่าโครงการนี้ยังไม่ได้ยกเลิก
ส่วนเรื่องปุ๋ยคนละครึ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ยื่นเรื่องมาที่ตนในฐานะที่กำกับดูแล ซึ่งคิดกันมานานแล้วว่าทำอย่างไรถึงจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะข้าวถือว่าเป็นสินค้าสำคัญของเรา และเราพยายามทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง การให้ปุ๋ยคนละครึ่งถือเป็นการลดต้นทุนการผลิต เพราะที่ผ่านเกษตรกรที่ต้องการใช้ปุ๋ยไปซื้อปุ๋ยมาใช้ก่อนแล้วพอได้ข้าวค่อยเอาเงินไปใช้ ไม่ต่างอะไรกับการกู้นอกระบบ ถือว่าเกษตรกรยังมีความยากลำบากอยู่ รัฐบาลจึงได้ดำเนินการโครงการนี้เพื่อที่จะลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกร สามารถซื้อปุ๋ยในราคาถูก
นายภูมิธรรม กล่าวว่า สำหรับเกษตรกรที่ไม่มีเงิน ได้ขอให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) พิจารณาให้ออกเงินกู้ให้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ ตรงนี้ถือว่าเป็นเรื่องใหม่เรื่องหนึ่งที่จะมาช่วยลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร และหากกระทำแบบนี้แล้วราคาพืชผลยังไม่ดีอีก เราก็ต้องนำโครงการไร่ละ 1 พันบาทมาพิจารณา ฉะนั้นไม่ใช่ว่าเอาอะไรมาแทนอะไร อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าเสียงทักท้วงยังมีอยู่ แต่เสียงที่สนับสนุนยังมีพอสมควร
“จริงๆ มีเสียงทักท้วงอยู่ว่ามันไม่ทันแล้ว ซึ่งความจริงเรื่องการใช้ปุ๋ยสามารถใช้ได้ตลอดทั้งปี เพราะมีทั้งข้าวนาปี นาปรัง เราพยายามเริ่ม พยายามที่จะให้ทันก่อนฤดูการผลิต แต่บังเอิญว่ายังติดขัด ความไม่เข้าใจในเรื่องนี้ มี สส. หลายคน หลายพรรค ที่ไม่เข้าใจและไม่ยอม ไม่สะดวกใจที่จะให้ทำ ส่วนใหญ่เป็นเพราะฟังจากเกษตรกรมา แต่ว่าที่ผ่านมายังไม่มีการช่วยกันชี้แจงให้เกษตรกรเข้าใจ เพราะไม่เข้าใจเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ ฉะนั้น เชื่อว่าเรื่องนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาไปได้ ไม่น่ามีปัญหา เพราะโครงการนี้ทำตั้งแต่ตอนนี้ถึง พ.ค. 68 ที่บอกว่าไม่ทันแล้วนั้น คงไม่น่าจะใช่ ยังใช้ได้อยู่ มีหลายคนเสนอให้ไปใช้กับพืชผักผลไม้ด้วยซ้ำไป แต่เราคิดว่าทำโปรเจกต์นี้ก่อน อยากฝากพี่น้องชาวนาและเกษตรกรต่างๆ ให้ทราบว่าไม่ต้องกังวลใจเรื่องเงินชดเชยไร่ละ 1 พันบาท เพราะเรื่องนี้อยู่ที่ปัญหาและวิกฤติที่จะเกิดขึ้น รัฐบาลพร้อมช่วยเหลืออยู่แล้ว ซึ่งปุ๋ยคนละครึ่งเป็นเครื่องมือที่รัฐบาลจะนำมาช่วยลดต้นทุนการผลิตได้เท่านั้นเอง”นายภูมิธรรม ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
109 นักวิชาการ กลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ออกแถลงการณ์คัดค้าน รัฐบาลครอบงำแบงก์ชาติ
109 นักวิชาการ และกลุ่มเศรษฐศาสตร์เพื่อสังคม ออกแถลงการณ์ห่วงใยธนาคารแห่งประเทศไทย ถูกแทรกแซงจากกลุ่มการเ
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
“รมว.นฤมล”เป็นปธ.พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ก.เกษตรและสหกรณ์ ประจําปี 2567 ณ วัดอมรินทราราม วรวิหาร กทม.
ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำปี 2567 โดยมี นายอิทธิ ศิริลัทธยากร
ครม. ไฟเขียวหลักเกณฑ์เร่งรัดแก้ปัญหาสัญชาติกว่า 4.8 แสนคน
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนออนุมัติหลักเกณฑ์ เพื่อเร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาสัญชาติ, สถานะของกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย
'ภูมิธรรม' ชี้ แม้คดี 'ดิไอคอน กรุ๊ป' อยู่ในมือดีเอสไอ แต่เป็นผลงานร่วม สตช.-ปปง.
ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงความคืบ
'สส.ส้ม' จี้ 'รัฐบาล' ตอบให้ชัดทำไมกลับลำชัก 'นิรโทษกรรม ม.112' ออก
นางสาวศศินันท์ ธรรมนิฐินันท์ สส.กทม. พรรคประชาชน ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการตรา