17 ก.ค.2567 - ที่รัฐสภา มีการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอวงเงินจำนวนไม่เกิน 122,000 ล้านบาท
เวลา 11.45 น. นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล สส.แพร่ พรรคเพื่อไทย (พท.) อภิปรายว่า โครงการดิจิทัลวอลเล็ตเป็นนวัตกรรมทางการเงินที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจให้หมุนเวียนสามารถสร้างรายได้ให้กับประชาชนได้ ซึ่งแนวคิดนี้ไม่เหมือนกับแนวคิดรัฐสวัสดิการที่เข้ามาเป็นรัฐบาลแล้วต้องหาเงินมาแจก แต่ไม่ได้ทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นเหมือนกับที่พรรค พท. กำลังดำเนินการโครงการนี้ และคนที่อภิปรายว่าโครงการนี้จะทำได้อย่างไร จะเอาเงินมาจากไหนนั้น ต้องมาศึกษาว่ารัฐบาลจะทำได้อย่างไร ไม่เช่นนั้นก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะไปพูดนโยบายเรื่องรัฐสวัสดิการที่ใช้เม็ดเงินมากกว่านี้ ย้ำว่ารัฐบาลมีเป้าหมายและแผนกำกับในการดำเนินโครงการดังกล่าว
นายวรวัจน์ กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม สมัยที่พรรคไทยรักไทย โดยการนำของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลก็ได้มีการนำนวัตกรรมทางด้านการเงินมาใช้ โดยบอกว่าจะต้องมีรดน้ำต้นไม้ที่รากคือการใส่เงินไปสู่ประชาชนโดยผ่านหน่วยงานของรัฐให้น้อยที่สุด ซึ่งก็มีการพูดถึงโครงการกองทุนหมู่บ้าน กองทุนละ 1 ล้านบาทก็มีแต่เสียงคัดค้านว่าจะนำเงินมาจากไหน เป็นไปไม่ได้ แต่พรรคไทยรักไทยก็สำเร็จจนเป็นหนึ่งในนโยบายที่ครองใจประชาชนมาจนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้ ยังไม่โครงการอื่นๆ อีก เช่น โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค, โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
นายวรวัจน์ กล่าวด้วยว่า โครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะใช้เม็ดเงินผ่านแอปพลิเคชั่นทางรัฐ ซึ่งจะเป็นการใส่เงินให้ประชาชนที่มีอายุ 16 ปีขึ้นไปจำนวน 10,000 บาท ขณะเดียวกันเมื่อประชาชนใช้จ่ายเงินออกไปแล้ว คนอื่นก็จะนำเงินมาจ่ายให้พวกเขาเช่นกัน ไม่ใช่การจ่ายขาด เพราะเป็นการหมุนเวียนมาจากทุกที่ เขาจึงเป็นทั้งผู้จ่ายและผู้รับ ทำให้เงินหมุนอย่างเป็นระบบทำให้รัฐบาลมีรายได้จากการเก็บภาษีมากขึ้น ไม่เหมือนแนวคิดเรื่องรัฐสวัสดิการที่คิดแล้วอย่างไรก็จ่ายไม่พอและต้องจ่ายทุกปี จ่ายมากกว่านี้ด้วยซ้ำ
นายวรวัจน์ กล่าวอีกว่า 1 ปีที่พรรค พท.เข้ามาบริหารประเทศ เราเห็นปัญหาด้านเศรษฐกิจมากมาย จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีการกระตุ้นเศรษฐกิจให้หมุนอย่างเป็นระบบ เพราะในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา คนไทยมีรายได้น้อยลงแต่มีหนี้สินเพิ่มเกือบ 2 เท่า ทำให้ประชาชนใช้จ่ายใช้สอยไม่ได้ ซึ่งที่ผ่านมาพรรคไทยรักไทยเคยทำสำเร็จมาแล้ว และนี่จะเป็นอีกครั้งที่พรรค พท.จะทำให้สำเร็จเพื่อแก้ปัญหาให้พี่น้องประชาชน ย้ำว่าโครงการดิจิทัลวอลเล็ตจะเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถนำเงินที่ได้รับนำมารวมกันลงทุนสร้างธุรกิจหรืออุตสาหกรรมใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นได้
“ฉะนั้น จึงอยากให้สส.ทุกคนที่ประชาชนไว้ใจมาได้มองเห็นประโยชน์จากการใช้จ่ายงบประมาณของรัฐบาลในการดำเนินโครงการดิจิทัลวอลเล็ต และได้โปรดคำนึงถึงปัญหาหนี้ครัวเรือนและวิกฤตเศรษฐกิจที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน ในฐานะที่พวกเราเป็นสส.ที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน จึงอยากให้ทุกท่านร่วมกันสนับสนุนการจัดทำงบประมาณเพิ่มเติมของรัฐบาลในครั้งนี้ ปล่อยวางความคิดที่คัดค้าน แล้วคิดถึงความลำบากของประชาชนที่รอเม็ดเงินจำนวนนี้อยู่ รวมถึงขอให้กำลังใจนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่ตั้งใจทำโครงการนี้ แม้จะได้รับแรงกระแทกและเสียงกล่าวถึง แต่ท่านก็ยังตั้งใจ ซึ่งเชื่อว่าสิ่งที่ท่านตั้งใจจะเกิดประโยชน์กับประชาชน และสร้างความมั่นคงให้ประเทศชาติในอนาคต” นายวรวัจน์ กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
นายกฯ ยิ้มรับถูกถามศาลรธน. ตีตกคำร้องดิจิทัลวอลเล็ต ย้อนถามสื่อต้องหน้าบึ้งเหรอ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจเป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการติดตามเร่งรัดการบำบัดรักษา ฟื้นฟูสภาพทางสังคม ป้องกัน และปราบปรามยาเสพติด ครั้งที่ 2/2567 ที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.)
'แจกเงินหมื่น' เฟส 3 ไม่ใช้แอปเป๋าตัง กำลังจัดซื้อจัดจ้างพัฒนาระบบ คาดเสร็จ มี.ค.68
นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงความคืบหน้าการจัดทำแอปพลิเคชันที่ใช้ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ เงิน 10,000 บาท เฟส 3 หลัง น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกมนตรี
'สนธิญา' ยื่นหลักฐานเพิ่ม ร้องศาลรธน. สั่ง 'อิ๊งค์' หยุดปฏิบัติหน้าที่ แจกเงินหมื่นไม่ตรงปก
นายสนธิญา สวัสดี นำเอกสารหลักฐานไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยรัฐบาลดำเนินโครงการแจกเงินหมื่นแตกต่างจากนโยบายดิจิตอลวอลเล็ต 10,000 บาท
รัฐบาลโต้ถังแตก ขึ้นภาษีแวต 15% โยนคลังสรุปให้ชัดก่อน
'ภูมิธรรม' บอกรอคลังสรุปให้ชัดเจน ปมขึ้นภาษีแวต 15% ปัดถังแตกจากโครงการแจกหมื่น ยันทำให้ประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุด
รัฐบาล ยกโพลสนง.สถิติแห่งชาติ ชี้ประชาชนร้อยละ 87 พอใจ 'แจกเงินหมื่น'
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ระหว่างวันที่ 4 – 22 พ.ย.67 ดังนี้ 1.การสำรวจความต้องการของประชาชน พ.ศ. 2568