'อังคณา' วอน สว.สายสีน้ำเงิน เปิดโอกาส สว.เสียงส่วนน้อยได้มีบทบาทในสภาฯ

'อังคณา' บอก ยังไม่มีใครติดต่อขอคะแนนเลือก 'ปธ.วุฒิฯ' ย้ำจุดยืน อยากเห็นพลเรือนผู้หญิงได้รับตำแหน่ง รับ รู้จักส่วนตัว 'กลุ่ม สว.นันทนา' เหตุเคยทำงานร่วมกัน

12 ก.ค.2567 - ที่รัฐสภา นางอังคณา นีละไพจิตร สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการเข้ารายงานตัวต่อสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ถึงกระแสข่าวการเลือกประธานวุฒิสภา ขณะนี้มีใครติดต่อมาขอคะแนนแล้วหรือไม่ ว่า ไม่มีเลย แต่โดยส่วนตัวอยากให้มีประธาน หรือรองประธานเป็นผู้หญิง 1 คน หากมองในเรื่องความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางเพศ เพราะสภาผู้แทนราษฎร ก็ไม่มีผู้หญิง

ส่วนจะเสนอชื่อตัวเองหรือไม่นั้น ตนเองมองว่าจริงๆ แล้วจะเป็นใครก็ได้ ทุกคนที่เข้ามาก็มีศักยภาพจะทำหน้าที่ได้ ถ้าหากมีคนเสนอชื่อตนเองก็ทำได้

นางอังคณา ยังกล่าวถึง สว.ในกลุ่มของนางนันทนา นันทวโรภาส สว. ที่มีการเชื่อมโยงมาถึงชื่อตนเอง ว่า ในกลุ่มนั้น เป็นเพื่อนกันหลายคน เราเคยทำงานภาคประชาสังคม หรืออยู่ในวงการเดียวกันมาก่อน เพราะฉะนั้น ด้วยความสัมพันธ์ส่วนตัวรู้จักกันมาก่อน มีประมาณ 20 กว่าคน ตนเองก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งในกลุ่มยังไม่มีการพูดคุยถึงชื่อประธานในใจ แต่อยากให้เป็นพลเรือน และเป็นผู้หญิง

ส่วนกรณีรายชื่อที่ปรากฏออกมาในการชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภา เป็นคนใกล้ชิดกับพรรคการเมืองหนึ่ง หรือเป็น สว. สายสีน้ำเงินนั้น นางอังคณา ระบุว่า จากคนที่ไม่ได้มีกลุ่ม หรือใครหนุนหลังเข้ามา อยากขอโอกาสจากคนที่เป็นเสียงส่วนน้อยเข้ามามีบทบาท ซึ่งก็ต้องดูว่ากลุ่มก้อนใหญ่จะให้โอกาสคนที่เป็นเสียงน้อยมากแค่ไหน

เมื่อถามว่าหากประธานมีตำแหน่งเป็นพลเอกจะเป็นอย่างไร นางอังคณา มองว่า เราไม่ค่อยเห็นพลเรือนเข้ามาเป็นประธานสภาฯ หรือเป็นประธานวุฒิสภา ในประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เราไม่ค่อยเห็นหน่วยงานความมั่นคงทั้งในอดีต หรือปฏิบัติหน้าที่อยู่มาเป็นประธาน ตนเองจึงอยากเห็นพลเรือนมากกว่า

นางอังคณา ยืนยันว่า แม้จะมีการแบ่งกลุ่มกัน แต่จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน ขอให้กลุ่มใหญ่ เปิดใจรับฟังเสียงคนเสียงส่วนน้อยด้วย เพราะตนเองก็เหมือนคนเสียงส่วนน้อย ถ้ามีการทำงานแบบประชาธิปไตย ตนเองก็เคารพเสียงส่วนใหญ่ แต่อยากเห็นเสียงส่วนใหญ่มีมติแบบมีเหตุมีผล มีความชอบธรรมด้วย

นางอังคณา ยังกล่าวถึงกรณีที่คนที่เป็นตัวเต็งประธานวุฒิสภา ที่มีความใกล้ชิดกับพรรคการเมือง จะสะท้อนว่าพรรคการเมืองเข้ามาครอบงำสภาสูงหรือไม่ ว่า ทำให้คิดได้ คนที่เคยใกล้ชิดสนิทกับพรรคการเมือง ทำให้ชาวบ้านอดคิดไม่ได้ ว่ามีความเชื่อมโยง หรืออาจมีความเชื่อมโยงในอนาคต หากพูดอย่างมีความทะเยอทะยาน คนกลุ่มเล็กๆ หลายคน ก็มีศักยภาพที่ทำงานได้ หากเปิดโอกาสให้

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดี! 'อนุทิน' ชม สว.ใหม่ ขอเชียร์ในใจชิงประธานวุฒิสภา

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวถึงกรณีโฉมหน้าของวุฒิสภาหรือสว.ชุดใหม่ มีความรู้สึกอย่างไรบ้าง ว่า “ ดี ”ส่วนจะให้วิจารณ์ คงเป็นไปไม่ได้ อยู่สูงกว่าตน เพราะวุฒิสภาเค้าเรียกว่าสภาสูง ของพวกผมเป็นสส.

ถูกกระทำมาก่อน! 'ธรรมนัส' แนะ 'หมอเกศ' อย่าตอบโต้ปมวุฒิ ป.เอก ลั่นต้องให้อาจารย์รับผิดชอบ

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ และเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีวุฒิการศึกษาปริญญาเอกของ พญ.เกศกมล เปลี่ยนสมัย สมาชิกวุฒิสภา (สว.) จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียยูนิเวอร์ซิตี้ (California University)

'ธนาธร' ขีดเส้นประธานวุฒิฯ  ไม่สองมาตรฐาน หนีปม 'หมอเกศ'  

'ธนาธร' พอใจ ผลเลือก 'สว.' ฝากช่วยผลักดันแก้ไขร่าง รธน. ย้ำ แต่งตั้งองค์กรอิสระ มีความสำคัญมาก ชี้ 'ประธานวุฒิฯ' ต้องเป็นกลาง-เปิดพิ้นที่เท่าเทียม

สว.ภาคธุรกิจ ขอทุกขั้วสลายสีเพื่อให้วุฒิสง่างาม รับมีขอเสียงหนุน ’นันทนา-บุญส่ง’

‘สว.ปฎิมา’แนะทุกขั้วสลายสี เพื่อให้วุฒิสภาสง่างาม รับกลุ่มพันธุ์ใหม่ ขอเสียงหนุนดัน ‘นันทนา-บุญส่ง’ ชิงรองประธานวุฒิสภาจริง

อังคณา สว. 2567 ภารกิจ-สิ่งท้าทาย สภาสูง กับโมเดลข้อเสนอ สภาเดี่ยว

การทำงานของสมาชิกวุฒิสภาชุดล่าสุด ที่เรียกกันว่า "สว. 2567" กำลังจะเริ่มต้นขึ้นหลังจากนี้ คาดหมายกันว่า การนัดประชุมวุฒิสภาเพื่อเลือก

สว. 2567 สารพัดขั้วสี รุกชิงเก้าอี้ใหญ่สภาสูง หึ่งล็อบบี้จัดโปรดูแลรายเดือน!

วันจันทร์ที่ 15 ก.ค. จะเป็นวันสุดท้ายที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาเปิดห้องให้สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ชุดใหม่ 200 คน เข้ารายงานตัวก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่