'ปิยบุตร' หนุน 'กกต.' เร่งประกาศรับรองผล 'เลือก สว.' ก่อนค่อยสอยทีหลัง

แฟ้มภาพ

3 ก.ค.2567 - ที่รัฐสภา นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวถึงการเลือก สว.ว่า ผลที่ออกมาแปลกประหลาดมาก ซึ่งหากมีปัญหาเช่นนี้ก็ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ที่อยากได้ สว. ที่มาจากหลากหลายอาชีพ ก็ถึงเวลาที่ควรคิดทบทวนว่าควรออกแบบที่มา สว.อย่างไร และเป็นไปได้หรือไม่ ที่ควรจะเหลือสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อเลือกมาแล้ว และแม้จะมีการร้องเรียนเรื่องคุณสมบัติจำนวนมาก แต่ก็เป็นเรื่องของตัวบุคคล ดังนั้น การที่จะนำไปสู่โมฆะทั้งระบบคงเป็นไปไม่ได้ "ใครที่คิดฝันว่า อยากให้ สว. 250 คน รักษาการไปเรื่อยๆ คิดว่าเป็นการฝันเกินไป"

นายปิยบุตร เชื่อว่า อีกไม่นานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) คงจะรับรอง และให้ สว.ชุดใหม่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งส่วนตัวก็มองว่า ควรรับรองก่อน แล้วค่อยสอยทีหลัง เพราะแม้ประกาศผลไปแล้ว ก็ยังมีช่องทางตรวจสอบได้ภายหลัง โดยเฉพาะกรณีคุณสมบัติต้องห้าม ก็ร้องไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ และถ้ามีการทุจริตก็ไปร้องที่ศาลฎีกา ดังนั้น ไม่ควรปล่อยให้การเมืองสะดุด ควรตรวจสอบเป็นรายบุคคล

ส่วนเมื่อมี สว.แล้ว ควรจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเรื่องที่มาของ สว. หรือไม่ นายปิยบุตร กล่าวว่า การจะเปลี่ยนที่มาของ สว. หรือยกเลิกการมี สว.จะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยต้องอาศัยเสียง สว. ในการโหวต ซึ่งอาจจะเป็นปัญหา และคงต้องไปหวังที่การยกร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ที่ให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เข้ามา แต่ตอนนี้ก็ต้องรณรงค์ทางความคิดกันไปก่อน ว่า ถ้ายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะเปลี่ยนที่มาของ สว. หรือจะยกเลิกไปเลย แต่รอบนี้เมื่อเลือกมาแล้ว ก็ต้องเดินหน้าต่อ

นายปิยะบุตร ย้ำว่า ตนมีจุดยืนมาตลอดว่า ประเทศไทยถึงเวลาแล้ว ที่ควรจะมีสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียว เพราะการตรวจสอบถ่วงดุลสภาผู้แทนราษฎรสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเป็นกลไกของการแบ่งสรรปันส่วน และการคัดเลือกองค์กรอิสระที่ยุติธรรมกับทุกฝ่าย โดยให้แต่ละฝ่ายเสนอมาด้วยจำนวนที่เท่าเทียมกัน ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล แล้วมาหาข้อยุติร่วมกันด้วยคะแนนเสียงข้างมาก เพราะการทำเช่นนี้ จะไม่มีใครยึดองค์กรอิสระได้

ในขณะเดียวกัน ก็มีคณะกรรมาธิการวิสามัญที่สามารถเชิญคนนอกเข้ามาร่วมพิจารณาเรื่องสำคัญๆ ได้ จึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ควรจะยกเลิก สว. และมีสภาเดี่ยว เพราะเราเคยทดลองมี สว.มา 90 กว่าปีแล้ว ตั้งแต่ ปี 2475 ทั้งการแต่งตั้ง การเลือกตั้ง และการคัดสรร แต่ก็ไม่ตอบโจทย์ จึงควรคิดทบทวนว่าเราควรกลับมาใช้สภาเดี่ยว เหมือนกับหลายประเทศ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นันทนา' คึก! ลั่นปฏิบัติการ สว.เล็กเปลี่ยนสภา

น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในฐานะแกนนำสว.พันธุ์ใหม่ ซึ่งถูกเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "ปฏิ

เบื้องหลังจัดโผสภาสูง บ้านใหญ่บุรีรัมย์-สว.สีน้ำเงิน ป้องกันแรงต้านกินรวบไม่แบ่งเพื่อน  

เบื้องหลังการทำโผดังกล่าว เป็นที่รู้กันดีว่า โรงแรมพลูแมน ซอยรางน้ำ เป็นเซฟเฮ้าส์ทางการเมืองของ นักการเมือง-กลุ่มการเมือง ที่มีแบนด์พรรคคือสีน้ำเงิน

สว.กลุ่มอิสระ สะกิดจับตาชิง ‘รองปธ.คนที่หนึ่ง’ คาดลงแข่งเยอะแน่

สว.กลุ่มอิสระเผย จุดพีกชิงเก้าอี้ใหญ่สภาสูงคือ รองปธ.คนที่หนึ่ง คาดลงแข่งเยอะ ย้ำ ‘บุญส่ง’ เหมาะนั่งรองปธ.วุฒิฯ ยันเป็นเรื่องปกติหากจะคุยกับกลุ่มสีน้ำเงินก่อนโหวต  

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

เปิดศึกชิงเก้าอี้ ประมุขสภาสูง เสร็จสว.นํ้าเงิน

ฝุ่นตลบ! ศึกชิงเก้าอี้ประธานสภาสูง ล็อบบี้กันเดือด "เทวฤทธิ์” ชี้ควรเป็นคนเปิดกว้าง ให้พื้นที่เสียงส่วนน้อย ยันกลุ่มพันธุ์ใหม่ส่งชิงแน่ พร้อมเล็งเก้าอี้ประธาน

'นพดล' รับยังไม่ตัดสินใจชิงรองปธ.วุฒิสภา คนที่ 1 ขอเช็กเสียงหนุนก่อน

นายนพดล อินนา สว. กล่าวถึงกระแสข่าวการเสนอตัวชิงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1ว่า ยังไม่ได้ตัดสินใจ100% จะลงสมัครชิงตำแหน่งหรือไม่ ขอเวลาคิดอีก1-2วัน ต้องรอดูจะมีเสียงสนับสนุนจากเพื่อนสว.มากน้อยแค่ไหน