โฆษกก้าวไกล ชี้บทพิสูจน์ผลงาน สว.ชุดใหม่ ออกแบบ ส.ส.ร. ต้องมาจากเลือกตั้ง 100%

'พริษฐ์' ชี้ 'กกต.' ต้องประกาศผล 'เลือก สว.' โดยเร็วที่สุด เชื่อ คนออกแบบกระบวนการ ควรเป็น 'ส.ส.ร.' ที่มาจากการเลือกตั้งของ ปชช.

2 ก.ค.2567 - ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า ทุกอย่างเป็นผลลัพธ์กระบวนการเลือก สว.ในรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องสำคัญเฉพาะหน้าคือ ทำอย่างไรให้คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) เร่งตรวจสอบข้อร้องเรียนให้เสร็จโดยเร็วที่สุด จะได้รับรองผลการเลือก สว.โดยเร็ว

เพราะตั้งแต่ก่อนจะเริ่มกระบวนการเลือก สว. ตนในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การพัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ได้เคยชี้ให้เห็นว่า ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ไม่ได้กำหนดไว้ว่า กกต. จะต้องประกาศผลภายในกี่วัน ไม่เหมือนกับการเลือกตั้ง สส. กฎหมายเขียนเพียงแค่ว่า ให้รอไว้ 5 วัน ซึ่งตอนนี้ก็ผ่านมาแล้ว

นายพริษฐ์ กล่าวต่อว่า สว.ชุดใหม่มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ดังนั้น ยิ่งมี สว.ชุดใหม่เข้ามาเร็ว การพูดคุยหารือกันเรื่องการจัดทำรัฐธรรมนูญก็จะรวดเร็วมากขึ้น รวมถึงบทบาทในการรับรองบุคคลในองค์กรอิสระ และการกลั่นกรองกฎหมายต่างๆ ซึ่งพรรคก้าวไกลก็มีกฎหมายหลายฉบับ ที่รอการเสนอ แต่อาจจะถูกมองว่าเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ จึงรอให้ สว.ชุดใหม่เข้ามาทำหน้าที่ก่อน

ส่วนกรอบเวลาในการประกาศผลควรจะเป็นเมื่อไหร่นั้น นายพริษฐ์ กล่าวว่า ควรจะเร็วที่สุด เพราะก่อนหน้าที่จะมีกระบวนการเลือก สว. ตนเองก็เคยขอให้ กกต.รับประกันเวลาในการประกาศผล แต่ที่ผ่านมา กกต.ยังไม่เคยยืนยันต่อสาธารณะว่า จะมีการประกาศผลเมื่อไหร่ และในวันที่ 4 ก.ค.ที่จะถึงนี้ ตนในฐานะประธาน กมธ.ฯ จะเชิญ กกต. เข้ามาชี้แจงด้วยเช่นกัน

นายพริษฐ์ ย้ำว่า หาก กกต.ประกาศผลเร็ว โอกาสที่จะเกิดสุญญากาศทางการเมือง ให้สว.ชุดเดิมรักษาการต่อ ก็จะน้อยลง แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า ตนเองเห็นด้วยกับกฎกติกา สว.ก็ยังมีอำนาจสูง แต่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน แต่ในเมื่อกติกากำหนดมาแบบนี้ และได้ริเริ่มกันมาแล้ว จึงคิดว่า เป็นหน้าที่ของ กกต. ที่จะทำให้การเปลี่ยนผ่านระหว่าง สว.ชุดเก่า และ สว.ชุดใหม่ เป็นไปอย่างเร็วที่สุด

ส่วนที่มีการตังข้อสังเกตว่า สว.ชุดใหม่ อาจจะมีการจัดตั้งโดยพรรคการเมือง หรือบ้านใหญ่ นายพริษฐ์ คิดว่า ข้อสังเกตของประชาชนก็เป็นผลลัพธ์ของการติกาครั้งนี้ จึงควรมองไปข้างหน้าดีกว่า เพราะ สว.มีบทบาทสำคัญ

เมื่อถามว่า สว.ชุดไหนจะมีโอกาสเห็นชอบกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่า ระหว่าง สว.ชุดเดิมที่รักษาการต่อ กับ สว.ชุดใหม่ นายพริษฐ์ มองว่า สำหรับ สว.ชุดเดิม ไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ก็ได้ เพราะดูจากสถิติการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมา ประมาณเกือบ 30 ร่าง ก็ผ่านไปได้แค่ร่างเดียว คือ เรื่องระบบเลือกตั้ง เราจึงได้เห็นผลงานเป็นที่ประจักษ์ ของ สว.ชุดเก่า ในการปกป้องรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2560 ที่ไม่แก้ไขมาตราใดๆ ส่วน สว.ชุดใหม่ก็คงได้พิสูจน์กัน หลังเข้ามาปฏิบัติหน้าที่ เพราะปัจจัยหลักในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือการกำหนดองค์ประกอบของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ซึ่งพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย ยืนยันว่าต้องมาจากการเลือกตั้ง 100% รวมถึงอาจมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา คู่ขนานไปกับการแก้ไขทั้งฉบับ ก็จะเป็นบทพิสูจน์ว่า สว.ชุดใหม่ จะมองเรื่องนี้อย่างไร

ส่วนข้อกังวลว่า สว.ชุดใหม่ อาจมีปัญหาเรื่องคุณสมบัติ เช่น วุฒิการศึกษา หรือ อาชีพที่ไม่ตรงกับกลุ่มอาชีพที่รับสมัคร นายพริษฐ์ มองว่า ทุกคนก็ผ่านกติกาที่ถูกออกแบบมาด้วยรัฐรัฐธรรมนูญ 2560 หากไม่พบการกระทำใดๆ ที่ผิดกฏหมาย ก็คิดว่าทุกคนเข้ามาด้วยกระบวนการอย่างเท่าเทียมกัน แต่หากมีการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย กกต.ก็ต้องเร่งตรวจสอบและลงโทษตามกระบวนการ

ส่วนที่มีความคิดว่าควรจะปรับการระบวนการได้มาซึ่ง สว.ให้เป็นการเลือกตั้ง หรือถึงขั้นตั้งคำถามว่า ควรมีวุฒิสภาต่อไปหรือไม่ ก็ล้วนเป็นโจทก์ที่คิดว่าสามารถพูดคุยกันได้ แต่สุดท้ายพรรคก้าวไกลก็เชื่อว่า ผู้ที่จะมาออกแบบกระบวนการ ควรเป็น ส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กกต. เตือนโรงงานต้องอนุญาตให้แรงงานออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ. หากขัดขวางมีความผิด

นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานกรรมการการเลือกตั้ง เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนางาน ยกระดับมาตรฐานการทำงานและการบริหารจัดก

กกต. โร่แจงระเบียบ 'ผู้ช่วยหาเสียงเลือกตั้ง' สมาชิก-นายก อบจ.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง ชี้แจงแนวทางการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด

'วิโรจน์' เงิบ! กกต.โชว์หนังสือ กรณีให้ลูกจ้างใช้สิทธิเลือกตั้ง อบจ.

สืบเนื่องจากกรณี นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร รองหัวหน้าพรรคประชาชนฝ่ายกิจการพิเศษ ได้แจ้งจะเข้ายื่นหนังสือต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่ศูนย์

เปิดชื่อ 18 กมธ.วิสามัญ แก้ข้อบังคับประชุมรัฐสภา 'สว.พันธุ์ใหม่' ได้ 1 ที่

จากที่ประชุมลงมติเห็นด้วย 415 เสียง ไม่เห็นด้วย 185 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง เป็นอันว่าที่ประชุมเห็นสมควรรับหลักการแห่งร่างข้อบังคับการประชุม ฉบับที่ ... พ.ศ. ... จากนั้นตั้ง กมธ.วิสามัญ จำนวน 18 คน โดยแบ่งเป็นสส.13 คน สว. 5 คน 

รัฐสภารับหลักการแก้ข้อบังคับฯ เปิดทางคนนอกร่วมแก้รธน. 'หมออ๋อง' คัมแบ็ค

ในการประชุมร่วมรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุม พิจารณาเรื่องด่วน ร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา (ฉบับที่...) พ.ศ.... เสนอโดยนายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน