2 ก.ค.2567 - นายนิกร จำนง ประธานคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์พรรคชาติไทยพัฒนา กล่าวถึงกรณีที่หลายฝ่าย อาทิ บุคคลที่มีชื่อเสียงทางด้านการเมือง และผู้สมัครที่ไม่ผ่านการคัดเลือกสว.มีความพยายายามดำเนินการ ให้มีการระงับยับยั้ง การได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกชุดนี้ หรือแม้แต่การให้ยกเลิกไปเลย แล้วเริ่มกันใหม่ ว่า เรื่องนี้น่าจะสร้างปัญหาตามมามากมาย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดมาจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ฉบับเจ้าปัญหา ในมาตรา 107 ที่กำหนดว่า"วุฒิสภาประกอบด้วยสมาชิกจํานวน 200 คน ซึ่งมาจากการเลือกกันเอง ของบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์ อาชีพ ลักษณะ หรือประโยชน์ร่วมกัน หรือทํางาน หรือเคยทํางานด้านต่างๆ ที่หลากหลายของสังคม โดยในการแบ่งกลุ่มต้องแบ่งในลักษณะที่ทําให้ประชาชน ซึ่งมีสิทธิสมัครรับเลือกทุกคนสามารถอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้"
และตอนท้ายของมาตราหักกลับย้อนเกล็ดเป็นบอกว่า"จะกําหนดมิให้ผู้สมัครในแต่ละกลุ่มเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกันก็ได้ โดยให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภากำหนด" ดังนั้นปัญหาส่วนใหญ่ทั้งหมดนี้เกิดจากรัฐธรรมนูญ และกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญกำหนดอยู่ ซึ่งคงต้องรอให้ส.ส.ร.ที่กำลังจะมีขึ้นเสนอแก้ไขกันต่อไปให้ดีกว่านี้ เพราะเราได้เห็นสภาพปัญหากันได้ชัดเจนพอสมควรแล้ว ในขณะนี้กับระบบการได้มาซึ่งสว.ที่เป็นระบบริเริ่มใช้หนึ่งเดียวในโลก ต้องเรียนรู้ข้อผิดพลาดแล้วแก้ไขกันในโอกาสต่อไป
นายนิกร กล่าวว่า ขณะนี้เราจะต้องพิจารณว่าดำเนินการอย่างไรกับว่าที่วุฒิสมาชิกชุดที่อยู่ตรงหน้านี้ จะให้กกต.ยกเลิกไปทั้งหมด แล้วให้สมัครใหม่เลือกกันเองขึ้นใหม่ตามกฏหมายเดิมตามที่มีผู้รู้เสนอหรือ? ถ้าจะทำเช่นนั้น เราท่านแน่ใจหรือว่าส่วนใหญ่ของว่าที่สว.ใหม่นั้น ได้มาด้วยการทุจริตไม่ชอบตามกฏหมายที่มีอยู่ เรามีหลักฐานการทำผิดชัดเจนกันแล้วหรือ แล้วถ้าเขาเหล่านั้นฟ้องร้องเพื่อรักษาสิทธิอันชอบธรรมของเขา ใครจะรับผิดชอบได้
กรธ.ผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 สนช.ผู้ออกกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสว.ฉบับปี 2561 หรือกกต.ผู้ต้องทำหน้าที่และอำนาจตามที่กฏหมายกำหนดและคำวินิจฉัยของศาลที่มีมา แล้าเราจะทำอย่างไรกับหลักการแห่งความยุติธรรมที่เป็นสากลว่า "ปล่อยคนผิดสิบคน ดีกว่าลงโทษคนบริสุทธิ์หนึ่งคน” ซึ่งเป็นคำกล่าวของ Sir William Blackstone นักกฎหมายชาวอังกฤษที่ได้กล่าวเอาไว้เมื่อปี ค.ศ. 1769 และยึดถือเป็นหลักการกันมาจนถึงปัจจุบัน
หรือเราจะให้ทำเท่าที่พอจะทำได้ในคราวนี้คือปล่อยให้กกต.ดำเนินการต่อไปในขั้นตอนตรวจสอบคุณสมบัติผู้ผ่านรอบสุดท้ายทั้ง 200 บวกสำรอง 100 ที่น่าจะมีปัญหาอีกครั้ง แล้วประกาศรับรองผล จากนั้นรีบเข้าไปตรวจสอบทางลึก หาผู้กระทำผิดตามกฏหมายที่บังคับใช้อยู่ เมื่อพบแล้วก็ถอดถอนออกไปในระยะเวลาตามกฏหมาย และเอาสว.สำรองที่มีอยู่มากเพียงพอ เข้ามาทำหน้าที่แทน มิใช่ให้ดำเนินการไปตามที่เราพอใจจะคิดเช่นการยกเลิกไปโดยไม่ได้มองที่มาและที่ไปให้ครบวงจรโดยไม่คำนึงถึงผลที่จะตามมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ดร.เสรี ฟันธง 'พรรคเพื่อไทย' คือต้นตอทำให้ 'พรรคประชาชน' ชนะการเลือกตั้งครั้งหน้า
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า
ที่ปรึกษาของนายกฯ โผล่ทำเนียบฯ สแกนแล้วไม่มีม็อบการเมือง มีแต่ม็อบปากท้อง
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ความจริงได้มีโอกาสเข้ามาที่ทำเนียบฯหลายครั้งเพื่อมาพูดคุยกับทีมงาน แต่ยัง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 33): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
เลิกคำ สั่งคสช.! มีบทเฉพาะกาล ให้ปชช.ฟ้องรัฐ
สส.พรรคประชาชนเผย กรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่ง คสช. มีมติให้มีบทเฉพาะกาลรองรับประชาชนที่ได้รับความเสียหาย ขณะที่
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ชำแหละทุกแง่มุม ผลกระทบคดีตากใบขาดอายุความ
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงคดีตากใบที่ไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ ภายในอายุความ 20 ปี ทำ