'อนาคตไกล' ค้านเลิกสส.ปาร์ตี้ลิสต์ หวั่นขาดสมดุลการเมืองไทย

“ณัษฐพล” มือกฎหมายอนาคตไกล ชี้การออกแบบการเลือกตั้งระบบผสม หากตัดระบบบัญชีรายชื่อออก จะขาดความสมดุลการเมืองไทย

26 มิ.ย.2567 - ที่พรรคอนาคตไกล นายณัษฐพล ทิพย์อักษร ทนายความคนดัง มือกฎหมายพรรคอนาคตไกล กล่าวว่า ที่มีการปูดข่าวจากคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธ์ หัวหน้าพรรคไทยสร้างไทยว่า ได้ข่าวจากวงในพรรคเพื่อไทยมีการวางแผนในการออกแบบระบบเลือกตั้งใหม่เพื่อตัดตอนพรรคก้าวไกลเพื่อเอาใจบ้านใหญ่โดยตัดระบบ สส.บัญชีราชชื่อทิ้ง และให้มี สส.เขตเลือกตั้งทั้งหมด 500 คนนั้น ก่อนอื่นตนขอแสดงความยินดีล่วงหน้ากับว่าที่ สว.ใหม่ 200 ท่าน ในการเลือกตั้ง สว.ระดับประเทศในวันนี้ด้วย

นายณัษฐพล กล่าวว่าตนเห็นว่าข่าวที่ปูดออกมา จะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม เพราะไม่ได้ยินไม่ได้ฟังมาด้วยตนเอง เมื่อจับได้ไล่ทัน พรรครัฐบาลต่างออกมาปฎิเสธกันพัลวัล ตนจะชี้ให้เห็นว่า การออกแบบระบบเลือกตั้งเป็นการยกระดับในการพัฒนาประเทศให้ประเทศพัฒนา ไม่ได้ล้าหลังเหมือนในอดีต ภายหลังรัฐธรรมนูญฉบับที่ 16 รัฐธรรมนูญ 2540 เป็นต้นมา สสร.ได้ออกแบบระบบเลือกตั้งใหม่ โดยนำระบบผสมและนำรูปแบบระบบสัดส่วนหรือระบบบัญชีรายชื่อ(Party List System)มาใช้ในประเทศไทยครั้งแรก แต่กำหนดคะแนนขั้นต่ำไว้ โดยรัฐธรรมนูญ2550 ใช้กลุ่มจังหวัดเป็นแนวเขตเลือกตั้งแต่ไม่ได้กำหนดคะแนนขั้นต่ำ โดยรัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้กำหนดคะแนนขั้นต่ำ แต่ครั้งแรกในการเลือกตั้ง 2562 ใช้บัตรใบเดียวสูตรหาร 500 ทำให้พรรคขนาดเล็กได้เข้าวินจำนวนมาก

ต่อมาในการเลือกตั้งในปี 2566 เปลี่ยนเป็นบัตรเลือกตั้งสองใบ และเป็นสูตรในการหารใหม่ เป็นสูตรหาร 100 โดยสาระสำคัญ ของแนวคิดของระบบสัดส่วน ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมโดยส่งตัวแทนของตนเข้ามาทำหน้าที่ ในระบบสัดส่วนนี้ ประชาชนส่วนใหญ่นิยมเรียกว่า “ระบบบัญชีรายชื่อ” หรือที่พรรคการเมืองต่างๆนำไปรณรงค์หาเสียงที่ว่า “เลือกคนที่รัก เลือกพรรคที่ชอบ”

นายณัษฐพล กล่าวต่อว่า ในต่างประเทศที่นิยมในระบบสัดส่วนนี้ ได้แก่ ประเทศในแถบสแกนดิเนีย ภาคพื้นยุโรป หรือในทวีปอเมริกาใต้ โดยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศจำนวนมากหันมาใช้ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วน เหตุผลสำคัญ คือ ต้องการให้จำนวนที่นั่งในสภาของแต่ละพรรคการเมืองสะท้อนคะแนนเสียงประชาชนสนับสนุนพรรคการเมือง สะท้อนสัดส่วนของนโยบาย อุดมการณ์ ความเห็นของผู้ออกเสียงเลือกตั้ง ทั้งระบบเลือกตั้งเปิดโอกาสให้พรรคขนาดเล็ก สามารถมีตัวแทนที่ได้รับเลือกตั้ง หากไม่มีเกณฑ์กำหนดคะแนนขั้นต่ำ ดังจะเห็นได้จากรัฐธรรมนูญ 2560 ในระบบสัดส่วน ไม่อาจทำให้มีพรรคการเมืองเดียวได้เสียงข้างมากเด็ดขาดในสภา ทำให้เป็นเผด็จการรัฐสภา ทำให้จัดตั้งรัฐบาลผสม เช่น ประเทศเยอรมนี เบลเยี่ยม สวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้น

สาเหตุที่ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนได้รับความนิยมสูงเนื่องจากผลลัพธ์การเลือกตั้งทำให้สัดส่วน จำนวนที่นั่งในสภากับคะแนนเสียงที่พรรคได้รับการเลือกตั้งใกล้เคียงกันสานสัมพันธ์ระหว่างระบบเขตเลือกตั้ง หากยกเลิกระบบการเลือกตั้งโดยใช้ระบบเขตเลือกตั้ง ประเภทเดียว ทำให้การเมืองย้อนหลังไปในอดีต จะพบเห็นการแข่งขันอย่างดุเดือดและจะพบเห็นปรากฎการณ์ทุจริตการเลือกตั้งเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากแนวคิดการตั้งพรรคการเมืองของคณะราษฎรที่ว่าพรรคการเมืองใด หากใครมีเงินทุนมากกว่าพรรคนั้นได้เปรียบ

"เพราะฉะนั้นการออกแบบระบบการเลือกตั้ง จะต้องสมดุลกับระบบการเมืองไทย สอดคล้องกับสภาวะสังคมไทยและหลักการมีส่วนร่วมของประชาชนด้วย" มือกฎหมายพรรคอนาคตไกล กล่าว

มือกฎหมายพรรคอนาคตไกล กล่าวต่อว่าจะเห็นได้จาก การออกแบบระบบเลือกตั้ง ในส่วนของระบบสัดส่วนหรือบัญชีรายชื่อ กำหนดสัดส่วนที่นั่งทั้งหมด เช่น ในการเลือกตั้งปี 2562 จำนวน 150 ในปี 2566 ลดลง จำนวน 100 หากการออกแบบระบบเลือกตั้งใหม่ ให้มีเฉพาะเขตเลือกตั้งประการเดียว เท่ากับ กำหนดให้มี สส.เขตจำนวน 500 คน ส่งผลเสถียรภาพทางการเมืองขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ตัวแทนกลุ่มต่างๆหรือตัวแทนกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง

ทั้งยังส่งผลให้พรรคการเมืองขนาดกลางและขนาดเล็ก เสียเปรียบในการส่งผู้สมัครแข่งขันในระดับเขตเลือกตั้ง ทั้งปรากฎการณ์ทางการเมือง จะพบหัวคะแนนจะทำหน้าที่เป็นคนกำหนดว่า เขตเลือกตั้งใด ผู้สมัครรายใดจะได้คะแนนเท่าใด เหมือนในอดีตจะเกิดบ้านใหญ่ อิทธิพลทางการเมือง จนถึงมือที่มองไม่เห็นมากุมบังเหียนการเมืองระดับชาติ

"หากพิจารณาถึงสภาวะความเป็นจริง ในกฎหมายพรรคการเมือง กำหนดให้พรรคการเมืองเป็นพรรคของประชาชน เพื่อแก้ปัญหานักธุรกิจการเมือง หรือนายทุนการเมือง โดยให้พรรคการเมืองเก็บเงินจากสมาชิกพรรคการเมืองโดยการชำระค่าบำรุงพรรคไม่ว่ารายปีหรือตลอดชีพหรือเงินบริจาคหรืออีกช่องทางหนึ่งจากการสนับสนุนกองทุนพัฒนาการเมือง หากเทียบเคียงกับระบบการเลือกตั้งหากใช้ระบบเดียว คือ ระบบเขตเลือกตั้ง การรณรงค์การเลือกตั้ง หากพรรคการเมืองใดมีทุนมากกว่า พรรคนั้นย่อมได้เปรียบในการหาเสียงเลือกตั้ง หากตัดระบบบัญชีรายชื่อออกย่อมเกิดความไม่เสถียรในทางการเมืองไทย" มือกฎหมายพรรคอนาคตไกล กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รู้ทันกลเกมนักการเมือง แก้รัฐธรรมนูญมาตรา 256 ใครได้ใครเสีย?

ประชาธิปไตยจะไม่มีทางเบ่งบานได้เลย หากประชาชนยังไม่รู้เท่าทันกลเกมของนักการเมือง ที่มักแอบอ้างประชาชนในการกระทำสิ่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน การเมืองไทยทุกวันนี้ยังคงเป็นพื้นที่ของคนรวยที่อยากมีอภิสิทธิ์เหนือคนทั่วไป หรืออยากได้อำนาจรัฐมา

'ธนกร' ค้าน 'ปชน.' แก้รธน.สุดซอย เตือนระวังโดนฟ้อง 157 ผิดกราวรูด

'ธนกร' ปักธงค้าน 'ปชน.' ชงแก้มาตรา 256 ชี้ตัดอำนาจ สว. ชัดขัดเจตนารมณ์ รธน. ทำเสียสมดุล 2 สภา หนักข้อสุดซอยเอื้อมแตะหมวด 1-2 พ่วงอำนาจองค์กรอิสระ เตือนระวังถูกฟ้อง 157 เจอผิดกราวรูด

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน  

'บิ๊กอ้วน' ชี้ 'สนธิ' แค่หนึ่งเสียงการบริหารประเทศไม่ควรโฟกัสแค่คนคนเดียว!

'ภูมิธรรม' ยังไม่เห็นข้อเรียกร้อง 'สนธิ' บอกเป็นแค่ความเห็นหนึ่งต้องรับฟังทุกฝ่าย เปรียบเหมือนมองปี๊บหนึ่งใบ ต้องมองให้รอบด้าน ไม่หมิ่นประมาทม็อบจุดติดหรือไม่

ดร.ณัฏฐ์ ชำแหละ 92 ปีรัฐธรรมนูญ วัฏจักรการแย่งชิงอำนาจ!

ดร.ณัฏฐ์ วงศ์เนียม ระบุครบรอบ 92 ปีวันรัฐธรรมนูญ ยังวนเวียนอยู่กับวัฏจักรการแย่งชิงอำนาจของนักการเมือง มากกว่าคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน