นายกฯลุยสนามบินอู่ตะเภา เร่งเคลียร์ปัญหาสร้างรถไฟเชื่อมสนามบิน

นายกฯลงพื้นที่สนามบินอู่ตะเภา ดูข้อติดขัดสร้างรถไฟเชื่อมสนามบิน แย้ม ก.ค.นี้ เห็นข้อสรุปก่อน เคาะโต๊ะสัญญาต้องจบสิ้นปี 67 ลั่น อย่าให้เกิดปัญหา ห่วง ติดกระดุมเม็ดแรกผิดเกิดเป็นมหากาพย์

23 มิ.ย. 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานความเคลื่อนไหวนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ในช่วงวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ ได้ลงพื้นที่ตรวจราชการจ.ชลบุรีและระยอง โดยวันที่ 22 มิ.ย.ที่ผ่านมานายกฯ ลงพื้นที่ตรวจราชการจ.ชลบุรี ก่อนที่วันเดียวกันนี้นายกฯ ได้ลงพื้นที่จ.ระยอง โดยเวลา 10.25 น. นายกฯได้เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ระยอง-พัทยา เพื่อพูดคุยหารือประเด็นปัญหาและการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ รองรับการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คมนาคม นางมนพร เจริญศรี รมช.คมนาคม นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม นายปรเมศวร์ งามพิเชษฐ์ นายกเมืองพัทยา นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)และทันตแพทย์หญิงศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ให้การต้อนรับ

นายกฯ กล่าวว่า มาเพื่อติดตามเรื่องของสนามบินอู่ตะเภา การพัฒนาอีอีซี รวมถึงรถไฟความเร็วสูง ที่ถือว่าเป็นเมกะโปรเจกต์ของรัฐบาลนี้ ซึ่งมีการทำกันมาหลายรัฐบาลแล้ว รัฐบาลนี้ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องการเชื่อมโยง และเป็นที่ทราบกันดีว่ามีความล่าช้าอยู่บ้าง เพราะฉะนั้นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดมีความสำคัญอย่างยิ่ง

ด้านเลขาสกพอ. กล่าวว่า มีสัญญากำหนดไว้และมีเงื่อนไขการดำเนินโครงการไว้ 3 ข้อ ซึ่งความจริงแล้วสัญญาเสร็จตั้งแต่ปี 62 และควรจะเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี 64 ซึ่งตอนนี้เรากำลังบริหารอดีตอยู่ เพราะหลังจากที่มีโควิด-19 บริษัทเอกชนมีปัญหาเรื่องหาคนทำงานไม่ได้ ซึ่งการดำเนินงานต่างๆทำให้ไม่สามารถเริ่มโครงการได้และการส่งมอบพื้นที่ได้ ขณะเดียวกัน ดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้น และค่าก่อสร้างยังเพิ่มขึ้นอีกด้วย ซึ่งจากสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปทำให้เขาไม่สามารถที่จะหาธนาคารมาให้กู้เงินได้ ตรงนี้ในกระบวนการที่ผ่านมาทำให้เราจำเป็นต้องใช้วิธีการเจรจา ซึ่งปัจจุบันมีหลักการที่พยายามจะนำเสนอในกระบวนการ ซึ่งในเดือนก.ค.67 ตั้งเป้าจะมีการนำเสนอโซลูชั่นในการเจรจาเข้าคณะกรรมการกพอ. และนำเสนอเข้าคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป โดยจะเป็นการเสนอหลักการว่าจะมีการแก้ไขในประเด็นอะไรแค่ไหน หากเราเห็นชอบในหลักการ ก็จะรู้ตัวสัญญาที่จะแก้ไขใหม่ ซึ่งประมาณสิ้นปี 67 จะเซ็นสัญญาแก้ไขใหม่ได้ โดยจะเริ่มก่อสร้างในต้นเดือนธ.ค.67 หรือต้นเดือน.ม.ค.68

ขณะที่ นายกฯ กล่าวว่า ตนถือเป็นหัวใจของการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจมีทั้งหมดเชื่อว่าฝ่ายเอกชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเรื่องสนามบินตามความเข้าใจของตนอย่างที่บอกมีความพร้อมและทำตามข้อตกลงแล้ว แต่ว่าถ้าเกิดเรื่องของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินยังมีความล่าช้าอยู่ ตรงนี้จะสร้างความมั่นใจให้เอกชนอย่างไร เพราะทราบว่าการมาร่วมทุนตรงนี้จะเกิดจริงหรือไม่ หากเกิดล่าช้าและไม่เกิด ทำไปมันก็ไม่ต่อภาพ ไม่ครบการลงทุน ทำต่อไปก็ไม่คุ้ม มันก็เป็นการอีหลักอีเหลื่อ หากสถานการณ์เป็นไปแบบนี้ ตรงนี้ ตนอยากให้ชี้แจงความกระจ่าง

นายกฯ กล่าวอีกว่า โครงการนี้ควรจะเริ่มก่อสร้าง ปี 64 แต่เกิดปัญหาโควิด-19 เรื่องผู้รับเหมาและเรื่องอะไรต่างๆไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ สัญญาอยู่ระหว่างการต่อรอง อันนี้ตนไม่ได้พูดถึงความชอบธรรม หรือความถูกต้อง ตนจะสรุปข้อมูลว่าเป็นลักษณะนี้ ในระหว่างที่เราเริ่มงาน 2-3 ปีเป็นเรื่องการต่อรองว่าจะทำอย่างไรต่อไป ซึ่งขณะนี้เวลาของสัญญาหมดไปแล้ว แต่เดี๋ยวจะมีการหาทางออก โดยการตั้งสมมุติฐานทางด้านการเงินใหม่ รวมถึงอาจจะรวมไปถึงการต่อรองกับทางรัฐบาล เรื่องของความเงื่อนไขของผลตอบแทน ซึ่งตนไม่ขอคอมเมนต์ว่าทำได้หรือทำไม่ได้ ทุกอย่างจะต้องจบให้ได้ภายในสิ้นปี 67 และก่อสร้างได้ต้นปี 2568

นายกฯ ระบุว่า คำถามต่อมาคือระหว่างนี้คนที่ทำสนามบินอู่ตะเภา เขาจะเดินหน้าต่อหรือไม่ และความเสี่ยงมันก็มีว่าหากจบไม่ได้หรือหากกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถหาข้อยุติได้ ตัวบทสัญญามันจะทำอย่างไรต่อไป ตนขอฝากไว้อย่าให้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับการก่อสร้างสนามบินหากรถไฟเชื่อม 3 สนามบินมีปัญหา ตนเชื่อว่าหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับโปรเจกต์นี้ต้องไปพูดคุยกันให้ดี เพราะสนามบินอู่ตะเภามีความสำคัญอย่างยิ่งกลับเมกะโปรเจกต์ของเรา ซึ่งเมื่อวันที่ 22 มิ.ย.ที่ตนได้ลงพื้นที่ไปดูเรื่องพื้นที่สร้างสนามแข่งขัน F 1 หากไม่มีสนามบินมันก็ลำบากกับเรื่องการกระตุ้นการท่องเที่ยว ฉะนั้นเรื่องของรถไฟเชื่อม 3 สนามบินเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งประมาณสิ้นเดือนก.ค.เราก็น่าจะข้อสรุปและเป็นข่าวดี

นายกฯ ระบุอีกว่า ในฐานะรัฐบาลอยากให้ไปต่อเพราะถือเป็นจิ๊กซอว์การลงทุนข้ามชาติต่อยอดบริษัทที่จะมาลงทุนในอีอีซี ทำธุรกิจการค้า หรือธุรกรรมการลงทุนต่างๆในภูมิภาคนี้ ถ้าหากขาดไปตัวหนึ่งก็คงลำบาก ซึ่งเราไม่ต้องไปลงรายละเอียดว่าเชื่อม 3 สนามบินต้องไปลิงก์กับสนามบินที่กรุงเทพฯอย่างไร ย้ำว่าอย่าให้เกิดปัญหาไม่เช่นนั้นหากติดกระดุมเม็ดแรกผิดตั้งแต่ต้นก็จะเกิดปัญหาตามมาเป็นมหากาพย์

ด้านนายสุริยะ กล่าวว่า เรื่องรถไฟเชื่อม 3 สนามบินในขณะนี้ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดแล้ว ซึ่งแนวโน้มตนเชื่อว่าก่อนสิ้นเดือนก.ค. น่าจะมีข้อสรุป.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เศรษฐา' ลงพื้นที่สุรินทร์ ชาวบ้านดีใจได้ใกล้ชิด บอกเป็นขวัญใจชาวรัตนบุรี

“เศรษฐา” ลงพื้นที่สุรินทร์ รุดตรวจเยี่ยมโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยแก้ว 15 ล้านบาท ชาวบ้านดีใจได้ใกล้ชิด บอกเป็นขวัญใจชาวรัตนบุรี ขณะคุณยายเจอหน้านายกฯถึงกับร้องไห้ บอกไม่เคยมีผู้นำมา

ผลสำรวจนิด้าโพลชี้ ประชาชนหนุน 'พิธา' นั่งนายก ส่วน 'เศรษฐา' มาเป็นอันดับ 3

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมือง รายไตรมาส ครั้งที่ 2/2567” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 14-18 มิถุนายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง

สภาฮั้วค่าย 'สีน้ำเงิน' ยึดสว. วงจรอุบาทว์การเมืองไทย

ผลการคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับประเทศ เมื่อวันพุธที่ผ่านมา ได้รายชื่อว่าที่ สว.จำนวน 200 คน และสำรอง 100 คน ครบแล้ว โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)

'เศรษฐา' รับปากเกษตรกร หอมแดงต้องได้ราคากก.ละ 20 บาท พริกชี้ฟ้า 35 บาท ภายใน ต.ค.

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี เดินทางต่อมาที่โครงการชลประทานศรีสะเกษ ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อหารือการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้ง

นายกฯเศรษฐา ปลื้มชาวศรีสะเกษ ต้อนรับสุดอบอุ่น ยันปลายปีนี้ได้เงินหมื่นแน่นอน

นายกฯ กราบ ‘รักษาการแทนเจ้าคณะอำเภอขุขันธ์’ สวดชยันโต ให้พร ‘ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติอยู่ดีมีสุข’ ย้ำคำมั่นชาวศรีสะเกษ ได้ดิจิทัลวอลเล็ตได้แน่ปลายปี ยันสส.ดูแลพื้นที่ดี นำปัญหาสะท้อนรัฐบาล