ปชป. ถาม 'เศรษฐา' ทำไมไม่รู้จักรดน้ำพรวนดินเศรษฐกิจ

22 มิ.ย. 2567 - ​นายชนินทร์ รุ่งแสง รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) และอดีตสส.กทม. กล่าวว่าจากการอภิปรายกฎหมายงบประมาณรายจ่ายประจำ ปี 68 พรรคประชาธิปัตย์และหลายฝ่ายได้แสดงความเป็นห่วง พูดถึงการกู้เงินจนเกินตัวของรัฐบาลจะก่อให้เกิดปัญหาฐานะการคลัง และจะก่อให้เกิดหายนะของประเทศได้ แต่จริงๆแล้วอยากเน้น ย้ำขีดเส้นใต้ 10 เส้นว่าไม่ได้อยู่ที่ตัวเลขการกู้ แต่ ปัญหาสำคัญอยู่ที่กู้มาแล้วจะใช้อย่างไรและจะมีหนทางหารายได้กลับมาชดเชยเงินกู้ได้อย่างไร ที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นว่ารัฐบาลเศรษฐา ไม่ได้รู้จักคำว่ารดน้ำพรวนดินเศรษฐกิจ แต่เน้นการใช้เงินตอบสนองทางด้านการเมือง เหมือนเทน้ำลงในทรายหายไปไม่ได้คืนมา

"สิ่งที่ต้องเป็นห่วงคือกู้เพิ่มแต่รัฐบาลไม่มีรายได้เพิ่มชัดเจนแน่นอน ซึ่งเกิดจากการกู้มาใช้ในลักษณะเทนำ้ลงทราย จึงอยากถามไปถึงรัฐบาลโดยเฉพาะนายกฯเศรษฐ รู้จักไหมการใช้นโยบายเศรษฐกิจแก้ไขแบบรดน้ำพรวนดิน ไม่ใช่เทน้ำลงทรายหายไปไม่เกิดดอกผล อย่างเช่นการกู้มาเพื่อแจก 5แสนล้านจริงอยู่เป็นเรื่องดีที่ประชาชนมีเงินเพื่อจับใจใช้สอยในสิ่งที่จำเป็น แต่ถ้าหากรัฐบาลไม่สามารถควบคุมในการใช้ไม่ว่าจะเป็นซื้อของไม่จำเป็นซึ่งมาจากต่างประเทศ ที่สำคัญคือร้านค้าจากกลุ่มทุนใหญ่จะได้ประโยชน์เต็มเต็ม ร้านข้าวแกงร้านขายหมูปิ้ง ร้านโชห่วยในชุมชนหมู่บ้านไม่มีสิทธิ์ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ การใช้จ่ายส่วนใหญ่ของประชาชนที่ได้รับเงินดิจิตอล 10,000 บาท ส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อสิ่งของจำเป็นในชีวิตประจำวันซึ่งจะต้องซื้อใช้อยู่แล้ว ไม่ได้เป็นการต้องซื้อเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติ สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้ไม่เกิดพายุหมุนทางเศรษฐกิจซึ่งจะคุ้มค่ากับการกู้มาใช้ในอนาคต"

นายชนินทร์ กล่าวอีกว่า นายเศรษฐาพูดว่าจากการคาดการณ์โครงการดิจิตอล 5แสนล้าน จะทำให้จีดีพีของประเทศโตขึ้น แต่ที่สำคัญคือไม่สามารถบอกได้ว่าจะกลับมาเป็นรายได้เข้ารัฐมากน้อยชัดเจนอย่างไร อยากจะฝากรัฐบาลให้ไปคิดเป็นการบ้านว่า ถ้าหากคิดแก้เศรษฐกิจโดยการรดน้ำพรวนดินก็ควรจะต้องนึกถึง 3สิ่งที่คิดจะนำเงินกู้ไปใช้ 1.ปฏิเสธไม่ได้จะต้องมีการเยียวยากลุ่มเปราะบาง 2.การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นด้วย จะเป็นโครงการเล็กโครงการใหญ่ เพื่ออนาคตในการสร้างงานสร้างอาชีพ เช่นการพัฒนาแหล่งน้ำ และ 3.สำคัญที่สุดคือใช้ในการเตรียมการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ เพื่อการทำมาหากินของผู้คนในอนาคตและรายได้ของประเทศที่จะกลับคืนมา

นายชนินทร์ กล่าวต่อว่า อีกประการที่เป็นผลกระทบ คือการที่ไม่มีพื้นที่การคลังเหลือมากพอ ก็จะเสี่ยงเมื่อประเทศเกิดวิกฤติขึ้นมาจริงๆ เหมือนช่วงโควิด ซึ่งต้องกู้เงินเพิ่มเติมถึง 1.9 ล้านล้านมาแก้ไขเยียวยา และที่สำคัญเมื่อสถานะทางการคลังมีปัญหาประเทศจะถูกปรับลดความน่าเชื่อถือ ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนทางการเงินของประเทศ ดอกเบี้ยขึ้นก็จะกระทบกับประชาชนลูกหนี้รายย่อย สุดท้ายอยากแนะนำรัฐบาลให้ฟังความให้รอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้าน นักวิชาการ โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสภาพัฒน์ฯ หรือแบงค์ชาติซึ่งต้องยอมรับว่าเขามีความรู้ความสามารถแต่ไม่สามารถหาเสียงหลอกประชาชนจนมามีอำนาจ บริหารประเทศได้เหมือนกับรัฐบาล.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 34): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

คปท.-ศปปส.-กองทัพธรรม ยื่นหนังสือค้านกระบวนการคัดเลือกประธานบอร์ดแบงก์ชาติ

กลุ่มมวลชน ซึ่งเป็นตัวแทนจากเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) ศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบัน (ศปปส.) และกองทัพธรรม