รกหู! อบรม 'เศรษฐา' อย่าใช้ความเคยชินกับการเป็นซีอีโอของบริษัท มาใช้กับตำแหน่งนายกฯ

22 มิ.ย. 2567 - นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า นายกฯเศรษฐา ต้องอดทน อย่ารำคาญเสียงวิจารณ์

เมื่อนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พูดถึงเสียงวิจารณ์การลงพื้นที่ได้ปริมาณ แต่ไม่ได้คุณภาพว่า ถ้าไม่ลงพื้นที่ก็ไม่ทราบปัญหา มองเป็นเรื่องการเมือง ไม่เอามารกหู ยอมรับรำคาญบ้าง ได้ใช้เวลาวันหยุดไม่เสียเวลาบริหารราชการแผ่นดินแล้วนััน

ผมไม่อยากให้นายเศรษฐาหงุดหงิด หรือมีอารมณ์กับคำวิพากษ์วิจารณ์ของสังคม เพราะการเป็นนักการเมือง คือบุคคลสาธารณะ พร้อมถูกตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์และตำหนิติเตียนได้ ต้องอดทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งเข้าใจว่านายเศรษฐา เป็นนักธุรกิจ เติบโตมาจากภาคเอกชน เป็นซีอีโอของบริษัท สามารถสั่งการให้ลูกน้องที่เป็นพนักงานบริษัท ทำตามคำสั่งได้ทุกอย่าง และไม่มีพนักงานคนใดกล้าวิพากษ์วิจารณ์ซีอีโอของบริษัท ซึ่งนายเศรษฐาอาจจะเคยชินกับการทำงานในลักษณะเช่นนี้

แต่เมื่อเข้ามาเป็นนักการเมืองแล้ว มีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี จะต้องถูกตรวจสอบจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเป็นส.ส.ซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชน มีหน้าที่ตรวจสอบ แสดงความเห็นวิพากษ์วิจารณ์ ท้วงติงการทำงานของฝ่ายบริหารตามหน้าที่ รวมถึงกลุ่มสื่อมวลชน ซึ่งเป็นกระจกเงาสะท้อนตัวตนการทำงานของรัฐบาล ก็มีความเป็นอิสระวิพากษ์วิจารณ์ได้เช่นกัน ไม่อยากให้นายเศรษฐา มีความรู้สึกว่าคำวิพากษ์วิจารณ์เป็นการรกหู สร้างความรำคาญ

ผมได้ติดตามการทำงานและการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนของนายเศรษฐามาหลายครั้ง เห็นว่าเป็นคนแอ็คทีฟ พูดจาแบบตรงไปตรงมาดี คิดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น เป็นเรื่องดีที่สังคมได้เห็นตัวตนที่แท้จริง แต่ที่อยากจะแนะนำก็คืออยากให้นายเศรษฐา ได้อดทนต่อต่อการวิพากษ์วิจารณ์ และนำข้อท้วงติงเหล่านี้ ไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขในการทำงานของรัฐบาล ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ขอให้ตระหนักไว้ว่า “ตอนเป็นนักธุรกิจคุณเป็นเจ้านายของลูกน้องทุกคน แต่เมื่อมาเป็นนักการเมือง ประชาชนทุกคนคือเจ้านายของคุณ.

คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. สร้างชื่อระดับโลก เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของไทย ที่ UN Women อนุมัติให้เป็น Signatory ของ UN Women’s WEPs เพื่อร่วมยืนหยัดกับองค์การสหประชาชาติที่จะยุติความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในที่ทำงานและชุมชน

10 ก.พ.2566 - อ.ดร.สหวัชญ์ พลหาญ รองคณบดีฝ่ายบริหารและเครือข่ายสัมพันธ์ คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เปิดเผยว่า มธ.ได้รับการอนุมัติจากองค์การเพื่อการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศและเพิ่มพลังของผู้หญิงแห่งสหประชาชาติ (UN Women) เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2566 ให้คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ เป็นผู้ที่สามารถลงนาม (Signatory) คำแถลง CEO Statement of Support เพื่อร่วมยืนหยัดกับองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ที่จะยุติความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในที่ทำงานและชุมชน และนำหลักการเสริมสร้างศักยภาพสตรี 7 ประการ หรือ the seven Women’s Empowerment Principles (WEPs) ไปใช้ประกอบการบริหารงานของหน่วยงาน

สำหรับการอนุมัติให้คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เป็นผู้ลงนาม (Signatory) ของ UN Women’s WEPs ทำให้ มธ. เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้เป็นผู้ลงนามนี้ และยังเป็นการประกาศอย่างเป็นทางการให้โลกรู้ว่าสถาบันการศึกษาแห่งนี้สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศในการปฏิบัติงาน การคัดเลือกบุคลากรอย่างไม่เลือกปฏิบัติ

ด้าน ผศ.ดร.อดิศร จันทรสุข คณบดีคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. กล่าวว่า คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. รวมถึงโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่เป็นหน่วยงานภายในคณะมีนโยบายที่ชัดเจนและให้ความสำคัญกับเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ เพราะความเท่าเทียมเป็นเรื่องพื้นฐานของมนุษย์ ผ่านการทำงานร่วมกันระหว่างอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา และนักเรียนในบริบทของการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการสังคม เพื่อสร้างบุคลากรด้านการศึกษาและพลเมืองที่มีความสามารถและให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมด้วย

ผศ.ดร.อดิศร กล่าวอีกว่า คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มธ. มีเจตนาชัดเจนที่ต้องการแก้ไขความไม่เท่าเทียมเชิงโครงสร้าง ที่ไม่ได้จำกัดแค่เพียงภายในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่มุ่งมั่นต้องการทำให้สังคมภายนอก โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้ตระหนักในประเด็นเหล่านี้ เช่นเดียวกับการดำเนินการที่ผ่านมาของ มธ.ที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาตัวอย่างในการขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดสังคมแห่งความเท่าเทียมทางเพศมาโดยตลอด

“การให้ความสำคัญกับหลักการที่เป็นสากลในการสนับสนุนให้ผู้หญิงมีบทบาทเท่าเทียมกับผู้ชายจะช่วยให้เราได้เห็นสิ่งดีๆ เกิดขึ้นกับสังคมโดยรวม เพราะการลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในที่ทำงานและส่งเสริมศักยภาพของคนทำงานทุกเพศจะช่วยให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน เพิ่มโอกาสของการพัฒนาประเทศ และส่งผลให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่เท่าเทียมและตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงได้ดีมากยิ่งขึ้น” ผศ.ดร.อดิศร กล่าว

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง