ก้าวไกลซัดรัฐบาลไม่จริงใจแก้ปัญหาเรื่องการศึกษาไม่ให้งบ กยศ.แม้แต่บาทเดียว

สส.ปารมี เผยตัวเลขเด็กไทยหลุดออกจากระบบการศึกษา 1.02 ล้านคน ส่อหลุดอีก 2.8 ล้านคน อัด รัฐบาลไม่จริงใจแก้ปัญหา หลัง กยศ.ของบ 5,000 ล้านบาท แต่ไม่ให้สักบาทเดียว หวั่นทำเด็กกู้ยืมไม่มีเงินเรียนต่อ

20 มิ.ย.2567 - ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร (สมัยวิสามัญ) เป็นพิเศษ ที่มีนายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 เป็นประธานในที่ประชุม มีวาระพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2568 จำนวน 3.75 ล้านล้านบาท ในวาระรับหลักการ เป็นวันที่สอง โดยนายปารมี ไวจงเจริญ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายประเด็นความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งข้อมูลจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) พบว่า ปัจจุบันมีเด็กหลุดออกนอกระบบ 1.02 ล้านคน เท่ากับเด็กไทย 100 คน หลุดออกนอกระบบ 8 คน ความยากจนคือสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กหลุดออกนอกระบบ เรายังมีความเหลื่อมล้ำในการเข้าระบบการศึกษาอย่างมาก เด็กยากจนคือเด็กที่หลุดออกนอกระบบเป็นกลุ่มแรก กว่าครึ่งของเด็กกลุ่มนี้ต้องการทำงานมากกว่าเรียนหนังสือ แสดงให้เห็นว่าระบบการศึกษาไทยไม่ตอบโจทย์ให้กับเด็กกลุ่มนี้ เหมือนเป็นการผลักเขาออกนอกระบบ ทำเขาตกหล่นไม่โอบรับ ดังนั้น รัฐบาลต้องห้ามเลือดไม่ให้ไหลมากกว่านี้ ต้องให้ความสำคัญกับเด็กปัจจุบันที่ยังไม่หลุดออกจากระบบ แต่มีแนวโน้มกำลงจะหลุด 2.8 ล้านคน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความยากจนรุนแรงที่สุดในประเทศ

นายปารมี กล่าวต่อว่า รัฐบาลบอกว่าจะแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาแบบเร่งด่วน แต่กลับจัดสรรงบประมาณให้หน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงไม่เพียงพอ ซึ่งในงบ 68 กสศ.ของบ 7,800 ล้านบาท แต่รัฐบาลให้เพียง 6,900 ล้านบาท หากเราต้องการช่วยเด็กกลุ่มนี้ที่มีจำนวนล้านกว่าคนที่ออกนอกระบบไปแล้ว ตนคิดว่ากสศ. ต้องได้รับงบประมาณมากกว่านี้ นอกจากนี้ ข้อมูลของ กสศ. ยังพบว่าในระดับอุดมศึกษา เด็กกลุ่มยากจนรุนแรงสามารถเรียนต่อระดับอุดมศึกษาได้เพียง 12.4% สาเหตุเพราะค่าใช้จ่ายในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยระบบ T CAS ในปัจจุบันสูงมากหลักหลายพันบาท เด็กที่มีฐานะดีจะสอบกี่วิชาก็ได้ แต่เป็นการผลักเด็กที่มีความสามารถแต่ไม่มีโอกาสด้านการเงิน และเด็กบางคนแม้จะมีแรงฮึดสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แต่ก็ไม่มีเงินเรียน

นายปารมี กล่าวอีกว่า ขณะนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กำลังมีปัญหาใหญ่ขาดสภาพคล่องหนักมาก โดยกลับมาขอรับงบประมาณในรอบหลายสิบปี ซึ่งงบประมาณรายจ่ายของปี67 ขอมา 1.9 หมื่นล้านบาท แต่รัฐบาลให้ได้แค่ 800 ล้านบาท ส่วนงบ 68 ขอ 5,000 ล้านบาท แต่ตอนนี้รัฐบาลไม่ให้แม้แต่บาทเดียว และอาจจำเป็นต้องตัดเงินกู้ยืมที่จะให้เด็กในปีการศึกษานี้ หรือหากยังมีปัญหาอาจต้องตัดเงินที่ให้เด็กไปแล้วซึ่งอาจทำให้ไม่มีเงินเรียนต่อ สิ่งนี้เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างมาก ดังนั้น ตนขอเสนอการจัดสรรงบประมาณเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ คือต้องเร่งช่วยเหลือเด็กที่หลุดออกนอกระบบ ต้องไม่จัดงบแบบการอุดหนุนรายหัว การศึกษาขั้นพื้นฐานต้องฟรีจริง เพิ่มประสิทธิประโยชน์จูงใจครูให้สอนโรงเรียนขนาดเล็ก ปฏิรูปหลักสูตร และสร้างการศึกษาแบบไร้รอยต่อ อุดหนุนค่าใช้จ่ายในการเข้ามหาวิทยาลัยในระบบ T CAS

“การที่เด็กคนหนึ่งได้รับการศึกษาที่ดีจะเป็นบันไดสำคัญในการเข้าสู่รายได้ และคุณภาพชีวิต หากไม่มีการสนับสนุนจากรัฐจะเกิดปัญหาอื่นตามมา วันนี้ท่านเพิกเฉยต่อปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หวังว่าท่านจะได้บริหารงบประมาณใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ให้เด็กไทยหลุดออกจากระบบ และให้ทุกโรงเรียนมีคุณภาพที่เสมอภาคกัน” นายปารมี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'รังสิมันต์-มาริษ'โต้เดือดปมธนาคารไทยมีเอี่ยวช่วยซื้ออาวุธให้รัฐบาลเมียนมา!

'โรม' จี้ถามจุดยืนประเทศ หลังมีแฉธนาคารในไทย เอี่ยวใช้ธุรกรรมการเงินฆ่าชาวเมียนมา ซัด รบ.ต้องชัดเจน ด้าน 'รมว.กต.'โต้ไม่พบหลักฐานธนาคาร-รัฐบาลไทยเข้าไปเอี่ยว รับการคว่ำบาตรเป็นเรื่องยาก

เปิดรายละเอียดโหวตงบ 1.22 แสนล้านบาท 'งูเห่าพรึ่บ-บิ๊กเนมแห่โดดร่ม'

เช็กเสียงโหวตร่างงบเพิ่มเติม 2567 เสียงฝ่ายค้านหายไป 21 เสียง อึ้ง! งูเห่า 6 เสียง 3 ทสท.-พรรคเล็กโผล่โหวตหนุนฝ่ายรบ. ด้าน ปชป.ครองแชมป์หายเยอะสุด 10 คน รบ.หาย 23 เสียง ทั้งรมต.-สส.ตัวเป้ง

เอาแล้ว! สส.รัฐบาลยังโวยกลางสภาไม่เอา 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' ขอ 'ไร่ละพัน' กลับคืน

เอาแล้ว!!! สส.ฝ่ายรัฐบาล “ภท.-พท.” หารือกลางสภาฯ ออกโรงต้าน ชี้ ชาวนาร้องยี้ 'ปุ๋ยคนละครึ่ง' ขอคง 'ไร่ละพัน' ไว้เหมือนเดิม

'คารม' แจงยิบยัน 'กยศ.' คิดดอกเบี้ยอัตรา 1%

'คารม' ย้ำ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาคิดดอกเบี้ยอัตรา 1% ตั้งแต่เริ่มกู้จนชำระเสร็จสิ้น ไม่มีการคิดดอกเบี้ยซ้อนดอกเบี้ย ขอให้ผู้กู้ยืมชำระหนี้ตามจำนวนที่แจ้งในหน้าแอปพลิเคชัน กยศ.Connect