18 มิ.ย.2567 - ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณาคดีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี จะมีผลอะไรออกมาหรือไม่ ว่า ไม่ได้พิจารณาในวันนี้ แต่ศาลให้ยื่นบัญชีระบุพยานหลักฐานต่อศาลที่ครบกำหนดเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. ลักษณะเดียวกับคดีของพรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นการเริ่มพิจารณา จะมานั่งประชุมพิจารณาและถกเถียงกัน ผลจะยังไม่เกิดขึ้นใน 1-2 วันนี้ ส่วนพยานที่ส่งไปเพิ่มเติมมีเพียง 1 คน คือ นางณัฐฏ์จารี อนันตศิลป์ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพราะเป็นบุคคลที่รู้กระบวนการทั้งหมด
ผู้สื่อข่าวถามว่า เท่าที่ตรวจดูคำชี้แจงของนายกฯ มีความเป็นไปได้ที่นายกฯจะรอดใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่มีความเห็น หากจะให้บอกว่าไม่รอดแน่ ๆ ก็จะประหลาด หรือจะให้บอกว่ารอดแน่ ๆ ก็พูดไม่ได้ เป็นเรื่องที่ต้องพิสูจน์ในกระบวนการของศาล เพื่อให้ศาลสบายใจ ส่วนรายละเอียดคำชี้แจงเดี๋ยวคงมีการเปิดเผยกันออกมาเอง ไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไร เพียงแต่ในชั้นนี้ศาลยังไม่ได้พิจารณา เราจะมาพูดแถลงนอกศาลไม่ได้
เมื่อถามว่า 2 เรื่อง ที่รัฐบาลไม่ได้ถามคณะกรรมการกฤษฎีกา คือ เรื่องมาตรฐานจริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต ได้มีการชี้แจงต่อศาลไปหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ส่งคำอธิบายไป แต่ไม่ได้ถึงขนาดอธิบายเป็นคำนิยาม เพราะเป็นคำที่เข้าใจกันอยู่ทั่วไป เพียงแต่ว่า คำว่าซื่อสัตย์สุจริตหรือมาตรฐานจริยธรรม มีความหมายของมันตามรัฐธรรมนูญและมีกระบวนการ คำว่ามาตรฐานจริยธรรมไม่ใช่เป็นที่เราแต่งขึ้นเอง แต่เป็นคำเฉพาะที่เหมือนชื่อคน เป็นชื่อกฎหมาย ถ้าจะมากล่าวหาว่าใครผิดมาตรฐานจริยธรรมก็จะต้องร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งมีเส้นทางในการดำเนินการ ตนเชื่อว่าเรื่องจริยธรรมและความซื่อสัตย์จริตน่าจะเป็นประเด็นสำคัญที่ศาลจะพิจารณา เพราะอย่างอื่นสามารถพิสูจน์เป็นรูปธรรมได้ เช่น เคยติดคุกหรือไม่ เคยต้องคำพิพากษาหรือไม่ แต่เรื่องมาตรฐานจริยธรรมไม่มีใครสามารถตรวจสอบได้ หากไม่มีกระบวนการโดยเฉพาะต่างหาก เรื่องซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ อยู่ ๆ จะไปบอกว่าใครไม่ซื่อสัตย์สุจริตตามรัฐธรรมนูญถือเป็นเรื่องอันตราย เพราะจะทำให้ขาดคุณสมบัติตลอดชีวิต
ผู้สื่อข่าวถามว่า มีการมองว่าเรื่องมาตรฐานจริยธรรม น่าจะเป็นเรื่องของหน่วยงานอื่นเป็นผู้พิจารณา นายวิษณุ กล่าวว่า ในรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องของหน่วยงานอื่นพิจารณาอยู่ด้วย เมื่อถามว่า ในอดีตเคยมีคดีลักษณะเดียวกันหรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ได้เหมือนกันทั้งหมด โดยเป็นกรณีที่เขาดำรงตำแหน่งอยู่และมาร้องเรียนเพื่อเอาออกจากตำแหน่ง แต่กรณีของนายพิชิต ชื่นบาน ปัจจุบันได้ออกจากตำแหน่งไปแล้วก็จบ เป็นเรื่องที่ตั้งไปแล้ว เป็นรัฐมนตรีแล้ว หลายคนเป็นพฤติกรรมที่ทำไปแล้วเป็นชิ้นเป็นอันในขณะนั้น เมื่อถามย้ำว่า มาตรฐานจริยธรรมต้องวัดหลังจากดำรงตำแหน่งใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ตนไม่ได้ตอบแบบนั้น แล้วแต่ศาล เราบอกก่อนไม่ได้
ถามอีกว่า หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ครั้งนี้จะถือเป็นบรรทัดฐานเลยใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า เป็นบรรทัดฐาน เมื่อถามว่า เป็นเพราะนายกฯไม่รู้พฤติกรรมในอดีตใช่หรือไม่ นายวิษณุ กล่าวว่า ขอไม่อธิบายตรงนี้ ขอไปอธิบายกันในศาล ส่วนผลจะออกมาเร็วหรือช้านั้น ไม่ทราบ แต่ไม่ใช่ภายใน 3-7 วันนี้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ไม่ต้องชี้แจงแล้ว เพราะได้ส่งพยานไปแล้ว 1 คน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘ทักษิณ’ ติงสื่อขยายข่าวมากเกินไป! หลัง คุยกับ ‘อันวาร์’
27 ธ.ค. 2557 - ที่อาคารมูลนิธิไทยรัฐ นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี
เลขาฯกกต. ตรวจหน่วยรับสมัคร อบจ.ปราจีนบุรี อุบตอบปมสอบเงิน 20 ล้าน
นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วย พ.ต.ท. ระพีพงษ์ จิรพัฒนาลักษณ์ รองเลขาธิการ กกต. , น.ส.โชติกา แก้วผล ผู้อำนวยการ กกต.ประจำจังหวัดปราจีนบุรี และคณะ ร่วมสังเกตการณ์การรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ.ปราจีนบุรีและนายก อบจ.จังหวัดปราจีนบุรี ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)