'พิเชษฐ์' โวสภาฯ อยู่อย่างเท่ ประหยัด ส่งงบคืนรวมกับ สว. ปีละ 5 พันล้าน

‘พิเชษฐ์’ โวสภาฯ ประหยัด อยู่อย่างเท่ ใช้งบไม่หมดต้องส่งคืน รวมกับ สว. 5 พันล้านบาทต่อปี ปลุก สส. ร่วมหนุน พ.ร.บ.แก้ไขระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา เพื่อความเป็นอิสระ

14 มิ.ย. 2567 – ที่รัฐสภา สำนักงบประมาณของรัฐสภา (สงร.) จัดสัมมนาวิเคราะห์ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีเนื้อหามิติเศรษฐกิจมหาภาคและการคลัง การรักษาเสถียรภาพและความยั่งยืนทางการคลัง โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มขีดความสามารถและความอิสระของฝ่ายนิติบัญญัติในกระบวนการงบประมาณ ทั้งนี้ นายพิเชษฐ์​ เชื้อเมืองพาน รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่สอง เป็นประธานในพิธีเปิด และบรรยายเรื่องการเพิ่มขีดความสามารถ และความอิสระของฝ่ายนิติบัญญัติ ในกระบวนการงบประมาณ

โดยนายพิเชษฐ์​ กล่าวว่า คาดหวังจะรับทราบเสียงสะท้อนจากประชาชนเพื่อนำไปปรับปรุงการจัดทำงบประมาณต่อไป ทั้งงบกลางตามอำนาจของนายกรัฐมนตรีพิจารณา ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัตินั้นจะต้องตรวจสอบ อย่างเข้มข้น เพื่อให้การใช้งบแผ่นดินเป็นไปด้วยความโปร่งใส ความคุ้มค่าและเป็นไปตามเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งงบกลางของนายกฯ พอใช้ไม่หมด 1 ปี ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้

“ที่ผ่านมารัฐบาลมีเทคนิคที่จะหลบเลี่ยงในการตรวจสอบต่างๆ ตรงนี้ฝ่ายนิติบัญญัติจำเป็นจะต้องเข้มแข็ง เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาล ฝั่งโน้นฝั่งนี้ไปเป็นรัฐบาลก็ไม่ได้เป็นรัฐบาลตลอดชีวิตหรือเป็น 100 ปีผลัดเปลี่ยนกันไป แต่การตรวจสอบของฝ่ายนิติบัญญัติจะต้องเข้มแข็ง” นายพิเชษฐ์ ระบุ

นอกจากนี้เห็นว่า สงร.ควรเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ ในเรื่องการตรวจสอบการใช้เงินของประเทศ โดยจะต้องตรวจสอบอย่างเข้มข้น ให้ สส. และ สว.ได้มีส่วนร่วม รวมทั้งจะต้องเป็นหน่วยงานที่มีความเป็นอิสระและมีข้อมูลเพื่อให้ สส. สว. นำไปใช้ในการพิจารณางบประมาณ และประชาชนสามารถเข้ามารับทราบงบประมาณของจังหวัดตัวเอง เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนใหเการกระจายงบประมาณทั่วถึง

“ปัจจุบันนี้สภาฯ อยู่อย่างประหยัด อยู่อย่างเท่ เราใช้เงินไม่หมด ก็คืนให้กับรัฐบาลทุกปี ปีหนึ่งงบ สส. และ สว.รวมแล้วประมาณ 5 พันล้านบาทที่ต้องคืน และ สส. ก็ไม่สามารถแปรญัตติเพิ่มงบประมาณให้กับตัวเองได้ เพราะกลัวขัดรัฐธรรมนููญที่ไม่ให้ สส. เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับงบประมาณไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เพราะกลัวเรื่องผลประโยชน์ของตัวเอง ตัวอย่าง งบในปี 68 เราได้งบฯ ทั้ง สส. และ สว. มีสัดส่วน 0.2 % ของงบทั้งประเทศ และเมื่อเทียบกับกระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงศึกษาธิการที่ได้มาก สภาฯ ยังได้น้อยกว่าบางกรมของกระทรวงเหล่านี้ ดังนั้นเราจะขับเคลื่อนประชาธิปไตยได้อย่างไร จึงทำให้ สส. ที่เป็นกรรมาธิการงบฯก็ไม่กล้าแปรญัตติเพิ่มให้ทั้งที่เราขอเพิ่มไป 800 ล้านบาท จึงขอฝากให้จัดงบปี 69 เพิ่มกิจกรรมให้มากขึ้น เพื่อให้ได้งบจาก 5,400 ล้านบาท เป็น 6,000 ล้านบาท ทั้งนี้การที่เราไม่ได้งบเพิ่ม จุดอ่อนคือสภาฯ ชี้แจงของบไม่ชัดเจน” รองประธานสภาฯ ระบุ

อย่างไรก็ตาม หากสภาฯ สามารถหางบได้ด้วยตัวเองก็เป็นการดี เพราะวันนี้เราแพ้ อบต. แพ้เทศบาล ที่งบประมาณเหลือ เขาสามารถสะสมงบประมาณได้ แต่สภาฯ ต้องคืนทุกปี เพราะเราไม่สามารถจัดการตัวเองเพื่อไม่ต้องคืนเงินที่เหลือจ่ายได้ ซึ่งตอนนี้ได้หารือกับฝ่ายกฎหมายของสภาฯ เพื่อร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขระเบียบบริหารราชการฝ่ายรัฐสภา เมื่อร่างสร็จแล้วก็ต้องส่งให้รัฐบาล เนื่องจากเป็นกฎหมายการเงิน เมื่อเข้าสภาฯ แล้ว เชื่อว่าทุกพรรคคงไม่ขัดข้อง ดังนั้นต่อไปนี้เราจะต้องสู้ และขอให้ สงร. ไปวิจัยว่าในปีงบประมาณปี 69 และ ปี 70 สภาฯ ควรมีงบประมาณเท่าไหร่ ซึ่งควรจะเพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อนำไปอ้างอิงกับสำนักงบประมาณ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'กูรูใหญ่' แฉเบื้องลึก! ทำไมนักการเมืองยุคนี้ไม่กลัว 'ยึดอำนาจ'

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย และอดีตกรรมการผู้ช่วยรองนายกรัฐมนตรี (พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า การเมืองไทยกำลังเข้าสู่ทางตัน

'ทวี' สวมบท สส. รับ 'คดีตากใบ' ไม่เป็นธรรม ไร้เงาผู้ต้องหา

'ทวี' ชี้ 'ตากใบ-ไฟใต้' ทุกภาคส่วนต้องร่วมหาทางออก ย้ำสังคมขาดความยุติธรรมมีความแตกแยก ผู้มีอำนาจอาจอยู่ไม่ได้ เร่งเยียวยาจิตใจคนชายแดนใต้

สภาฯถกด่วน 'คดีตากใบ' ก่อนหมดอายุความเที่ยงคืนนี้

สภาฯถกด่วน 'คดีตากใบ' หมดอายุความเที่ยงคืนนี้ 'รอมฏอน' ตั้งคำถามจำเลยลอยนวลต้องรับผิดชอบหรือไม่ 'กมลศักดิ์' ขอบคุณนายกฯ แสดงความเสียใจ ขอรัฐบาลแก้กม.ไม่ให้ขาดอายุความ

ทั่วโลกจับตา! 'คดีตากใบ' สะท้อนไทยล้มเหลว ปล่อยละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำ

แอมเนสตี้ฯ ประเทศไทย หวั่นคดีตากใบหมดอายุความ กลายเป็นใบเบิกทางละเมิดสิทธิมนุษยชนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอีก ชี้ชัด ทั่วโลกจับตาดูอยู่ เชื่อจะเป็นเรื่องที่ถูกพูดถึงบนเวทีสาธารณะระหว่างประเทศต่อเนื่อง