เลขาฯ กกต. ลุยเลือก สว.ระดับจังหวัด กำชับเจ้าหน้าปฏิบัติ 3 ข้อแบบเดียวกัน พร้อมวางแนวทางรับคำชี้ขาดจากศาลรัฐธรรม นูญไม่หวั่นเป็นผลบวก ผลลบ ได้สว.200 คนตามกฎหมาย
13 มิ.ย.2567 - ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. แถลงถึงการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. ได้มีการซักซ้อมกับ ผอ.การเลือก สว.ระดับจังหวัด 3 เรื่องคือ 1. ความเรียบร้อย ความเป็นมาตรฐานเดียวกัน และความเสมอภาคของผู้ปฏิบัติ เพราะ กกต.ได้ลงพื้นที่ และเห็นว่า ยังมีการปฏิบัติที่แตกต่างกัน จึงต้องเน้นย้ำ 2.เป็นข้อสังเกตการณ์ที่พบว่า มีการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน เช่น การตั้งหีบบัตร ซึ่งมีหลายอำเภอมีกลุ่มอาชีพที่มีผู้สมัครเพียงคนเดียว เมื่อเข้าสู่รอบไขว้ ซึ่งจะมีหีบสำหรับลงคะแนนเพียง 1 กล่องของสาย เพื่อให้การลงคะแนนของผู้สมัครเพียงคนเดียวของกลุ่มนี้เป็นความลับ แต่ปัญหานี้จะหมดไปเมื่อเข้าสู่การเลือกระดับจังหวัดเพราะกลุ่มอาชีพนั้นจะมีผู้สมัครเกินกว่า 1 คน เชื่อว่า เมื่อมีการซักซ้อมกันแล้ว การเลือกระดับจังหวัดจึงไม่น่าจะมีปัญหาอะไร
นายแสวง กล่าวต่อว่า และ 3.จากที่ได้รับความเห็น ข้อเสนอต่างๆ ในระดับอำเภอแล้ว ทางสำนักงานจึงเห็นว่า ในการเลือกระดับจังหวัดนั้น จะกำหนดให้ช่วงเช้าเป็นการเลือกรอบแรก ส่วนการเลือกรอบไขว้ หรือรอบสอง จะดำเนินการในช่วงบ่าย เพื่อให้เกิดความเรียบร้อยในสถานที่เลือก หรือจัดเลือกกลุ่มในช่วงเช้า จัดเลือกไขว้ในรอบบ่าย และการแนะนำตัวของผู้สมัครก็สามารถทำได้ แต่เน้นให้เป็นระเบียบ ไม่เดินขวักไขว่
นายแสวง กล่าวถึงความผิดว่าในการเลือก สว. ตามกฎหมายว่า มี 3 ลักษณะ 1. การรับสมัคร คือรู้ว่า ตัวเองไม่มีสิทธิลงสมัครแต่ก็ยังสมัคร มีการรับรองเอกสารเป็นเท็จ และรับจ้างสมัคร 2. กระบวนการและการดำเนินการ คือการเลือก พบว่ามีความผิดในการลงคะแนน นับคะแนน ซึ่งมีคำร้องที่ กกต.กำลังเร่งพิจารณาให้เสร็จก่อนการเลือกระดับจังหวัด รวม 8 เรื่อง และ 3. การเลือกที่ไม่สุจริตและเที่ยงธรรม คือการยอมให้พรรคการเมืองมาช่วยหาเสียง มีการให้เงิน ให้ทรัพย์สิน และมีการร้องเท็จ เรียกรับผลประโยชน์เพื่อเลือก หรือไม่เลือก ซึ่งสิ่งที่ กกต.ทำในเรื่องการสมัคร ที่มีการมองกันว่า มีคนมาสมัครเป็ฯกลุ่ม ใส่เสื้อสีเดียวกัน ถ่ายรูปมาจากร้านเดียวกัน เจ้าหน้าที่ได้มีการสอบถาม ผอ.ได้มีการสอบถามในวันที่มาสมัคร ว่ามีใครจ้างมาสมัครหรือไม่ จนทำให้บางรายรู้สึกไม่ดี อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังประมวลผล ส่วนเรื่องการดำเนินการ หรือการลงคะแนนก็มีการร้องเรียน ซึ่งกกต.มีการพิจารณาไปแล้วในบางส่วน
สำหรับความไม่สุจริตเกี่ยวกับการฮั้ว ความหมายของคำว่า ฮั้วไม่มีกฎหมายไหนนิยามเอาไว้ แต่กฎหมายที่ใกล้เคียงคือกฎหมายเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ แต่นเรื่องการเลือกตั้ง ก็จะหมายถึงการทำให้การแข่งขันไม่เป็นธรรม ซึ่งในการเลือก สว. เดิมเรามีกฎหมายที่จะใช้ดำเนินการ 2 ฉบับ คือกฎหมายเลือก สว. และระเบียบที่อยู่ในนิยามของการให้แนะนำตัวได้เท่านั้น ถ้าเกินกว่านี้ไม่ได้ เพราะศาลฎีกาวางแนวทางเอาไว้แล้วว่า การขอคะแนน แลกคะแนนทำไม่ได้ แต่ระเบียบนี้ถูกยกเลิกไป เหลือเพียงกฎหมายที่เอามาจับได้อย่างเดียว คือมาตรา 77 ต้องให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดถึงจะเข้าเงื่อนไขกฎหมาย ซึ่งถ้าดูพฤติการณ์ที่ผ่านมา ใส่เสื้อสีเดียวกัน บริษัทเดียวกัน ชักชวนกันมา แนะนำตัวเพื่อให้เขาเลือกสามารถทำได้แล้ว เพราะนิยามการแนะนำตัวตามระเบียบฯ มันถูกยกเลิกไป ตอนนี้จึงดูได้แต่เพียงว่า เขาได้ทำตามมาตรา 77 หรือไม่ เมื่อมีการลงคะแนนแล้วพบว่า ผู้สมัครได้ 0 คะแนน อย่างไรก็ตาม สำนำงานไม่ได้นิ่งนอนใจโดยให้จังหวัดตรวจสอบและรายงานมา แต่คงจะไปตรวจสอบจนตั้งเป็นสำนวนไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดว่า ไม่จำเป็นต้องเลือกตัวเองก็ได้ ทั้งนี้หากผู้สมัคร หรือประชาชนเห็นว่ามีพฤติกรรมที่เข้าข่ายผิดมาตรา 77 ก็สามารถร้องเรียนได้ ขณะเดียวกัน กกต.มีหน่วยเคลื่อนที่เร็วที่มีการติดตามการเลือก เพราะสำนักงานให้ความสำคัญกับการเลือกที่สุจริตและเที่ยงธรรม
เมื่อถามว่ามีผู้สมัครใช้วิธีการเดินสายร้องเรียนตามที่ต่างๆ โดยมีเจตนาให้คนเองเป็นที่รู้จักถือว่า เข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า การแนะนำตัวที่ไม่ผิดระเบียบ หรือกฎหมาย เขาก็สามารถทำได้ ส่วนที่มีการร้องว่า การเลือกระดับอำเภอนั้น ทาง กกต.ติดตั้งกล้องวงปิด มีแค่ภาพ แต่ไม่มีเสียง อีกทั้งยังเป็นภาพระยะไกล จะทราบได้อย่างไรว่า มีการฮั้วหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้ กกต.ได้ลงไปตรวจสอบติดตาม และสั่งให้สำนักงานแก้ไขเรื่องการจัดสถานที่สังเกตการณ์การเลือกสว.ระดับจังหวัด อยู่ใกล้กับสถานที่เลือก สามารถมองเห็นการเลือกและมีกล้องวงจรปิดที่สามารถเก็บเสียงเอาไว้ด้วย แต่พื้นที่สังเกตการณ์จะไม่ได้ยิน
เมื่อถามว่า มีกรณีการร้องเรียนการเลือกระดับอำเภอในสายที่มีกลุ่มอาชีพซึ่งมีผู้สมัครเพียงคนเดียว และตั้งหีบแยกไว้ จากนั้นมีการขานคะแนนทำให้การเลือกไม่เป็นความลับ นายแสวง กล่าวว่า ยังไม่ทราบข้อมูลนี้ จึงขอไปตรวจสอบก่อน ส่วนกรณีบางพื้นที่มีผู้พอการเกิดอุบัติเหตุ ก็กำชับเรื่องการจัดสถานที่ ซึ่งเชื่อว่า สถานที่เลือกระดับจังหวัดจะดีกว่าระดับอำเภอ ส่วนกรณีที่มีคนตั้งคำถามว่า เหตุใดมีคนไม่มีรายชื่อสามาถเข้ารับการเลือก สว.ระดับอำเภอได้นั้น เป็นเพราะบางคนศาลฎีกาคืนสิทธิให้ ทาง ผอ.การเลือกจึงเพิ่มชื่อเข้าไป ส่วนระดับจังหวัดที่กำลังจะเลือกนี้ ก็จะมีการตรวจสอบคุณสมบัติเพิ่มเติม หากพบใครไม่มีคุณสมบัติ ก็สามารถคัดชื่อออกได้เช่นเดียวกัน ซึ่งหากใครถูกคัดชื่อออกก็สามารถร้องต่อศาลฎีกาได้ภายใน 3 วัน แต่กรณีเช่นนี้มีน้อยมาก
ด้านนายฐิติเชฏฐ์ นุชนาฏ กกต.กล่าวย้ำว่า ผู้สมัคร สว.คนใดถ้าเห็นว่าการเลือกไม่ได้เป็นไปโดยสุจริต เที่ยงธรรม และไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมี 3 กรณีสามารถที่จะร้องคัดค้านได้ตามมาตรา 64 แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นผู้สมัคร ซึ่ง กกต. ก็ไม่ได้ละเลยหน้าที่ในกรณีที่มีคนร้อง ส่วนกรณีผู้สมัครไปร้องการเลือกในต่างอำเภอ กกต. ก็จะยกคำร้องเนื่องจากไม่เป็นไปตามระเบียบสืบสวนของเรา แต่ก็ไม่ได้ตัดสิทธิ กกต.ที่จะพิจารณาคำร้องนั้นให้เป็นเหตุอันควรสงสัยหรือความปรากฎ ซึ่งการพิจารณาคำร้องของ กกต.เราพิจารณาทุกวัน ไม่ว่า กกต.จะอยู่ที่ไหน เราก็จะเรียกประชุม ไม่ต้องกลัวว่าจะมีคำร้องค้าง การพิจารณาคำร้องเมื่อพนักงานของเรารับคำร้องแล้วจะต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากที่ได้รับคำร้อง แล้วต้องรายงานให้ กกต.ทราบภายใน 3 วัน ไม่ต้องกลัวแม้ว่าจะเป็นวันหยุด เนื่องจาก กกต.จะทำงานด้วยความรวดเร็วจะเร่งพิจารณาทุกคำร้อง ซึ่บัดนี้คำร้องเมื่อวานและวันนี้เราพิจารณาเสร็จแล้ว เหลือคำร้องพรุ่งนี้
เมื่อถามว่า พรรคก้าวไกล มองว่าจะมีการล้มกระดานเลือก สว.ในครั้งนี้นายฐิติเชฏฐ์ กล่าวว่า อันนั้นเป็นการคาดเดา เราเตรียมแผนไว้แล้ว ว่าจะดำเนินการอย่าไรหลังจากได้ สว.ตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด เรามีแผนที่จะดำเนินการในสิ่งนั้น เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายทุกประการ ไม่ต้องกลัว
เมื่อถามถึงกรณีศาลรัฐธรรมนูญจะมีการวินิจฉัยคำร้อง ตรวจสอบ 4 มาตราของพ.ร.ป. พ.ศ. 2561 ประกอบด้วย มาตรา 36 ,40 ,41 และมาตรา 42 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 107 หรือไม่ โดยศาลนัดชี้ขาดในวันที่ 18 มิ.ย.นี้ จะส่งผลต่อการเลือกสว.หรือไม่ นายแสวง กล่าวว่า ต้องรอฟังคำสั่งศาล ซึ่งหากผลเป็นลบ ทาง กกต.ได้มีมาตรการก็รองรับทุกประตู แต่ยังบอกรายละเอียดไม่ได้ ขอให้รอดูวันที่ศาลพิพากษา ซึ่งเรารอมาได้ 7 วัน ให้รออีก 7 วันก็รอได้
เมื่อถามว่า กกต.ยังมั่นใจใช่หรือไม่ ว่าจะได้สว. 200 คน เพราะมีการวิเคราะห์สถานการณ์ขณะนี้ว่าจะมี 3 ล้มกระดาน คือล้มพรรคก้าวไกล ล้มนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และล้มการเลือกสว.นายฐิติเชฏฐ์ กล่าวว่า อันนั้นเป็นการคาดเดา แต่เรามีแผนไว้แล้วว่าได้ สว. 200 คนไว้แล้ว เราจะดำเนินการอย่างไร เราจะดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายทุกประการ ไม่ต้องกลัว.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2
จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง
ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง
ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา