11 มิ.ย. 2567 - นางสาวเกณิกา อุ่นจิตร์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ
รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 มิได้กำหนดจำนวนไว้ แนวปฏิบัติที่ผ่านมาการกำหนดจำนวนคณะกรรมาธิการฯ จึงเป็นไปตามมติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรในการประชุม วาระที่ 1 โดยในปีงบประมาณที่มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นคณะกรรมาธิการฯ (ปี 2545-2549, ปี 2552-2557 และปี 2563) จำนวนกรรมาธิการฯ อยู่ระหว่าง 63-34 ท่าน และปีงบประมาณ พ.ศ. 2564-2567 จำนวน 72 ท่าน
การตั้งคณะกรรมาธิการฯ ในสัดส่วนคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 91 วรรคสอง กำหนดไว้ว่า “การเลือกตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญให้ตั้งจากบุคคลที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อมีจำนวนไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำนวนกรรมาธิการทั้งหมด จำนวนนอกจากนั้นให้ที่ประชุมเลือกจากรายชื่อที่สมาชิกเสนอ โดยให้มีจำนวนตามหรือใกล้เคียงกับอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกของแต่ละพรรคการเมืองที่มีอยู่ในสภา”
สงป. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติที่ผ่านมาเกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมาธิการฯ และเป็นไปตามข้อบังคับการประชุมผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ข้อ 91 วรรคสอง จึงขอเสนอแนวทางเกี่ยวกับการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ จำนวน 72 ท่าน เท่ากับจำนวนที่มติที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2567 โดยกำหนดสัดส่วนของคณะกรรมาธิการฯ ดังนี้
-กรรมาธิการฯ ที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อ จำนวน 18 ท่าน ซึ่งเป็นจำนวนไม่เกินหนึ่งในสี่ของจำนวนคณะกรรมาธิการวิสามัญฯ หรือจำนวนไม่เกิน 18 ท่าน
-กรรมาธิการฯ ในสัดส่วนพรรคการเมือง จำนวน 54 ท่าน สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร (สำนักการประชุม) ได้ประสานและแจ้งแนวทางการกำหนดสัดส่วนกรรมาธิการฯ แบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายรัฐบาล จำนวน 34 ท่าน และสมาชิกผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน จำนวน 20 ท่าน ซึ่งจะมีการคัดเลือกตามกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติต่อไป
-กรรมาธิการฯ ในสัดส่วนที่คณะรัฐมนตรีเสนอชื่อจำนวนไม่เกิน 18 ท่าน เห็นสมควรให้คณะรัฐมนตรีพิจารณากำหนดตามความเหมาะสมต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!
นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง
ปากไว! นายกฯ อบรม 'พ่อนายกฯ' รอที่ประชุมเคาะก่อนไปพูดบนเวทีแจกเงินหมื่น
น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณี นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ขึ้นเวทีปราศัยหาเสียงเลือกตั้งท้องถิ่น มอง