‘ก้าวไกล‘ เปิด 9 ข้อต่อสู้ ’คดียุบพรรค‘ ’พิธา‘ ร่ายยาว ‘คำร้องของ กกต. มิชอบด้วยกฎหมาย-ไม่ผูกพันกับคำวินิจฉัยคดีเซาะกร่อนบ่อนทำลาย-โทษยุบพรรคต้องใช้เมื่อมีความจำเป็น‘ มอง ต่างจากยุบอนาคตใหม่-ไทยรักษาชาติ
9 มิ.ย.2567 – ที่อาคารอนาคตใหม่ ที่ทำการพรรคก้าวไกล นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สส.บัญชีรายชื่อและประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรค แถลงข่าวเรื่องการต่อสู้คดียุบพรรค คำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยเพื่อมีคําสั่งยุบพรรคก้าวไกล กรณีมีหลักฐาน อันควรเชื่อว่าพรรคก้าวไกล มีพฤติการณ์กระทําการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเข้าลักษณะกระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
โดยมี 9 ข้อ ดังนี้ หมวดหมู่ เขตอำนาจและกระบวนการ 1.ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีเขตอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้
2. กระบวนการยื่นคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หมวดหมู่ ข้อเท็จจริง
3. คำนิจฉัยเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ไม่ผูกพันกับการวินิจฉัยคดีนี้
4. การกระทำที่ถูกกล่าวหา ไม่ล้มล้าง ไม่อาจเป็นปฏิปักษ์
5. การกระทำตามคำวินิจฉัยเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 67 ไม่ได้เป็นมติพรรค
หมวดหมู่ สัดส่วนโทษ
6. โทษยุบพรรคต้องเป็นมาตรการสุดท้าย เมื่อจำเป็น ฉุกเฉิน ฉับพลัน และไม่มีวิธีแก้ไขอื่น
7. ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีอำนาจตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค
8.จำนวนปีในการตัดสิทธิทางการเมือง ต้องได้สัดส่วนกับความผิด
9. การพิจารณาโทษ ต้องสอดคล้อง กับชุดกก.บห.ในช่วงที่ถูกกล่าวหา
นายพิธา ยืนยันว่า สิ่งที่พวกเราต่อสู้ตั้งแต่การยุบพรรคอนาคตใหม่ ในเรื่องขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราก็ได้สู้แล้วว่าศาลรัฐธรรมนูญเรามีอำนาจในการพิจารณาเรื่องนี้ เพราะในรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 ระบุชัดเจนว่า อำนาจเฉพาะของศาลรัฐธรรมนูญ มีหน้าที่และอำนาจดัง 3 ข้อ ต่อไปนี้ 1. พิจารณาวินิจฉัยเกี่ยวกับกฎหมายและร่างกฎหมาย 2. พิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับอำนาจ และหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา รัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรอิสระ 3. หน้าที่และอำนาจอื่นตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งพวกตนได้ศึกษารัฐธรรมนูญ ก็ไม่มีอำนาจข้อไหนที่ระบุว่า ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตัดสิทธิการเมือง ซึ่งอีกย่อหน้าก็ระบุว่า อะไรที่นอกเหนือจากที่บัญญัติไว้รัฐธรรมนูญแล้ว ให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของกระบวนการ แต่ไม่ใช่บ่อเกิดอำนาจ ที่ศาลให้รัฐธรรมนูญมีขอบเขตอำนาจมากกว่า 3 ข้อนี้
นายพิธา ระบุว่า ส่วนกระบวนการ กกต. ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่มีโอกาสให้ผู้ถูกร้อง นั่นก็คือพรรคก้าวไกล รับทราบ โต้แย้ง หรือแสดงพยานหลักฐานของตนแต่อย่างใด คดียุบพรรคก้าวไกลต่างจากการยุบพรรคอนาคตใหม่ และพรรคไทยรักษาชาติ (ทษท.) ในเรื่องของระเบียบและหลักเกณฑ์ของกกต. สิ่งที่เราถูกร้อง กกต. ยื่นคำร้องยุบพรรคดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 92 ซึ่งระบุว่า เมื่อคณะกรรมการมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น แต่ประเด็นทางกฎหมาย มาตรา 92 ต้องประกอบกับมาตรา 93 ซึ่งมาตรา 92 คือข้อหา มาตรา 93 คือวิธีพิจารณา เพราะมาตรา 93 ระบุไว้ชัดเจนว่า
“เมื่อปรากฏต่อนายทะเบียนของพรรคการเมืองใด กระทำตามมาตรา 92 ให้นายทะเบียนรวบรวมข้อเท็จจริงและพยาน หลักฐานพร้อมทั้งเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการ เพื่อพิจารณา ซึ่งมาตรา 92 และ 93 ไม่ได้แยกออกจากกันเป็นเอกเทศ หากจะมีการพิจารณาคดีที่มีผลกระทบสูงขนาดนี้ ต้องพิจารณากฎหมายอย่างครบถ้วน ต้องใช้มาตรา 92 ประกอบกับมาตรา 93 เท่านั้น ในมาตรา 93 ระบุชัดเจนว่า การรวบรวมข้อมูลที่จะยื่นยุบพรรคนั้น ต้องมีหลักเกณฑ์และวิธีการ หลักเกณฑ์และวิธีของกกต. ในการยุบพรรคการเมืองทั้งสามพรรค อย่างพรรคอนาคตใหม่ พรรคไทยรักษาชาติ และพรรคก้าวไกลมีความแตกต่างกัน” นายพิธา ระบุ
นายพิธา ระบุว่า โดยหลักเกณฑ์และวิธีของ กกต. เกี่ยวกับมาตรา 93 ได้เปลี่ยนไปในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 สมัยพรรคอนาคตใหม่ และพรรคไทยรักษาชาติไม่มีเกณฑ์นี้ ศาลรัฐธรรมนูญบอกว่า เนื่องจากไม่มีหลักเกณฑ์ในการรวบรวมข้อมูลในการสนับสนุนการยุบพรรค อนุโลมด้วยระบบวิธีพิจารณาอาญา ปี 2560 ในระเบียบกกต. 2566 ระบุไว้ชัดเจนในข้อ 7 ว่า การดำเนินการตามวรรคหนึ่ง บุคคลและคณะบุคคลที่นายทะเบียนแต่งตั้ง ต้องให้ผู้ร้องหรือพรรคการเมืองแล้วแต่กรณี มีโอกาสรับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสได้โต้แย้ง และแสดงพยานหลักฐานของตน ก่อนมีการเสนอรายงานรวบรวมข้อเท็จจริงต่อนายทะเบียนพิจารณา
นายพิธา ระบุว่า ในข้อ 9 ระบุว่า เมื่อนายทะเบียนพิจารณาข้อเท็จจริงเสร็จแล้ว มีหลักฐานอันสมควร ก็ให้คณะกรรมการเห็นชอบ ฉะนั้นกระบวนการมีความชัดเจนตามหลักเกณฑ์ปี 66 ว่า นายทะเบียนเป็นคนดำเนินการ ต้องตั้งคณะรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐาน และให้โอกาสพรรคก้าวไกลในการรับทราบ โต้แย้ง และยื่นหลักฐานของตน หลังจากนั้นหากนายทะเบียนเห็นด้วย นายทะเบียนจึงค่อยส่งหลักฐานให้กับกกต. อีกรอบ
นายพิธา ระบุว่า หากอ้างอิงจากเอกสาร กกต. การสิ้นสุดของพรรคการเมือง และการเทียบปรับ ซึ่งประกอบไปด้วยแผนภูมิระบุว่า ผังขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินการตามระเบียบ กกต. ว่าด้วยการรวบรวมข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานของนายทะเบียนพรรคการเมือง พ.ศ. 2566 ซึ่งในแผนผังจะลงมาที่นายทะเบีบนพรรคการเมือง ดูว่าพยานหลักฐานเพียงพอหรือไม่ และหลังจากนี้จะยุติเรื่องหรือดำเนินการ ในกรณีก้าวไกลไปที่ดำเนินการ ดำเนินการเสร็จแล้วก็ต้องแจ้งให้ กกต. ทราบ ซึ่งในผังระบุชัดเจนว่า ต้องเปิดโอกาสให้ผู้ถูกร้องและพรรคการเมืองได้รับทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ และมีโอกาสโต้แย้งพยานหลักฐาน ตรงตามหลักเกณฑ์กกต. ปี 66
“ ซึ่งกระบวนการนี้ไม่เคยเกิดขึ้น พรรคก้าวไกลไม่มีโอกาสได้รับทราบข้อเท็จจริง โต้แย้ง หรือนำพยานหลักฐานไปชี้แจงกับกกต. ฉะนั้นการยื่นคำร้องคดีนี้ขัดต่อระเบียบที่กกต. ตราขึ้นเอง และการยื่นคำร้องในครั้งนี้ จึงไม่ชอบให้กฎหมาย ซึ่งผมได้ไล่ดูในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ว่ากระบวนการที่กกต. จะทำวัตถุพยานการยื่นคำร้อง ต้องผู้ถูกกล่าวหามีส่วนร่วม” นายพิธา ระบุ
นายพิธา กล่าวว่า สำหรับคำวินิจฉัยว่าวันที่ 31 มกราคม ปี 67 ผูกพันการวินิจฉัยคดีนี้ หลายคนอาจจะคิดว่าข้อเท็จจริงได้รับการวินิจฉัยเป็นที่สุดแล้ว แต่กกต. ยังใช้คำวินิจฉัยในคดีวันที่ 31 มกราคม เป็นเพียงหลักฐานเดียวในการยื่นยุบพรรคในครั้งนี้ แล้วหวังว่าจะมีความผูกพันคดี ในการที่คดีหนึ่งจะผูกพันกับอีกคดีได้ ก็ต่อเมื่อเป็นไปตาม 2 กรณีนี้เท่านั้น 1. เป็นข้อหาเดียวกัน ซึ่งในกรณีของเราต่างข้อหาก็เท่ากับต่างวัตถุประสงค์ 2. ถ้าระดับโทษใกล้เคียงกัน ก็อาจจะมาเทียบเคียงให้มีความผูกพันคดีได้ ซึ่งคดีเมื่อเดือนมกราคม ซึ่งโทษทั้ง 2 คดีนี้มีความแตกต่างกันมหาศาล มาตรฐานการพิสูจน์จึงเข้มข้นต่างกัน
“ยกตัวอย่าง ในคดีแพ่งไม่ผูกพันคดีอาญา แม้จะเป็นข้อเท็จจริงเดียวกัน เนื่องจากความเข้มข้นของมาตรการพิสูจน์คดีแพ่งต่ำกว่าคดีอาญา สำหรับคดียุคพรรคและตัดสิทธิการเมืองมีสภาพความรับผิดเทียบเท่าโทษอาญา สุดท้าย โทษยุบพรรคต้องเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อจำเป็น ฉุกเฉิน ฉับพลัน และไม่มีวิธีอื่นแก้ไข ในระบบประชาธิปไตย ต้องระบุให้ชัดเจนว่า โทษยุบพรรคมีได้ในระบบประชาธิปไตย แต่โทษการยุบพรรคต้องมีไว้เพื่อปกป้องประชาธิปไตย การยุบพรรคจึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง และเป็นมาตรการสุดท้ายเมื่อไม่มีทางเลือกอื่นเท่านั้น สำหรับข้อหาที่เราโดน ไม่ว่าจะเรื่องนโยบายหาเสียง การแสดงความเห็นในสาธารณะ การเป็นนายประกันหรือเป็นผู้ต้องหา การรณรงค์แก้กฎหมาย กกต.ยกคำร้องการยุบพรรคก้าวไกลมาโดยตลอด” นายพิธา ระบุ
นายพิธา ระบุด้วยว่า ต้องเรียนว่าว่ากกต. ผู้ที่มีความรู้ทางกฎหมายและรับผิดชอบเรื่องพรรคการเมืองโดยตรง ในคดียุบพรรคไทยรักษาชาติ ศาลระบุว่าข้อเท็จจริงไม่ได้พิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำ แต่พิจารณาจากความเข้าใจของวิญญูชน ว่าอาจจะเป็นสิ่งที่ทำให้เป็นปฏิปักษ์จึงตัดสินใจยุบพรรค ซึ่งกกต. เป็นมากกว่าวิญญูชนแล้ว ซึ่งทางกกต. ก็ไม่มีการทักท้วงและยกคำร้องทั้งหมด ในขณะที่บางพรรคกระทำเข้าข่ายความผิด ทางกกต. ก็ได้ทำการออกหนังสือเตือน แต่ในกรณีของพรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกในสาธารณะ ในขณะนั้นหลายพรรคการเมืองก็แสดงออกเช่นกันในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง ก็เห็นได้ชัดเจนว่า ไม่ได้เป็นปฏิปักษ์ อย่างกรณีพรรคไทยรักษาชาติ ข้อ 2. สภายังสามารถยับยั้งแก้ไขได้ ซึ่งหากการแก้ม.112 จะเข้าสภาได้และมีการอภิปรายในเรื่องนี้ ก็ยังสามารถยับยั้งแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่นด้วยระบบนิติบัญญัติ ศาลรัฐธรรมนูญสามารถใช้สิทธิวีโต้ได้ ทั้งก่อนและหลังกฎหมายผ่านบังคับใช้จากสภา แสดงให้เห็นว่าระบบนิติบัญญัติสามารถยับยั้งได้ด้วยตนเอง
นายพิธา ยกตัวอย่างในกรณีของประเทศเยอรมัน พรรค NPD ในปี 2017 มีการแสดงออกด้วยอุดมการณ์นาซี ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าล้มล้างแต่ไม่ยุบ แต่ไม่มีหลักฐานอาจเป็นรูปธรรม ที่พิสูจน์ได้ว่าแนวคิดของ NPD มีโอกาสจะประสบความสำเร็จได้ โดยไม่ได้ใกล้เคียงต่อผลถึงขนาดจำเป็นต้องยุบพรรค
“แสดงให้เห็นว่าการยุบพรรคในระบบประชาธิปไตยมีได้ แต่ต้องเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินที่ฉับพลัน ซึ่งหากปล่อยไปจะเสียหายไม่มีวิธีอื่นแก้ไขแต่ในกรณีของพรรคก้าวไกล ไม่ว่าจะเป็นการสั่งชะลอจากกกต. ระบบนิติบัญญัติ และการกระทำที่ยังไม่เกิดขึ้น และเมื่อมีคำวินิจฉัยในเดือนมกราคม พรรคก้าวไกลก็หยุดการกระทำ ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการสุดท้ายในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งหากมีการใช้ ก็เท่ากับว่าเป็นการทำลายประชาธิปไตยเสียเอง ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ” นายพิธา ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘เทพไท’ สะท้อนประสบการณ์ตรง ‘ยุบพรรค-ตัดสิทธิ์การเมือง’ ทำได้แค่ไหน
ในฐานะผู้มีประสบการณ์ตรง และถูกศาลอาญาพิพากษาตัดสิทธิ์ทางการเมือง 10 ปี จนถูกคณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ห้ามใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งในทุกกรณี
'นิด้าโพล' ชี้ประชาชน กว่า 61% ไม่เห็นด้วยกับโทษยุบพรรค ในคดีล้มล้างการปกครอง
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจของประชาชน เรื่อง “ยุบพรรค ตัดสิทธิทางการเมือง” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2567 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ
'ดร.ณัฏฐ์' ชี้กรณี 'ทักษิณ-พท.' รอดคดีล้มล้างฯ ไม่ตัดอำนาจ 'กกต.' ไต่สวนยุบพรรคได้
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ยกคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยว่าการกระทำของนายทักษิณ ชินวัตร และพรรคเพื่อไทยเป็นการ
ปักธง1ภาค1เก้าอี้นายกอบจ. ส้มเก็บชัยหรือระเนระนาด
นับถอยหลังสู่โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งจะเกิดขึ้นในวันที่ 24 พ.ย.นี้ ระหว่าง นายคณิศร ขุริรัง ผู้สมัครจากพรรคประชาชน และนายศราวุธ เพชรพนมพร ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย
‘พิธา’อ้อนให้รอ9ปี พร้อมเป็นนายกฯดีกว่าเดิม/‘พท.’มั่นใจ‘ทักษิณ’ยังขายได้
"แกนนำพรรคส้ม" เดินสายหาเสียงนายก อบจ.อุดรฯ ต่อเนื่อง "ชัยธวัช" ลั่นนโยบายที่ท้องถิ่นในอดีตไม่พร้อมทำ "ปชน." พร้อมทำให้ดู
โค้งสุดท้ายศึกนายกอบจ.อุดรฯ เดิมพันสูง พท.VSปชน.แพ้ไม่ได้
นับจากวันจันทร์ที่ 18 พ.ย.ก็เหลืออีกเพียง 7 วันเท่านั้น ก็จะถึงวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ศึกนายกฯ อบจ.อุดรธานี ทำให้ตอนนี้ถือว่าเข้าสู่ช่วงโค้งสุดท้ายที่จะได้รู้กันแล้วว่า