'โรม' กระทุ้ง สมช. ควรมีบทบาทกว่านี้ ทำงานเชิงรุก แก้ปัญหาความมั่นคง

31พ.ค.2567 - ที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ทำเนียบรัฐบาล นายรังสิมันต์ โรม ประธานกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐกิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติ และการปฏิรูปประเทศ ให้สัมภาษณ์ก่อนประชุมร่วมกับ พล.ต.อ.รอย อิงคไพโรจน์ เลขาธิการสมช. และผู้บริหาร สมช. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันว่า กมธ.ทำงานร่วมกับสมช.ในหลายเรื่อง โดยเฉพะปัญหาความไม่สงบในประเทศเมียนมา รวมไปถึงแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเกี่ยวโยงกับเรื่องไฟฟ้า อินเตอร์เน็ต ซึ่งเรื่องไฟฟ้าเราเคยให้การบ้าน สมช. ให้ช่วยเราคิดว่าบริษัทที่กำลังมีการพิจารณาเพื่อจะต่อไฟฟ้าไปยังที่ทำการของแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ เราจะยอมให้ต่อไฟฟ้าไปหรือไม่ รวมไปถึงการหารือมิติความมั่นคงด้านต่างๆ ในเรื่องความมั่นคงปลอยภัยทางไซเบอร์ โดยเรื่องแก๊งค์คอลเซ็นเตอร์ ไม่ใช่แค่กระทรวงใดกระทรวงหนึ่งจะแก้ปัญหาได้

“วันนี้มาเน้นย้ำเรื่องประเทศเมียนมา เพราะมีความท้าทายเยอะ รวมถึงเรื่องชายแดนภาคใต้ ที่สมช.มีบทบาทเยอะ ในการส่งเสริมการแก้ไขปัญหา เนื่องจากตั้งแต่พล.ต.อ.รอย มารับตำแหน่งเลขาธิการ สมช. เราไม่ได้หารือกันเลย และจะมีการติดตามงานต่างๆที่กมธ. เคยพูดคุยกับ สมช. เอาไว้”

นายรังสิมันต์ กล่าวว่า สำหรับเรื่องยาเสพติด แม้จะเป็นหน้าที่ของ ป.ป.ส. แต่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง โดยตามแนวชายแดนมีการก่อตัวของรัฐยาเสพติด ทำให้เป็นปัญหาความมั่นคง ซึ่ง ป.ป.ส. ไม่ได้รับผิดชอบในภาพรวมของความมั่นคง โดย สมช. สามารถเข้าไปมีบทบาทในทุกมิติได้ เราอยากเห็นการทำงานของ สมช. ต่อเนื่องให้มากกว่าที่เป็นอยู่ และต้องเป็นการทำงานเชิงรุก

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กมธ.มั่นคงฯ ขอดูลาดเลาปม MOU44 ให้รอบด้าน

'กมธ.มั่นคง' ขอฟังข้อมูลปม MOU 44 รอบด้าน หลังหลายฝ่ายมีความเห็นต่าง 'โรม' ยันยึดประโยชน์ประเทศชาติเป็นหลัก เล็งใช้กลไกสภาเดินหน้าตรวสอบ เหตุเรื่องรื้อรังมานาน

'เสรีพิสุทธ์-โจ๊ก' เบี้ยวแจง กมธ.ปมทักษิณนอนชั้น 14 อดีตรองแพทย์ใหญ่ชิ่งบอกอยู่ช่วงเออรี่รีไรท์

'กมธ. ความมั่นคงฯ' ถกปม 'ทักษิณ' รักษาตัวชั้น 14 ด้าน 'บิ๊กโจ๊ก-เสรีพิศุทธ์' ไม่มา ขณะที่ 'ผอ.ราชทัณฑ์' ยัน เป็นไปตามกฎกระทรวง ส่วนอดีตรองแพทย์ใหญ่ ไม่ทราบเรื่องการรักษา อ้างอยู่ช่วงเออรี่รีไรท์-ลาพักร้อน

ครม. ไฟเขียวหลักเกณฑ์เร่งรัดแก้ปัญหาสัญชาติกว่า 4.8 แสนคน

นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนออนุมัติหลักเกณฑ์ เพื่อเร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหาสัญชาติ, สถานะของกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาในไทยเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดขึ้นในราชอาณาจักรไทย