ประธานกมธ.การเมือง ชี้เรื่องใหญ่ ผู้สมัคร สว. 10 คน ถูก กกต.ปัดตกทั้งที่ไม่ได้ทำผิด

“ไอติม” ตั้งความหวังกติกาเลือก สว. บังคับใช้ครั้งเดียวพอ บอกจากจิตใต้สำนึก เห็นใจคนถูกปัดตก เหตุระดับอำเภอคนสมัครน้อย สงสารไม่ได้ทำผิด กม. แถมเสียค่าสมัครฟรี ชี้ช่องต้นตอ กกต.ยังประชาสัมพันธ์ไม่ดีพอ มองระบบเลือก สว. ควรสอดคล้องหลักประชาธิปไตยสากล แย้ม กมธ.พัฒนาการเมืองเตรียมส่งคนสังเกตการณ์ ส่งเอกสารแจ้ง กกต.แล้ว

28 พ.ค.2567 - ที่รัฐสภา นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ โฆษกพรรคก้าวไกล ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีมีผู้สมัครรับเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) 10 คน ใน 7 อำเภอ ถูกปัดตกรอบ เพราะผู้สมัครน้อยจนไม่สามารถเลือกไขว้สายได้ ว่า เป็นเรื่องใหญ่ เพราะในมุมหนึ่งคือการทำให้ประชาชนถูกตัดสิทธิ์ในการเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก เขาต้องสูญเสียเงินค่าสมัครไปด้วย อาจจะไม่ได้รับคืน ทั้งที่ความจริงเขาไม่ได้ทำอะไรผิด ตนคิดว่าพอไปดูต้นตอของปัญหานี้ ก็ต้องมองเป็น 2 ปัญหา ปัญหาแรก คือตัวกฎหมาย เพราะการไปล็อกว่าอย่างน้อยต้องมีผู้สมัครขั้นต่ำ 3 กลุ่มอาชีพ ถึงสามารถดำเนินการเลือกไขว้ได้ ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.ป.รัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา นอกจากนี้ กติกาการคัดเลือก สว.สร้างความสับสนพอสมควร ทำให้เราจะไม่ได้มี สว.ที่มาจากโครงสร้างอำนาจที่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยสากล ปัญหาที่สอง คือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) สะท้อนให้เห็นว่า กกต.ยังทำหน้าที่ไม่ดีพอในการประชาสัมพันธ์ให้มีคนมาเข้าสู่กระบวนการรับสมัคร 

เมื่อถามว่าจะเป็นการลิดรอนสิทธิ์ของผู้สมัครหรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า แน่นอน เพราะทำให้ประชาชนที่สมัครเข้ามาสูญเสียทั้งสิทธิในการเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก และสูญเสียเงินค่าสมัครไปฟรีๆ ทั้งที่เขาไม่ได้ทำผิดกฎหมาย ยังไม่นับเวลาในการเตรียมใบสมัครอีกด้วย ส่วนคนที่ถูกตัดสิทธิ์ไปฟ้องร้องได้หรือไม่ นายพริษฐ์ ระบุว่า ในเชิงกฎหมายต้องศึกษาเพิ่มเติม แต่ในเชิงการเมืองหรือสามัญสำนึก ตนก็เห็นใจคนที่โดนตัดสิทธิ์

เมื่อถามว่ากติกาแบบนี้อาจได้คนที่ไม่ตรงสเป็กของการเป็น สว.หรือไม่ นายพริษฐ์ กล่าวว่า เป็นประเด็นที่คาดการณ์ยากมาก ว่า สว.ชุดใหม่ที่จะเข้ามาทำหน้าที่จะมีคุณสมบัติร่วมกัน หรือทักษะ จุดเด่นเรื่องไหนบ้าง เพราะการคัดเลือกเป็นกระบวนการที่เพิ่งนำมาใช้เต็มรูปแบบครั้งแรก ขณะที่ไม่เคยใช้ที่ประเทศอื่น เนื่องจากมีความซับซ้อน ทำให้เราคาดการณ์ได้ยาก ซึ่งเราสามารถทำได้ด้วยการทำให้กระบวนการทั้งหมดราบรื่น ทันเวลา โปร่งใส และเป็นธรรมที่สุด โดย กมธ.พัฒนาการเมืองฯ จะเข้าไปร่วมสังเกตการณ์ด้วย ตนได้ทำหนังสือถึง กกต.เรียบร้อยแล้ว ซึ่ง กกต.ก็ต้องการเปิดกว้างให้ภาคประชาชนเข้าร่วมสังเกตการณ์ได้ 

เมื่อถามว่าหากการเลือก สว. ครั้งนี้ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ ก่อนเลือกครั้งหน้าต้องร่างกฎหมายใหม่หรือไม่ นายพริษฐ์ ตอบว่า ส่วนตัวหวังว่าจะไม่มีกระบวนการแบบนี้เกิดขึ้นอีก อยากให้การเลือกแบบนี้เป็นครั้งเดียวและครั้งสุดท้าย ส่วนการแก้กฎหมายในอนาคตจำเป็นต้องหยิบยกขึ้นมาถกเถียง อาจจะมี 2 โจทย์หลักๆ คือประเทศเราจำเป็นต้องมีวุฒิสภาหรือไม่ และหากจำเป็นต้องมีจะทำอย่างไรให้สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตยสากลคือการมาจากการเลือกตั้งของพี่น้องประชาชน

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

มติ 153 สว. ยืนประชามติ 2 ชั้น! อบรม 'ไอติม' พูดได้ไงจะมีผู้รณรงค์ให้ปชช.นอนหลับทับสิทธิ์

สว. ยกมือพรึ่บ 153 เสียง ผ่านกม.ประชามติ ฉบับกมธ.ร่วมฯ ยึดเสียงข้างมากสองชั้น ก๊วนสว.พันธุ์ใหม่ โวยดัดจริต สองมาตรฐาน โธ่! "ไอติม" โชว์กึ๋นนักเรียนนอก บอกสองชั้นเปิดช่องรณรงค์ให้ประชาชนนอนหลับทับสิทธิ์ สว.สีน้ำเงิน สวนทันควันใครจะกล้าทำแบบนั้น

ยังไม่ชัด! "อิทธิพร" เผย 'หมอเกศ' ถูกร้อง 'หลอกลวง-ฮั้ว' เลือกสว. ต้องเรียกหลักฐานเพิ่ม

ที่โรงแรมเซ็นทารา ไลฟ์ ศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ นายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภ

'พริษฐ์' เข้าทำเนียบ ฝากนายกฯโน้มน้าว สส.-สว.ทำประชามติ 2 ครั้ง ให้ทันเลือกตั้งปี 70

นายพริษฐ์ วัชรสินธ์ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนหารือกับนายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

มติเอกฉันท์! ศาลรธน. ตีตก 7 คำร้อง ขอให้วินิจฉัยเลือก สว. ไม่ชอบ

ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่รับ 7 คำร้องที่มีการร้องขอให้วินิจฉัยเกี่ยวกับการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ประกอบด้วยคำร้องของนายสมบูรณ์ ทองบุราณ,นายวัฒนา ชมเชย ,ว่าที่ร.ต.วิชชุกร คำจันทร์ นายจิรัฎฐ์ แจ่มสว่าง,นายปรีชา เดชาเลิศ,นางฤติมา กันใจมา,

'ไอติม-กมธ.การเมือง' รุดขอความชัดเจนศาลธรน. หวังได้คำตอบปมทำประชามติ 2 ครั้ง

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาชน ในฐานะประธานกรรมาธิการการเมืองการมีส่วนร่วม สภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ก่อนเข้าร่วมหารือกับประธานศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ว่า อย่างที่เราทราบกันดีว่าการ