ระเบียบแนะนำตัว สว. ส่อวุ่น ตุลาการผู้แถลงคดี เสนอองค์คณะเพิกถอน 5 ข้อกำหนด

ระเบียบแนะนำตัวสว.จ่อวุ่น ตุลาการผู้แถลงคดี เสนอองค์คณะเพิกถอน 5 ปมแนะนำตัว แจกเอกสารได้เฉพาะในกลุ่ม -​ แนะนำตัวทางอิเล็กทรอนิกส์​ ห้ามใช้วิชาชีพสื่อเอื้อประโยชน์​ ชี้ไม่สอดคล้องสังคมเลือกปฏิบัติ จำกัดสิทธิเสรีภาพเกิดเหตุ

21 พ.ค.2567 - ศาลปกครองกลาง ออกนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกในคดีที่ นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการสำนักข่าวประชาไท และนายพนัส ทัศนียานนท์ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และพวก ยื่นฟ้องของให้เพิกถอนระเบียบกกต. ว่าด้วยการแนะนำตัวในการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)​ 2567 โดยในการนั่งพิจารณาคดี​ครั้งแรก​นี้ตุลาการเจ้าของสำนวนได้อ่านสรุปข้อเท็จจริง​ที่ได้จากการไต่สวนให้คู่กรณีฟัง โดยคู่กรณีไม่ ประสงค์ที่จะแถลงปิดคดีจากนั้นองค์คณะได้ให้ ตุลาการผู้แถลงคดี ซึ่งเป็นตุลาการนอกองค์คณะ แถลงความเห็นส่วนตัวที่ไม่มีผลผูกพัน ต่อการพิจารณาวินิจฉัยขององค์คณะ

โดยตุลาการผู้แถลงคดีเห็นว่า คดีพิพาทนี้อยู่ในอำนาจที่ศาลปกครองจะพิจารณาวินิจฉัย และผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ประสงค์จะลงสมัครสว. จึงเป็นผู้ที่มีสิทธิที่จะฟ้องคดีได้ ส่วนระเบียบกกต. ที่ผู้ฟ้องคดีขอให้มีการเพิกถอน ซึ่งประกอบไปด้วยข้อ 5,7,8,11 (2)(5) นั้น

ข้อ 5 ที่กำหนดว่าให้ผู้ประสงค์ที่จะสมัครรับเลือกเป็นสว.สามารถแนะนำตัวตามระเบียบนี้ได้นับแต่วันที่ระเบียบฉบับนี้มีผลใช้บังคับเห็นว่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.)​ว่าด้วยการได้มาทั้งสว. มาตรา 36 ซึ่งเป็นฐานอำนาจที่กกต. ใช้ออกระเบียบดังกล่าว ไม่ได้ให้อำนาจกกต. ออกระเบียบมาบังคับให้ผู้ที่ประสงค์จะลงสมัคร ถ้าบังคับจะต้องมีการกำหนดไว้อย่างชัดแจ้ง การออกระเบียบ การออกระเบียบข้อดังกล่าวจึงเป็นการใช้อำนาจนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด

ส่วนข้อ 7 ที่กำหนดให้ผู้สมัครใช้เอกสารแนะนำตัวมีขนาดไม่เกิน A4 ระบุข้อความเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัว รูปถ่ายของผู้สมัคร​ ประวัติการศึกษา ประวัติการทำงาน​ หรือประสบการณ์ในการทำงาน ในกลุ่มที่ลงสมัครเท่านั้นไม่เกิน 2 หน้า เห็นว่า การแนะนำตัวของผู้สมัคร นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ตัวผู้สมัคร ยังจะเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม ที่จะได้ผู้ที่มาทำหน้าที่ แทนปวงชนชาวไทย การที่พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่งสว. มาตรา 21 กำหนดห้ามพนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยรายชื่อผู้สมัคร โดยกำหนดให้ภายใน 5 วันนับแต่วันสิ้นสุด ระยะเวลาการรับสมัคร ให้ผู้อำนวยการเลือกระดับอำเภอประกาศ บัญชีรายชื่อผู้สมัครที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ถึงแยกเป็นรายกลุ่ม ทุกกลุ่มในเขตอำเภอ อย่างน้อยต้องระบุอาชีพอายุผู้สมัคร เพื่อให้ประชาชนได้ทราบเป็นการทั่วไปนั้น แต่ประชาชน ก็จะทราบเพียงอาชีพและข้อความแนะนำตัว ของผู้สมัครเท่านั้น โดยเป็นประวัติการศึกษา การทำงานไม่เกิน 5 บรรทัด บนกระดาษ​ขนาด A4 เท่านั้นแม้จะมีความเสมอภาค ไม่เพิ่มภาระเกินสมควรแก่เหตุ แต่การที่ผู้สมัครไม่รู้จักกัน การกำหนดใช้เอกสารไม่เกิน 2 หน้า ไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมเป็นการตัดโอกาสในการแนะนำตัวของผู้สมัคร และประชาชนที่จะได้รับทราบข้อมูล จึงเห็นว่าข้อ 7 ของระเบียบดังกล่าว โดยเฉพาะข้อความ ว่า ไม่เกิน 2 หน้า และในกลุ่มที่สมัครเท่านั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนข้อ 8 ที่ให้ผู้สมัครสามารถแนะนำตัวผ่านวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้ข้อความตามเอกสารแนะนำตัวของผู้สมัครตามข้อ 7 และ และเผยแพร่ต่อผู้สมัครอื่นในการเลือกเท่านั้น เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าข้อ ความในข้อ 7 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงให้เพิกถอนข้อความตามข้อ 7 ในข้อ 8 ส่วนข้อ 11 (2) ที่กำหนดให้ ผู้ประกอบวิชาชีพทางวิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน​สื่อโฆษณา นักร้องพิธีกรใช้ความสามารถ หรือวิชาชีพดังกล่าวเพื่อประโยชน์ต่อการแนะนำตัวนั้น เห็นว่าผู้สมัครในกลุ่มอื่นอาจจะใช้วิชาชีพของตน ในการเอื้อประโยชน์ให้ได้รับเลือกสว.ได้ การที่กกต.ออกระเบียบจำกัด เฉพาะ 2 กลุ่มนี้ จึงไม่อาจบรรลุวัตถุประสงค์ของความเท่าเทียม และเป็นการจำกัดสิทธิ​เสรีภาพ​เกินกว่าเหตุ เป็นการเลือกปฏิบัติ

สำหรับข้อ 11 (3) ที่ห้ามผู้สมัครแจกเอกสารเกี่ยวกับการแนะนำตัวโดยวิธีการวาง โปรย หรือติดประกาศในที่สาธารณะนั้น เห็นว่า การที่กกต. กำหนดวิธีการแนะนำตัว ให้ผู้สมัครสามารถแนะนำตัวผ่านอิเล็กทรอนิกส์ โดยประชาชนสามารถเข้าถึงได้ แต่ แต่ไม่ได้กำหนด วิธีการแนะนำตัวอื่นเช่นการติดป้าย หรือวางเอกสาร ทำให้ผู้สมัคร หรือผู้ช่วยเหลือผู้สมัครที่ไม่มีความพร้อม ที่จะแนะนำตัวผ่านอิเล็กทรอนิกส์ สามารถดำเนินการโดยวิธีการ​อื่นได้ การกำหนดของกกต. จึงเป็นการสร้างภาระเกินพอสมควรให้กับผู้สมัคร ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมเป็นการเลือกปฏิบัติ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ส่วนข้อ 11 (5)​ ที่ห้ามผู้สมัครแนะนำตัวทางวิทยุ โทรทัศน์​ วิทยุกระจายเสียงสื่อสิ่งพิมพ์และห้ามให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนนั้น เห็น​ว่า​ข้อกำหนดดังกล่าวบังคับใช้กับผู้สมัครทุกกลุ่มอาชีพ ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ตุลาการผู้แถลงคดีจึงเห็นว่า องค์คณะควรพิจารณาสั่งเพิกถอนระเบียบดังกล่าวในข้อ 5, 7, เฉพาะข้อความที่ "ในกลุ่มที่สมัครเท่านั้น และไม่เกิน 2 หน้า" ในระเบียบว่าด้วยการแนะนำตัวฉบับแรก และ ข้อความที่ระบุว่า "ไม่เกิน 2 หน้าในระเบียบฉบับที่ 2" และข้อ 8,11 (2)(3) นับแต่ระเบียบดังกล่าว​มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ศาลได้แจ้งคู่กรณีว่าจากนี้ ทางองค์คณะจะได้ประชุมพิจารณาและจัดทำคำพิพากษา และนัดคู่กรณีฟังคำพิพากษาในวันที่ 24 พ.ค.เวลา 13.00 น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปิยบุตร' หนุน 'กกต.' เร่งประกาศรับรองผล 'เลือก สว.' ก่อนค่อยสอยทีหลัง

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวถึงการเลือก สว.ว่า ผลที่ออกมาแปลกประหลาดมาก ซึ่งหากมีปัญหาเช่นนี้ก็ไม่สอด

กกต. เร่งถกคำร้อง 614 เรื่อง คาดประกาศรับรอง สว.ชุดใหม่ สัปดาห์หน้า

ภายหลังการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ระดับประเทศแล้วเสร็จ เมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา และมีผู้ได้รับเลือก เป็นสว. จำนวน 200 คน และสำรองอีก 100 คน ปรากฏว่าที่ผ่านมามีการเข้ามาร้องเรียน

เปิดภารกิจสำคัญ 'สว.ชุดใหม่' เลือกองค์กรอิสระ 12 ตำแหน่ง พ้นวาระปีนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า ก่อนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะประกาศผลการเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) จำนวน 200 คน และบัญชีสำรองอีก 100 คนนั้น ซึ่งตามอำนาจหน้าที่ของ สว. นอกจากการกลั่นกรองพิจารณากฎหมาย และการติดตามตรวจสอบการบริหารราชการแผ่นดินของรัฐบาลแล้ว

โฆษกก้าวไกล ชี้บทพิสูจน์ผลงาน สว.ชุดใหม่ ออกแบบ ส.ส.ร. ต้องมาจากเลือกตั้ง 100%

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า ทุกอย่างเป็นผลลัพธ์กระบวนการเลือก สว.ในรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องสำคัญเฉพาะหน้าคือ ทำอย่างไรให้คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)