ปชป. วางตัวผู้สมัคร ส.ส.ตรัง 4 เขต ชู 'หมอตุลกานต์' ล้ม พปชร. 'เลขาฯชวน' คืนสนาม

ส่องการเมืองตรัง ปชป.วางตัว ส.ส. 4 เขตเลือกตั้ง เตรียมสู้ศึกสมัยหน้า "สมบูรณ์" เลขาฯชวน ถูกดึงกลับมาลงเขต 4 ส่วนเขต 1 พื้นที่ไข่แดงบ้านชวน เปิดตัว "หมอตุลกานต์" ชิงเก้าอี้ หวังสร้างคนรุ่นใหม่เชื่อดึงเก้าอี้กลับคืน เหตุ "นิพันธ์" ไม่ได้แข็งแกร่งเช่นเดิมแล้ว ขณะที่เขต 2 และเขต 3 "สาทิตย์-สุณัฐชา" ยังนั่งที่เดิม

5 ม.ค.2565 - ผู้สื่อข่าวได้สัมภาษณ์ นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ โดยได้กล่าวถึง ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของ จ.ตรังในปี 2565 จากเดิมเขตการเลือกตั้งมี 3 เขต จะกลายเป็น 4 เขตเลือกตั้งเช่นเดิม ซึ่งตนก็ยังไม่ทราบว่าทาง กกต.จะแบ่งเขตการเลือกตั้งอย่างไร ถ้าคิดตามโมเดลเดิม ก็คงไม่หนีไปจากเดิมมากมายนัก โดยเขต 1 คือ อ.เมืองตรัง เขต 2 คือ อ.ห้วยยอด อ.รัษฎา อ.วังวิเศษ เขต 3 คือ อ.ย่านตาขาว บางส่วน อ.นาโยง อ.ปะเหลียน อ.หาดสำราญ เขต 4 คือ อ.ย่านตาขาวบางส่วน อ.กันตัง และ อ.สิเกา

เบื้องต้นได้พูดคุยกับ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และนายชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ แล้วว่าในเขตเลือกตั้งที่ 2 ตนเองจะลงเหมือนเดิม ส่วนเขตเลือกตั้งที่ 3 น.ส.สุณัฐชา โล่สถาพรพิพิธ หรือ ท่ามเฮง จะลงเหมือนเดิม

ส่วนเขตเลือกตั้งที่ 4 ก็คงหนีไม่พ้น นายสมบูรณ์ อุทัยเวียนกุล ซึ่งเคยเป็นอดีต ส.ส.ในเขตดังกล่าว แต่สมัยที่แล้ว ยอมเสียสละไปลงสมัครในระบบปาร์ตี้ลิสต์ แม้สมัยที่แล้วสามารถลงเลือกตั้งในระบบเขตเลือกตั้งได้ ทั้งที่ นายสมชาย โล่สถาพรพิพิธ อดีต ส.ส.เขต 3 ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองไปแล้ว แต่เนื่องจาก นายสมชาย ได้ยื่นความจำนง ให้ น.ส.สุณัฐชา หรือ ท่ามเฮง ลงรับสมัครจนชนะการเลือกตั้ง ทำให้ นายชวน หลีกภัย ในฐานะที่นั่งเก้าอี้ประธานสภาผู้แทนราษฎร จึงได้ชักชวนให้นายสมบูรณ์ ไปตำรงตำแหน่งเลขาประธานสภาผู้แทนราษฎร ทำให้สมัยนี้ หลังจากพูดคุยกับนายชวน หลีกภัย แล้วจึงเห็นสมควรให้โอกาส นายสมบูรณ์ ลงรับสมัครเลือกตั้งในเขตการเลือกตั้งที่ 4 โดยขณะนี้ นายสมบูรณ์ ได้หยุดการทำงานในพื้นที่ กทม. ลงพื้นที่กลับมา จ.ตรัง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเลือกตั้ง 100 เปอร์เซ็นต์

ส่วนในเขตการเลือกตั้ง 1 ซึ่งเป็นที่จับตามองกันเป็นอย่างมาก เนื่องจากสมัยที่แล้ว นายนิพันธ์ ศิริธร ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ ได้ชนะการเลือกตั้ง ไปจาก นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ อดีต ส.ส.ประชาธิปัตย์ เขต 1 ขณะนี้ผู้ที่จะลงรับสมัครเขตที่ 1 มีผู้เสนอตัวจำนวน 3 คน แต่ตัวเลือกที่ 1 ที่มีการพูดถึงกันคือ นพ.ตุลกานต์ มักคุ้น นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลตรัง และเป็นโฆษก ศบค.ตรัง ซึ่งนายชวน หลีกภัย และนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ก็ได้มีการพูดถึงเช่นเดียวกัน โดย นพ.ตุลกานต์ ถือว่าเป็นคนหนุ่ม รุ่นใหม่ เป็นคนที่ทำงานสัมพันธ์มวลชนมาระยะเวลาหนึ่ง ในช่วงที่ นายกิจ หลีกภัย ดำรงตำแหน่ง นายก อบจ.ตรัง และประกอบกับฐานเสียงเดิมของ นายธีระศักดิ์ มักคุ้น อดีตรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง ซึ่งเป็นพ่อของหมอตุลกานต์

ส่วนผู้ที่เสนอตัวในเขตการเลือกตั้งที่ 1 อีก 2 คน ยังไม่ขอเอ่ยถึงหรือพูดถึง แต่ 2 คนดังกล่าวนั้นมีฐานการเมืองที่สัมพันธ์กันอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 1 ดังนั้นเขต 1 ถือว่าเราช่วยกันทำการเมืองก่อน ซึ่งท่านชวน หลีกภัย พยายามลงมาพื้นที่มากขึ้น ใน จ.ตรัง มากขึ้น แต่คิดว่าตัวผู้สมัครก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร ดูเหมือนว่าจะมีตัวเลือกค่อนข้างครบ แต่ทั้งนี้ทางพรรคเองยังไม่ได้เปิดเผยอย่างเป็นทางการ

ส่วนในประเด็นที่ก่อนหน้านี้ ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า เลขาพรรคพลังประชารัฐ ลงมายังพื้นที่ จ.ตรัง ตนมีความเห็นว่าคุณธรรมนัส ไม่ได้มาด้วยเรื่องการเมืองที่ตรังโดยเฉพาะ แต่เข้าใจว่ามีการนัดหมายกันหลายกลุ่ม หลายเรื่องซึ่งเป็นประเด็นส่วนตัวของเขา ซึ่งตนก็ไม่ทราบ แต่ว่าในแง่ทางการเมืองหลังจากคุณธรรมนัสกลับไปแล้ว มีการประเมินในเขตการเลือกตั้งที่ 1 ซึ่งเป็นเขตเลือกตั้งของพรรคพลังประชารัฐ ซึ่งมีนายนิพันธ์ ศิริธร นั่งเก้าอี้ ส.ส.อยู่ หลายสายก็สรุปตรงกันว่าไม่ได้แข็งแกร่งเช่นเดิมอีกแล้ว อาจจะด้วยสไตล์การทำงานที่ผ่านมา รวมทั้งกระแสของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงหลังก็อาจจะมีความเปลี่ยนแปลงในส่วนนี้

ประกอบกับฐานเสียงเก่าของพรรคประชาธิปัตย์ในเขตที่ 1 มีการเรียกร้องให้เปลี่ยนแปลงตัวผู้สมัคร อย่างตัวผู้สมัครเดิมอย่าง นพ.สุกิจ อัถโถปกรณ์ ก็ได้ประกาศวางมือไปแล้ว ก็เป็นโอกาสสร้างคนใหม่ซึ่งจะเป็นใครก็แล้วแต่ แต่ฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ในเขตที่ 1 ยังเหนียวแน่น เพราะการเลือกตั้งครั้งที่แล้ว คะแนนเสียงถูกแชร์ไปให้พรรคพลังประชารัฐก็กลับมา ก็อยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลง สามารถจะหยิบเด็กรุ่นใหม่ใครก็แล้วแต่ที่เป็นที่ยอมรับกันได้ ตนเชื่อว่าเขตเลือกตั้งที่ 1 พรรคประชาธิปัตย์ จะได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นมา ในส่วนที่มีการมองว่าเขต 4 มีจุดอ่อนเยอะพลังประชารัฐจะเจาะฐานตรงนี้ ตนมองว่าเป็นสิทธิ์ที่ทุกคนจะคิดได้

เพราะฉะนั้นโดยพื้นฐานการทำงานที่ผ่านมาของพรรคประชาธิปัตย์มีผลงานที่เป็นประจักร คนที่จะมาลงต่อไปสามารถทำต่อได้เลยในนามของพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งคนที่มาลงในนามพรรคอื่นๆ ก็สามารถพูดได้ แต่งานต่างๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ที่ได้ทำมาค่อนข้างจะเข้มข้นไปแล้ว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ธรรมนัส' รูดซิปปาก! ไม่รู้ 'วัน อยู่บำรุง' ย้ายซบพลังประชารัฐ เรื่องของบิ๊กป้อม

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามถึงกรณี นายวัน อยู่บำรุง อดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย จะย้ายไปสมัครสมาชิกพรรคพลังประชารัฐในวันอังคารที่ 23 ก.ค.นี้โดยระบุสั้นๆว่า ตนไม่ทราบ

ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 20)

รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490

ตั้งกลุ่มสว.สีเขียว-ปิดดีล'อยู่บำรุง' 'บ้านป่าฯ'ยังมีของไม่วางมือ

การขยับทางการเมืองของ บ้านป่ารอยต่อฯ ภายใต้การนำของพี่ใหญ่ตระกูล วงษ์สุวรรณ บิ๊กป้อม-พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในช่วงนี้น่าสนใจไม่น้อย ทั้งกระแสข่าวดึงสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

เพื่อไทย ยันไม่ขับ 'เฉลิม' แจงเคารพ 'วัน' ตัดสินใจย้ายซบ พปชร.

นายสรวงศ์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้วและเลขาธิการพรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ส.ส.บัญชีรายชื่อ ระบุว่าหากพรรค พท.มีมติขับออกจากการเป็น ส.ส.เมื่อใด

'นิพิฏฐ์' จะเสียภาษีให้น้อยที่สุด หวั่นถูกนำไปสร้างความเข้มแข็งให้นักการเมือง

นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ อดีตสส.พัทลุง โพสต์เฟซบุ๊กว่า มีคำกล่าวว่า “หากต้องการรู้ว่าประชาชนเป็นอย่างไรให้เป็นนักการเมือง หากต้อง