'นิกร' เผยประชามติยึดร่าง ครม.ปรับยึดเสียงข้างมากชั้นเดียว พร้อมเปิดรับฟังความเห็น ปชช. 3 พ.ค. รับกาบัตรต้องเลื่อนอย่างน้อย 5 เดือน ไอติมจี้เร่งเปิดวิสามัญแก้กฎหมาย ไม่ต้องรอร่าง ครม.
02 พ.ค.2567 - ที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) มีการประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการออกเสียงประชามติพ.ศ. 2564 มีนายนิกร จำนง กรรมการและโฆษก นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล นายแสวง บุญมี เลขาฯ กกต. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
โดยเวลา 10.30 น. นายนิกรให้สัมภาษณ์ว่า ที่ต้องเชิญนายชูศักดิ์ และนายพริษฐ์ มาร่วมประชุมเพราะทั้งคู่เป็นผู้ริเริ่มการแก้ไขกฎหมายประชามาติในส่วนของสภา จึงต้องการรับฟังความคิดเห็น โดยผลการหารือคณะกรรมการพิจารณาแนวทางประชามติ ได้ยกร่างแก้ไขกฎหมายประชามติ โดยนำจุดแข็งของแต่ละร่างมารวมกันเพื่อให้ได้กฎหมายประชามติที่ดีไม่ใช่แค่เรื่องรัฐธรรมนูญแต่ทำประชามติได้ทุกเรื่อง โดยจะเสนอในนามของคณะรัฐมนตรี มีสาระสำคัญอาทิ การออกเสียงประชามติสามารถนำไปรวมกับการเลือกตั้งอื่นได้เพื่อประหยัดงบประมาณ และเวลาของประชาชนที่ต้องมาออกเสียง สามารถออกบัตรเลือกตั้งอื่นได้เช่นการลงคะแนนผ่านไปรษณีย์และการลงคะแนนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านแอปพลิเคชั่น และประเด็นสำคัญให้ถือเสียงข้างมากของผู้มาใช้สิทธิ โดยคะแนนเสียงข้างมากต้องมีเกินกึ่งหนึ่งของผู้ที่มาออกเสียง ไม่ใช่เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แทนของเดิมที่ต้องใช้เสียงข้างมาก 2 ชั้น โดยวันที่ 3 พ.ค. คาดว่าร่างดังกล่าวจะสามารถเปิดรับฟังความเห็นของประชาชนได้ผ่านเว็บไซต์ สปน. ไม่น้อยกว่า 15 วัน แล้วจะเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบได้ต่อไป โดยความตั้งใจจะเสนอร่างดังกล่าวได้ทันการเปิดสภาฯสมัยวิสามัญ หลังการพิจารณาร่างงบประมาณปี 2568 เมื่อสภาเปิดสมัยสามัญ เดือน ก.ค. ก็จะได้พิจารณาวาระต่อไป ซึ่งคาดว่าจะมี สว.ชุดใหม่เข้ามาแล้ว
เมื่อถามว่าสรุปแล้วจะได้ลงประชามติเดือนไหน หลังจากที่เคยระบุปลายเดือน ก.ค.ต้นเดือน ส.ค. ประชาชนจะได้ออกเสียง นายนิกร กล่าวว่าเราเห็นปัญหาว่าหากทำประชามติโดยยังไม่แก้กฎหมายประชามติ โดยใช้งบประมาณไป 3,500 ล้านบาท คนมาใช้สิทธิไม่ครบเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิทั่วประเทศหรือ 26 ล้านคนจะทำให้งบประมาณเสียไปเปล่าๆ โดยหลังจากนี้จะได้เข้าคูหาเมื่อใดนั้นต้องรอให้กฎหมายประชามติฉบับใหม่เสร็จสิ้นก่อน แล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องไปคุยรายละเอียดอีกทีทั้งเรื่องงบประมาณ การกำหนดวัน ถ้าถามเวลาตอนนี้ยังตอบไม่ได้ แต่คาดว่าจะทำได้ภายใน 5 เดือนหลังกฎหมายประชามติมีผลบังคับใช้ และตนอยากให้การทำประชามติครั้งที่ 2 ไปตรงกับการเลือกตั้งนายกฯอบจ.ช่วงต้นเดือน ก.พ.2568 และขอยืนยันการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทำเสร็จในกรอบเวลา 4 ปี ของรัฐบาลนี้
ด้านนายพริษฐ์ กล่าวว่า เราพบว่าอาจมีตัวแทนรัฐบาลที่สื่อสารผิดพลาดเกี่ยวกับการกำหนดวันทำประชามติครั้งแรกที่ระบุว่าจะมีขึ้นปลายเดือน ก.ค.ถึงเดือน ส.ค. ซึ่งเป็นตามตีความว่าเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่คณะรัฐมนตรีมีมติให้เดินหน้าการทำประชามติตามที่คณะกรรมการศึกษาแนวทางฯ เสนอเมื่อวันที่ 23 เม.ย. แต่เราค้นพบวันนี้ว่ามติคณะรัฐมนตรียังไม่ให้นับหนึ่ง แต่จะนับหนึ่งก็ต่อเมื่อมีการแก้ไขกฎหมายประชามติเสร็จแล้ว จึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลสื่อสารเกี่ยวกับการกำหนดวันทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญให้ชัดเจน และในวันนี้ตนเองและนายชูศักดิ์ มีความเห็นร่วมกันให้คณะรัฐมนตรีเสนอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญโดยเร็วที่สุด เพราะตอนนี้มีร่างแก้ไขกฎหมายประชามติของพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย เสนอเข้าสู่สภาแล้ว หากร่างคณะรัฐมนตรีประกบทันก็ถือว่าดีไปหากไม่ทันก็มีสองร่างดังกล่าวให้พิจารณาได้ แล้วให้รัฐบาลเสนอเนื้อหาเพิ่มเติมในชั้นกรรมาธิการในภายหลัง อย่างไรก็ตามพรรคก้าวไกลมีข้อกังวลเกี่ยวกับคำถามในการทำประชามติ อยากให้การตั้งคำถามเป็นการถามที่เปิดกว้างว่าประชาชนเห็นชอบหรือไม่ให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพราะมองว่าหากถามแบบกว้างโอกาสผ่านจะมีมากกว่า และหากประชามติผ่านไปแล้ว รัฐบาลยังสามารถรักษาจุดยืนของตัวเองที่จะไม่แตะหมวดหนึ่งหมวดสองได้ในการเสอนแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 256 เกี่ยวกับการกำหนดกรอบการทำงานของ สสร. ถือว่าข้อเสนอนี้เป็นการเสนอด้วยความปราถนาดีที่อยากเห็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ประสบความสำเร็จ
นายชูศักดิ์ กล่าวถึงการวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการแก้ไขพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ พ.ศ. 2564 ที่ให้มีการเสนอเข้าพิจารณาใน 2 สภา หรือเสนอโดยบทเฉพาะกาล เรื่องการปฏิรูปประเทศ ว่า ตนเองและนายพริษฐ์ รวมถึงคนส่วนใหญ่ การปฏิรูปประเทศหมดลงไปตามวาระของ สว จึงใช้ขั้นตอนปกติ โดยผ่านสภาผู้แทนราษฎร ก่อนส่งต่อให้วุฒิสภาพิจารณา ซึ่งจะเร่งรัดให้กฎหมายนี้เข้าสู่สภาในการเปิดสมัยประชุมสภาสมัยวิสามัญที่จะถึงนี้ เพื่อให้การแก้ไขกฎหมายเร็วขึ้น ซึ่งร่างดังกล่าวได้มีการบรรจุไว้ในระเบียบวาระเรียบร้อยแล้ว และร่างของ ครม. ก็น่าจะเสร็จทัน ดังนั้น การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เป็นวาระรับหลักการในชั้นวิสามัญ และตั้งกรรมาธิการ ซึ่งคาดว่า จะใช้เวลาไม่มากหรืออย่างน้อยประมาณ 3 เดือน หลังจากนั้นจะนำกฎหมายส่งต่อไปพิจารณาในวุฒิสภา แต่ปัญหาใหญ่ คือ ผู้พิจารณาจะต้องเป็นวุฒิสภาชุดใหม่ และหวังว่าวุฒิสภาชุดใหม่ จะราบรื่น ไม่ติดขัดอะไร
ทั้งนี้ นายชูศักดิ์ ยังระบุว่า ไทม์ไลน์คาดการณ์ว่าอย่างน้อยที่สุดการทำกฎหมายประชามติ ไม่น่าจะเกิน 6 เดือน ซึ่งเป็นไปได้ว่าการเริ่มทำประชามติครั้งแรกจะนับระยะเวลา 6 เดือนหลังจากนี้ ส่วนจะ จะทำประชามติ ในครั้งแรกเป็นช่วงของการเลือก อบจ.หรือไม่ เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องนำไปพิจารณา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตามสูตร! ฟื้นคณะกรรมการ 6 ชุดแก้ปัญหาสมัชชาคนจน
'ชูศักดิ์' ถก คกก.สมัชชาคนจน ตั้ง 6 กก. สมัยเศรษฐา เร่งวางแนวทางแก้ 4 เรื่องด่วน
ไม่ให้ราคา กกต.!ชูศักดิ์บอกส่งเอกสารแจงครอบงำพอขู่หลังปีใหม่รู้นักร้องคนไหนโดนเช็กบิล
'ชูศักดิ์' บอก นายกฯ ไม่จำเป็นต้องไปแจง กกต.เอง ปม 'ทักษิณ' ครอบงำ ชี้มีแต่เรื่องเก่าๆ เผยหลังปีใหม่รูัใครโดนเช็กบิลบ้าง
อีกแล้ว! ชูศักดิ์ขายฝันแก้รัฐธรรมนูญมีสิทธิ์เสร็จทันยุคอุ๊งอิ๊ง
'ชูศักดิ์' ชี้สภายืนทำประชามติชั้นเดียว เป็นสัญญาณดีแก้ รธน. มองพรรคร่วมเสียงแตกเป็นสิทธิ์ แต่เชื่อไม่ถึงขั้นทำตีบตัน ลั่นเดินหน้าแก้ รธน.ฉบับใหม่ ระบุมีลุ้นเสร็จทัน รบ.นี้ถ้าเหลือทำประชามติ 2 ครั้ง
ปชน.หวัง ป.ป.ช.สอบปมป่วยทิพย์อย่างเที่ยงตรง!
'พริษฐ์' ชี้ ป.ป.ช. สอบปมทักษิณ ชั้น 14 เป็นตัวอย่างที่ประชาชนสนใจ หวังเห็นสอบอย่างเที่ยงตรง ให้กลไกกมธ.สอบคู่ขนาน
'พริษฐ์' ชักแม่น้ำทั้งห้าชวนรัฐบาลยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญประกบ
'พริษฐ์' แนะ 'รัฐบาล' ควรยื่นร่างแก้ไข รธน.เกี่ยวข้องกับ ส.ส.ร. ประกบฝ่ายค้าน มอง มี 2 ด่านต้องผ่าน ชี้ 'นายกฯ' ต้องเป็นผู้ยุติร้อยร้าว เชื่อยิ่งร่วมมือฝ่าฟันเท่าไหร่ โอกาสสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น
พรรคประชาชนจองกฐินซักฟอกรัฐบาลตามมาตรา 151
ปชน.จ่อเปิดซักฟอกรัฐบาล เข้มข้นเหมือนเดิม ย้ำ ายค้านเดินหน้าเต็มที่ ทั้งตรวจสอบ รบ.-เสนอกฎหมาย โยนถาม 'ทสท.' มีสส.ฝ่ายค้านกี่คน โว 'พรรคประชาชน' 140 คนพอแล้ว