“รังสิมันต์’ มอง ทำประชามติ 2 ครั้งเพียงพอแล้ว เหตุทำ 3 ครั้ง เปลืองงบ-เสียเวลา เตือน หากทุกฝ่ายกลัวการตีความกฎหมาย คนแบกรับความสูญเสียคือ ปชช. เรียกร้อง ‘วันนอร์’ รีบบรรจุวาระแก้รธน. เข้าสภาฯ
21 เม.ย.2567 – นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวถึงกรณีที่นายภูมิธรรม เวชชชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติ เพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เตรียมเสนอเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเบื้องต้น เสนอทำประชามติ 3 ครั้ง ว่า ตนเองคิดว่าหากจะปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายที่กำหนด การทำประชามติ 2 ครั้งก็เพียงพอแล้ว กฎหมายได้กำหนดขั้นตอนชัดเจนอยู่แล้วว่าต้องทำประชามติในครั้งไหนบ้าง โดยกลไกพอจะต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 256 เพื่อเปิดทางให้เกิดการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยทั่วไปการทำประชามติ 2 ครั้ง ก็เป็นกลไกที่ครบถ้วนและรอบคอบอยู่แล้ว ที่ประชาชนสามารถตัดสินว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับกระบวนการที่เกิดขึ้น การทำประชามติ 3 ครั้ง มันซ้ำซ้อนโดยไม่จำเป็น ความซ้ำซ้อนแบบนี้จะนำไปสู่การสูญเสียงบประมาณและสูญเสียเวลา
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า เมื่อทุกฝ่ายกลัวที่จะต้องตีความกันหมด ทำให้สุดท้ายคนที่จะต้องแบกรับความสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณหรือเวลาก็คือประชาชนทั้งประเทศ ตนเองยังมองว่าอยากให้ทุกฝ่ายกล้าหาญในการตีความ ซึ่งตนเองคิดว่าการตีความทางกฎหมาย ไม่ได้เป็นการตีความที่เกินเลยอะไร หากเราอ่านคำวินิจฉัยต่างๆ ก็ไม่ได้ชัดเจนถึงขั้นว่าจะต้องทำประชามติถึง 3 ครั้ง ตนเองยังคงยืนยันว่าไม่จำเป็นที่จะต้องทำประชามติ 3 ครั้ง
“ทั้งนี้ เราก็พยายามยืนยัน ว่าการยื่นแก้ไขรัฐธรรมนูญผ่านกลไกรัฐสภา นายวันมูหะหมัดนอร์ มะทา ประธานสภา ควรจะบรรจุเรื่องนี้เพื่อให้กลไกต่างๆ สามารถเดินหน้าต่อได้ ซึ่งเราไม่เห็นด้วยในการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความ สุดท้ายผลที่ออกมาศาลรัฐธรรมนูญก็ตีความในลักษณะว่ายังไม่เป็นปัญหา เมื่อเป็นเช่นนี้ก็น่าเสียดาย หากรัฐบาลจะเดินหน้าทำประชามติ 3 ครั้ง ที่จะทำให้สูญเสียงบประมาณเพิ่ม ตนขอใช้โอกาสนี้เรียกร้องไปยังนายวันมูหะหมัดนอร์ ว่าควรจะบรรจุเรื่องนี้เข้าที่ประชุมและควรมีท่าทีที่ชัดเจนในเรื่องนี้” นายรังสิมันต์ ระบุ
ส่วนข้อเสนอเพิ่มเติมไปยังรัฐบาลในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายรังสิมันต์ กล่าวว่า ตนเองคิดว่าส่วนที่สำคัญ คือหากทุกฝ่ายเอาจริงเอาจัง ก็จะสามารถแก้ไขและนำไปสู่การทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้ ตนเองอยากจะให้รัฐบาลเอาจริงเหมือนกับที่สัญญาไว้กับประชาชน แต่ไม่ว่าจะเป็นการตั้งคณะกรรมการศึกษาเรื่องนี้ ก็ทำให้ส่งผลกระทบไปถึงความเชื่อมั่นของประชาชน ที่มองไปยังรัฐบาลและตั้งคำถามว่า จะเอาจริงเอาจังในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมากแค่ไหน หากรัฐบาลรู้สึกว่าควรจะจริงจังได้แล้ว เราต้องช่วยกันทำให้การแก้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ส่วนหน้าตารัฐธรรมนูญฉบับฉบับใหม่ ก็ให้เป็นหน้าที่ของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ที่จะต้องไปว่ากันอีกที.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปธ.'รูทีนตีนตุ๊กแก' ลั่นตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา นิติบัญญัติ-บริหารต้องแยกกัน
'วันนอร์' ไม่หวั่นฝ่ายการเมืองเลื่อยขาเก้าอี้ประธานสภาฯ ย้ำเป็นอำนาจสมาชิกรัฐสภา ต้องแยกฝ่ายนิติบัญญัติ-บริหาร ชี้ตำแหน่งนี้ สส. เลือกมา ลั่นหากต้องการเปลี่ยนเสนอญัตติมาได้
ศปช. ตีปี๊บจ่ายแน่ 'เงินเยียวยา' ก่อนสิ้นปี
“บิ๊กอ้วน” สั่งการเร่งสูบน้ำที่ลุ่มต่ำ เพื่อให้สถานการณ์เข้าสู่ปกติเร็วที่สุด พร้อมเตรียมจ่ายเงินเยียวยาก่อนสิ้นปี ยืนยันผู้เช่าได้สิทธิด้วย
'วิชิต' เดือด! ฟ้องอาญา-แพ่ง 'ธนดล' ปมไร่ภูนับดาว
'วิชิต' ฉุนด่าเนรคุณ เปรียบเหมือนสุนัขเลี้ยงไม่เชื่อง จ่อฟ้องอาญา-แพ่ง 'ธนดล' หมิ่นประมาทใส่ร้าย ยันเสี่ย 'ไร่ภูนับดาว' เป็นเกษตรกรจริง
‘ณัฐวุฒิ’ ย้ำ ‘เพื่อไทย-พรรคส้ม ’ อยู่ก๊กเดียวกัน ชี้ ภท. ก๊กอนุรักษ์นิยมขวางแก้รธน.
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี โพสต์เฟซบุ๊ก ว่าผลการลงมติร่างพ.ร.บ.ประชามติ คืออีกรูปธรรมหนึ่งของก
ขวากหนามแก้รัฐธรรมนูญ คนกันเอง...เล่นเกมต่อรอง
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรมีมติไม่เห็นชอบกับ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ฉบับคณะ กมธ.ร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว
พรรคร่วมรบ.เห็นต่างไร้ปัญหา
เปิดผลโหวต กม.ประชามติ ภท.งัดมติวิป รบ.ไฟเขียวฉบับ กมธ.ร่วมฯ ผงะ รทสช. 25 คนล่องหน