'ไอติม' ถาม กกต.เมื่อไหร่ระเบียบ-ประกาศเรื่องเลือก สว.จึงจะเสร็จ

17 เม.ย.2567 - นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) โพสต์เฟซบุ๊กในหัวข้อ “ระเบียบ-ประกาศ ทั้งหมดของ กกต. เรื่องการคัดเลือก สว. จะเสร็จกี่โมง?” ระบุว่า ในอีกไม่ถึง 1 เดือน สว. ชุดปัจจุบันจะหมดวาระลงและเราจะเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก สว. ชุดใหม่ อย่างเป็นทางการ

แต่นับถึงวันนี้ เกณฑ์และกติกาทั้งหมดที่เกี่ยวกับกระบวนการดังกล่าวยังไม่ถูกเผยแพร่ต่อสาธารณะ แม้ตัวแทน กกต. เคยได้ชี้แจงในการประชุม กมธ. พัฒนาการเมืองฯ ที่สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 28 มี.ค. ว่าระเบียบและประกาศทั้งหมดที่เหลืออยู่ ควรจะเสร็จสิ้นและเผยแพร่ได้ก่อนเทศกาลสงกรานต์

ในบรรดาระเบียบและประกาศที่ยังไม่มีการเผยแพร่ มีอยู่ 2 ฉบับ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการให้ความชัดเจนต่อคำถามที่หลายคน (โดยเฉพาะผู้ที่สนใจจะลงสมัคร สว.) ยังคงมีข้อสงสัยจำนวนมาก

1. ประกาศเกี่ยวกับคุณสมบัติของ 20 กลุ่มอาชีพ - เช่น นิยามโดยละเอียดของแต่ละกลุ่มอาชีพที่ผู้สมัคร สว. ต้องเลือกในการสมัครรับคัดเลือก

2. ระเบียบเกี่ยวกับการแนะนำตัวของผู้สมัคร - เช่น ผู้สมัครแนะนำตัว-รณรงค์อย่างไรได้บ้าง? ผู้สมัครประกาศจุดยืนหรือแนวทางในการปฏิบัติหน้าที่ (เช่น จุดยืนเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ) ได้หรือไม่? ประชาชนทั่วไปสามารถแนะนำตัว-รณรงค์ให้ผู้สมัครที่ตนสนับสนุนอย่างไรได้บ้าง?

ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กกต. จะ:
(1) เร่งหาข้อสรุปและเผยแพร่ ระเบียบ/ประกาศ โดย “เร็ว” ที่สุด

(2) ออกแบบกฎเกณฑ์และกติกาใน ระเบียบ/ประกาศ ให้ “เปิดกว้าง” ที่สุด เพื่อให้
- (i) ผู้สมัครแต่ละคนได้แนะนำตนเองได้อย่างครอบคลุมที่สุด
- (ii) ผู้สมัคร (ซึ่งจะเป็นผู้มีสิทธิเลือก สว.) เข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผู้สมัครคนอื่นได้อย่างรอบด้านที่สุดเพื่อประกอบการพิจารณา
- (iii) ประชาชน (แม้ไม่มีสิทธิเลือก สว. โดยตรง) มีส่วนร่วมในกระบวนการได้อย่างกว้างขวางที่สุด

ยิ่งกติกาดังกล่าวออกมา “ช้า” เท่าไหร่ และออกมาในลักษณะที่สร้าง “ข้อจำกัด” มากเท่าไหร่ ความไม่ชัดเจนที่ตามมา ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะทำให้กระบวนการที่มีความซับซ้อนอย่างมากอยู่แล้ว มีปัญหาในเชิงปฏิบัติมากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งอาจกระทบต่อความเที่ยงตรงและเป็นธรรมของกระบวนการทั้งหมด

โดยข้อกังวลหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้ คือหากกระบวนการคัดเลือก สว. มีปัญหาและนำไปสู่ข้อร้องเรียนจำนวนมาก จนทำให้ กกต. ไม่พร้อมจะยืนยันว่าการคัดเลือกดังกล่าว “เป็นไปโดยถูกต้อง สุจริต และเที่ยงธรรม” ทาง กกต. มีช่องในการที่จะยังไม่ประกาศผลการคัดเลือก สว. ชุดใหม่ (ตามระเบียบว่าด้วยการเลือกสมาชิกวุฒิสภา ข้อ 154) ซึ่งจะทำให้ สว. 250 คน ชุดปัจจุบัน รักษาการต่อไปโดยไม่มีกำหนด โดยแม้จะไม่มีอำนาจตามบทเฉพาะกาลแล้ว แต่ก็จะมีอำนาจเทียบเท่ากับ สว. ชุดใหม่ที่กำลังถูกคัดเลือก (เช่น อำนาจยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ อำนาจรับรองตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ-ผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ)

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นันทนา' คึก! ลั่นปฏิบัติการ สว.เล็กเปลี่ยนสภา

น.ส.นันทนา นันทวโรภาส สมาชิกวุฒิสภา(สว.) ในฐานะแกนนำสว.พันธุ์ใหม่ ซึ่งถูกเสนอชื่อเข้าชิงตำแหน่งประธานวุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "ปฏิ

เบื้องหลังจัดโผสภาสูง บ้านใหญ่บุรีรัมย์-สว.สีน้ำเงิน ป้องกันแรงต้านกินรวบไม่แบ่งเพื่อน  

เบื้องหลังการทำโผดังกล่าว เป็นที่รู้กันดีว่า โรงแรมพลูแมน ซอยรางน้ำ เป็นเซฟเฮ้าส์ทางการเมืองของ นักการเมือง-กลุ่มการเมือง ที่มีแบนด์พรรคคือสีน้ำเงิน

สว.กลุ่มอิสระ สะกิดจับตาชิง ‘รองปธ.คนที่หนึ่ง’ คาดลงแข่งเยอะแน่

สว.กลุ่มอิสระเผย จุดพีกชิงเก้าอี้ใหญ่สภาสูงคือ รองปธ.คนที่หนึ่ง คาดลงแข่งเยอะ ย้ำ ‘บุญส่ง’ เหมาะนั่งรองปธ.วุฒิฯ ยันเป็นเรื่องปกติหากจะคุยกับกลุ่มสีน้ำเงินก่อนโหวต  

เทวฤทธิ์ -กลุ่มสว.พันธุ์ใหม่ เสรีนิยมก้าวหน้า ปฏิรูปสภาสูง

สมาชิกวุฒิสภา(สว.)ชุดปัจจุบัน 200 คน จะประชุมร่วมกันนัดแรกในวันอังคารนี้ 23 ก.ค. โดยมีระเบียบวาระสำคัญที่จะให้สว.ทั้งหมดร่วมกันประชุมลงมติ นั่นก็คือ

เปิดศึกชิงเก้าอี้ ประมุขสภาสูง เสร็จสว.นํ้าเงิน

ฝุ่นตลบ! ศึกชิงเก้าอี้ประธานสภาสูง ล็อบบี้กันเดือด "เทวฤทธิ์” ชี้ควรเป็นคนเปิดกว้าง ให้พื้นที่เสียงส่วนน้อย ยันกลุ่มพันธุ์ใหม่ส่งชิงแน่ พร้อมเล็งเก้าอี้ประธาน

'นพดล' รับยังไม่ตัดสินใจชิงรองปธ.วุฒิสภา คนที่ 1 ขอเช็กเสียงหนุนก่อน

นายนพดล อินนา สว. กล่าวถึงกระแสข่าวการเสนอตัวชิงตำแหน่งรองประธานวุฒิสภาคนที่ 1ว่า ยังไม่ได้ตัดสินใจ100% จะลงสมัครชิงตำแหน่งหรือไม่ ขอเวลาคิดอีก1-2วัน ต้องรอดูจะมีเสียงสนับสนุนจากเพื่อนสว.มากน้อยแค่ไหน