'นครินทร์' ย้ำศาลรธน.ไม่มีธงตัดสิน ผลออกได้แค่ขัดหรือไม่ขัดรธน. ไม่มีตรงกลาง

"นครินทร์" ยันศาลรธน.ไม่มีธงพิจารณาคดี ชี้ออกได้แค่ขัดหรือไม่ขัดรธน. ไม่มีตรงกลาง ยินดีรับเสียงวิจารณ์โดยสุจริต เผยคำร้องสภาขอตีความประชามติแก้รธน.ถึงมือแล้วเตรียมถก 17 เม.ย.

10 เม.ย.2567 - นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมถึงการจัดงานครบรอบ 26 ปีศาลรัฐธรรมนูญว่า วันนี้เป็นการประชุมทางวิชาการที่ได้มีการเตรียมการมาสักระยะหนึ่งแล้ว ช่วงเช้าได้รับเกียรติจากประธานศาลรัฐธรรมนูญจอร์เจีย ตอนบ่ายก็จะเป็นการอภิปราย

ส่วนการอภิปรายในหัวข้อศาลรัฐธรรมนูญกับการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ เราเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญบรรลุวัตถุประสงค์ในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญพอสมควร คำว่าพิทักษ์รัฐธรรมนูญปัญหาของประเทศไทยคือเรามีรัฐธรรมนูญหลายฉบับนับตั้งแต่ 40 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งอยากให้สังเกตว่าแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้างแต่โดยภาพรวมโครงสร้างทางการเมืองไม่ได้แตกต่างจากเดิมมากนัก โดยยังมีการปกครองระบอบรัฐสภา เป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในส่วนของศาลรัฐธรรมนูญก็มีอำนาจบางอย่างหายไปบางอย่างเพิ่มขึ้น เช่นการให้ประชาชนยื่นร้องเรียนตรงมายังศาลรัฐธรรมนูญซึ่งมีมากพอสมควร หรือที่หายไปเช่นอำนาจการยุบพรรคอันเนื่องมาจากพรรคการเมืองไม่ยื่นบัญชีค่าใช้จ่ายของพรรค

ส่วนที่การวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญถูกวิพากษ์วิจารณ์จากสังคมค่อนข้างมาก นายนครินทร์กล่าวว่าการวิพากษ์วิจารณ์เป็นสิ่งที่ดีแต่น่าคิดว่าการวิพากษ์วิจารณ์นั้นทำให้บ้านเมืองสงบคือเป็นที่ยอมรับหรือไม่ เดินหน้าต่อไปได้หรือไม่ ปัญหาอยู่ตรงนี้ไม่ได้อยู่ตรงที่การวิพากษ์วิจารณ์ เพราะการวิพากษ์วิจารณ์เป็นเรื่องจำเป็นซึ่งตนก็ยินดีที่จะรับคำวิจารณ์จากทั้งนักวิชาการพรรคการเมือง องค์กรต่างๆ การสัมมนาวันนี้เราก็เชิญพรรคการเมืองมาร่วมหลายพรรค สามารถวิจารณ์ได้เต็มที่ แต่ต้องวิจารณ์โดยสุจริตไม่ใช้คำหยาบคาย ดูถูกเหยียดหยามองค์กรตุลาการเพราะมีโทษทางกฎหมาย

ผู้สื่อข่าวถามว่าการวิพากษ์วิจารณ์ก่อให้เกิดแรงกระแทก ประธานศาลรัฐธรรมนูญกล่าวว่าก็เข้าใจ แต่ในแง่หนึ่งแสดงให้เห็นว่าศาลฯเป็นที่ยอมรับเพราะข้อขัดแย้งทางการเมืองมันไม่ได้ลดน้อยไปแต่ปัญหาคือเมื่อมีข้อขัดแย้งทางการเมืองแล้วจะแก้ไขปัญหาอย่างไร ความจริงการแก้ไขปัญหาทางการเมืองส่วนหนึ่งมาจากการเจรจาของพรรคการเมืองและองค์กรต่างๆ ถ้าตกลงกันได้ก็ไม่ต้องมาศาลจบที่สภาดีกว่า แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้แล้ว แต่ยื่นมาศาลก็แสดงว่าเห็นศาลเป็นที่พึ่ง ซึ่งก็จะให้โต้แย้งกันและศาลจะรับฟังสองฝ่าย และพิจารณาทั้งข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายก่อนที่จะตัดสิน

ส่วนที่บางคนมองว่าการตัดสินหลายครั้งมีธงนั้น เห็นว่าเรื่องที่ขึ้นมาศาลจะออกได้เพียง 2 หน้า คือซ้ายกับขวาเท่านั้นไม่มีตรงกลาง ตนเคยเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัยสอนลูกศิษย์มันตอบได้หลายทาง ซึ่งก็ถูกหมด ใครให้เหตุผลดีก็ได้คะแนนไป แต่มาศาลออกได้แค่ด้านซ้าย ด้านขวาเท่านั้น คือขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งเราอาจคิดว่ามันเป็นธง คำว่า"ธง"เป็นกิจกรรมการเรียนของคณะนิติศาสตร์ เวลาเรียนวิชากฎหมายก็ต้องมีธงซึ่งต้องไปอ่านคำพิพากษาของศาลฎีกาเก่าๆ คำตอบของครูบาอาจารย์เก่าๆแล้วเอามาเป็นธงว่าข้อกฎหมายนี้จะตอบอย่างไร แต่สำหรับในศาลรัฐธรรมนูญไม่มีธง เราโต้เถียงกันมากพอสมควรและต้องดีใจว่าเรามีตุลาการใหม่เพิ่มเข้ามาทั้งนายอุดม รัฐอมฤตและนายสุเมธ รอยเจริญกุล ซึ่งก็จะทำให้ความเห็นทิศทางบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปได้

เมื่อถามว่าสภามีมติยื่นคำร้องขอให้ศาลฯพิจารณาเรื่องการจัดทำประชามติแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าต้องทำประชามติกี่ครั้ง นายนครินทร์กล่าวว่า ยื่นมาแล้วและจะพิจารณาวันที่ 17 เม.ย.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ไพบูลย์' เบรกหัวทิ่มมือกฎหมายเพื่อไทย  คลอดประชามติ 2 ครั้ง

“ไพบูลย์” โต้ ”ชูศักดิ์“ ใช้คำวินิจฉัยส่วนตน 6 ตุลาการอ้างทําประชามติ 2 ครั้งไม่ได้ บอก ต้องยึดคําวิฉัยกลาง ชี้มีแค่แก้รายมาตราเท่านั้นไม่ต้องทำ

วัฒนาแห้ว! ศาล รธน.มีมติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง

'วัฒนา' แห้ว 'ศาล รธน.' มติเอกฉันท์ไม่รับคำร้อง ปมขอให้ชี้ขาดคำพิพากษาขององค์คณะผู้พิพากษาคดีทุจริตบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่านหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ

'ไพศาล' เผยเหตุศาลรธน. ให้อัยการสูงสุดชี้แจงคำร้องสอบ 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

นายไพศาล พืชมงคล นักกฎหมาย โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊กว่า ทำไมศาลรัฐธรรมนูญต้องให้อัยการสูงสุดชี้แจงคำร้องขอเกี่ยวกับการล้มล้างการปกครอง

ศาลรธน. ถามอัยการสูงสุด ปมคำร้องทักษิณครอบงำเพื่อไทย ขีดเส้นตอบกลับใน 15 วัน

ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาในคดีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 49 กล่าวอ้างว่ นายทักษิณ ชินวัตร ผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคเพื่อไทย ผู้ถูกร้องที่ 2 ร่วมกันกระทำการอันเป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพ

ดร.ณัฏฐ์-นักกม.มหาชน ชี้ชัด 'ล้มล้างการปกครอง' ต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ

มือกฎหมายมหาชน ชี้ “ล้มล้างการปกครอง” สารตั้งต้นนำไปสู่ยุบพรรคเพื่อไทย ต้องมีข้อเท็จจริงที่ชัดเจน เพียงพอ กำลังดำเนินอยู่และไม่ห่างไกลเกินกว่าเหตุ