'สามารถ' ผิดหวัง นายก ไม่ผลักดันสะพานเชื่อมเกาะสมุย

9 เม.ย. 67 – นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และอดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ – Dr.Samart Ratchapolsitte” ระบุว่า “เศรษฐา” ลุย “สมุย” ไร้วี่แวว “สะพานเชื่อมเกาะ”

โดยเนื้อหาระบุว่า นายกฯ เศรษฐา เยือนสมุย ชาวเกาะสมุยที่รอคอยสะพานเชื่อมเกาะด้วยความหวังว่านายกฯ จะมากรุยทางสร้างสะพานเชื่อมเกาะต่างผิดหวัง เพราะท่านไม่ได้มาผลักดันสะพาน แต่กลับมาผลักดันท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ และหาแนวทางการขยายสนามบินสมุย ปล่อยให้โครงการสะพานเชื่อมเกาะริบหรี่ !

9 เม.ย. 2567 – น่าดีใจที่เมื่อวันที่ 7 เมษายน ที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว. คลัง ไปเยือนเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี แม้ว่าพรรคเพื่อไทยที่นายกฯ สังกัดอยู่ จะไม่มี ส.ส. ใน จ.สุราษฎร์ธานีเลยก็ตาม ช่างสมกับคำกล่าวอ้างของนายกฯ ในสภาฯ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า “ผมเป็นนายกฯ ของคนทั้งประเทศ ไม่เคยแบ่งแยกพื้นที่ตามคะแนนเสียงที่ได้รับ”

ชาวสมุยและพื้นที่ใกล้เคียงต่างตั้งหน้าตั้งตารอคอยการมาเยือนของนายกฯ หลายคนมีความหวังว่านายกฯ จะมาผลักดันการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะสมุย เพื่อจะทำให้การสัญจรระหว่างเกาะกับแผ่นดินใหญ่เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย แต่ต้องพบกับความผิดหวัง เพราะนายกฯ มาผลักดันการก่อสร้างท่าเทียบเรือสำราญขนาดใหญ่ และหาแนวทางการขยายสนามบินสมุย ไร้วี่แววการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะ

ผมเป็นผู้ริเริ่มโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะสมุย โดยได้เสนอความเห็นไว้ในเฟสบุ๊กเมื่อเดือนพฤษภาคม 2560
ปัจจุบันการเดินทางไปสู่เกาะสมุยมี 2 ทาง ประกอบด้วยทางอากาศและทางน้ำ แต่การเดินทางทางอากาศหรือเครื่องบินมีค่าโดยสารแพง ส่วนการเดินทางทางน้ำต้องใช้เวลานาน กล่าวคืออาจเลือกใช้บริการสายการบินจากกรุงเทพฯ ไปลงที่สนามบินสุราษฎร์ธานี แล้วนั่งรถไปลงเรือ (เฟอร์รี่) ที่ท่าเรือดอนสักเพื่อไปเกาะสมุย ซึ่งเสียค่าเดินทางถูกกว่า แต่ต้องใช้เวลานานกว่ามาก โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลสำคัญจะต้องรอเฟอร์รี่นานมาก เพราะมีผู้โดยสารหนาแน่น อีกทั้ง ในหน้ามรสุมก็ไม่สามารถใช้เฟอร์รี่ได้

ด้วยเหตุนี้ สะพานเชื่อมเกาะสมุยจึงเป็นทางเลือกที่สำคัญในการสัญจรด้วยรถยนต์สู่เกาะสมุย ซึ่งจะทำให้การเดินทางสะดวกสบาย และรวดเร็ว ช่วยกระตุ้นการท่องเที่ยวสู่เกาะสมุยและพื้นที่ใกล้เคียง และยังช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องชาวเกาะสมุยในเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งก็คือการเจ็บไข้ได้ป่วย ในกรณีเกินขีดความสามารถในการรักษาพยาบาลของโรงพยาบาลในเกาะสมุย จำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลซึ่งมีศักยภาพสูงกว่า หากมีสะพานเชื่อมเกาะสมุยจะทำให้สามารถส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว หรือในกรณีที่ผู้ป่วยต้องการเดินทางไปรักษาที่อื่นนอกเกาะสมุย ก็สามารถเดินได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ด้วยค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า

แต่อย่างไรก็ตาม บางคนเกรงว่าสะพานเชื่อมเกาะสมุยจะทำให้ผู้โดยสารเครื่องบินและเฟอร์รี่ลดน้อยลง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการ !

โครงการสะพานเชื่อมเกาะสมุยได้รับการตอบสนองอย่างดีจากรัฐบาลประยุทธ์ โดยได้มอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) เป็นเจ้าของโครงการ ซึ่งในเวลานี้ กทพ. กำลังศึกษาความเหมาะสมอยู่

มาถึงรัฐบาลเศรษฐา ในการตรวจราชการที่สมุยครั้งนี้ น่าเสียดายที่นายกฯ ไม่ได้ไปดูพื้นที่ที่จะก่อสร้างสะพาน ผมเข้าใจดีว่านายกฯ มีภารกิจมาก แต่ก็น่าจะแบ่งเวลาเพียงน้อยนิดให้สะพานเชื่อมเกาะสมุยได้บ้าง ชาวสมุยที่ลุ้นการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะอยู่คงน้อยใจที่เห็นนายกฯ สามารถเจียดเวลาไปตรวจเยี่ยมสนามบินสมุยได้ แต่ไม่มาตรวจเยี่ยมพื้นที่ที่จะก่อสร้างสะพาน

เมื่อเป็นเช่นนี้ จะให้คิดเป็นอื่นไม่ได้ คาดว่าโครงการก่อสร้างสะพานเชื่อมเกาะสมุยซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชาวเกาะสมุยได้มากมายมหาศาลคงเป็นหมัน เป็นฝันค้างที่ชาวเกาะสมุยไม่อยากประสบ แต่ก็หนีไม่พ้น ! เป็นเพราะอะไร ? ใครรู้บ้าง ? วานบอกผมด้วย

ฝากไว้เป็นปริศนาให้ประชาชนทั้งประเทศช่วยกันหาคำตอบครับ

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ดร.ธรณ์ ห่วงสถานการณ์เกาะร้องไห้ ลามขยายวงหลายจังหวัด ‘อ่าวไทย-อันดามัน’

เกาะร้องไห้แบบนี้ไม่ได้มีแห่งเดียว แต่มีเพียบเลย  ภาคตะวันออก เรื่อยไปถึงชุมพร สุราษฎร์ ยาวไปถึงสงขลา เกาะที่อยู่ใกล้ฝั่งเกือบทั้งหมดกำลังร้องไห้ ข้ามไปอันดามัน ตรัง กระบี่ สตูล หลายเกาะชายฝั่งเจอฟอกขาวรุนแรง

สามารถชี้ 'แลนด์บริดจ์' ระนอง-ชุมพร เกิดยาก แนะปั้นเป็นฐานการผลิต-กระจายสินค้า

นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ในหัวข้อแลนด์บริดจ์ ระนอง-ชุมพร

4 พ.ค. ขึ้นทางด่วนฟรี 3 สายทาง รวม 60 ด่าน

การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่าได้ยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษ รวม 3 สายทาง ดังนี้ ทางพิเศษเฉลิมมหานคร (ทางด่วนขั้นที่ 1) จำนวน 19 ด่าน ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2)

เข้าจุดพีค! 'ดร.ธรณ์' หวั่นร้อนจัดแบบนี้อีก7-8 วัน ความตายครั้งใหญ่จะมาเยือนทะเลไทย

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศน์ทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ว่า