ซูเปอร์โพลเผยเมืองไทยเข้าสู่เฟสพายุการเมืองระอุ

7 เม.. 2567 - สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง พายุการเมืองระอุ กับ วิกฤตศรัทธา กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น จำนวนทั้งสิ้น 1,178 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1 – 6 เมษายน พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา 

ผลสำรวจพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 77.0 มองว่า บรรยากาศการเมืองจะร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรง ในขณะที่ร้อยละ 23.0 ระบุไม่เลย และเมื่อแบ่งออกตามเพศ พบว่า ชายส่วนใหญ่หรือร้อยละ 80.3 มองว่าบรรยากาศการเมืองจะร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรงมากกว่า หญิงที่มีอยู่ร้อยละ 74.8 ที่มองว่าบรรยากาศการเมืองจะร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรง เช่นกัน เมื่อแบ่งออกตามช่วงอายุ พบว่า กลุ่มคนอายุระหว่าง 20 – 29 ปี ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 91.3 กลุ่มคนอายุระหว่าง 30 – 39 ปี ร้อยละ 88.1 กลุ่มคนอายุระหว่าง 40 – 49 ปีร้อยละ 68.3 กลุ่มคนอายุ 50 – 59 ปีร้อยละ 74.2 และกลุ่มคนอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละ 54.2 มองว่าบรรยากาศการเมืองจะร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรง

ที่น่าพิจารณาคือ เหตุปัจจัยที่ทำการเมืองร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรง ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ วิกฤตศรัทธาต่อ ผู้นำการเมือง ร้อยละ 84.8 กระบวนการยุติธรรม ล่มสลาย ร้อยละ 83.7 ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชน ร้อยละ 66.3 ความเสื่อมศรัทธาต่อ องค์กรอิสระ ร้อยละ 50.6 และการยุบพรรคก้าวไกล ร้อยละ 48.9 ตามลำดับ

รายงานของ ซูเปอร์โพล ระบุว่า หากเปรียบเทียบข้อมูลผลโพลชิ้นนี้ กับ อุณหภูมิร้อนทางการเมืองย้อนกลับไปประมาณปลายปีที่ผ่านมาจะพบว่า บรรยากาศการเมืองร้อนระอุขึ้นมากสอดคล้องกับการรับรู้และความรู้สึกของประชาชนได้ที่น่าเป็นห่วงคือบรรยากาศร้อนระอุทางการเมืองจะเปลี่ยนแปลงไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลาย เพราะเหตุปัจจัยสำคัญที่ประชาชนระบุมาในผลโพลนี้คือ วิกฤตศรัทธาต่อผู้นำการเมือง กระบวนการยุติธรรมล่มสลาย การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนล้มเหลว ความเสื่อมศรัทธาต่อองค์กรอิสระและการยุบพรรคก้าวไกล 

รายงานของซูเปอร์โพล ระบุด้วยว่า ในห้วงเวลาที่เหลืออยู่ ต้องตัดไฟแต่ต้นลม ด้วยการพิสูจน์ให้เห็นว่าผู้นำทางการเมืองทั้งหลาย เช่น นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร นางสาวแพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทยและกระบวนการยุติธรรมเป็นที่พึ่งของประชาชนและรัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศได้จริงโดยทำให้คนทั้งประเทศเห็นว่าทำงานอย่างหนักเกิดผลงานจับต้องได้ มีการลงพื้นที่เกาะติดพี่น้องประชาชนต่อเนื่องและลงซ้ำเพื่อติดตามผลคืบหน้าแก้ไขปัญหาเดือดร้อนของประชาชนและชุมชนในระดับพื้นที่ได้จริง เช่น อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร อาจจะกลับไปกางเต็นท์ที่ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อดูว่าอดีตวันนั้นกับอาจสามารถโมเดลแก้จน กับ วันนี้ในปัจจุบันแตกต่างไปอย่างไรบ้าง การลงพื้นที่อำเภออาจสามารถ ร้อยเอ็ด ในอดีตทำให้เกิดการพัฒนาดีขึ้นหรือไม่ อย่างไร หากทุกฝ่ายช่วยกัน ผลที่ตามมาคือ บรรยากาศการเมืองที่จะร้อนระอุ สู่ความขัดแย้งรุนแรงบานปลายก็จะลดระดับลงทำให้การขับเคลื่อนประเทศชาติและประชาชนทั้งประเทศเดินหน้าก้าวข้ามความขัดแย้งและผ่านพ้นวิกฤตศรัทธาต่อผู้นำการเมืองและอื่น ๆ ไปได้

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

‘อนุทิน’ ปลื้มโพลสะท้อน ปชช. ยก ‘มหาดไทย’ กระทรวง-รัฐมนตรี มีผลงานด้านสังคม

‘อนุทิน’ ขอบคุณประชาชนให้คะแนนมหาดไทยอันดับ 1 กระทรวงและรัฐมนตรีมีผลงานด้านสังคม เผยเป็นทั้งกำลังใจและแรงกระตุ้นให้ทำงานหนักขึ้นเพื่อประชาชนและประเทศชาติ

โพลจี้ตูด แก้ปัญหา 'ปากท้อง-ค่าครองชีพ' คลองหลอดขึ้นแท่นชาวบ้านตามข่าว

ซูเปอร์โพล เปิดผลสำรวจข่าวที่ปชช.สนใจ ยาเสพติดชายแดนมาอันดับแรก ขณะที่กระทรวงมหาดไทย ปชช.สนใจติดตามข่าวมากที่สุด ด้านปัญหาปากท้อง ค่าครองชีพแพง เรื่องสำคัญให้รัฐบาลแก้ปัญหาหลัก

'ธนกร' แนะรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นใช้จ่ายเป็นของขวัญปีใหม่คนไทย!

'ธนกร' ขอนายกฯ-รัฐบาล สร้างความมั่นใจ หลังโพลเผย ปชช.ห่วงขัดแย้งการเมือง ฝากเร่งเครื่องแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องด่วน แนะออกมาตรการกระตุ้นใช้จ่ายส่งท้ายปีเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทย

ซูเปอร์โพลชี้ประชาชนพึงพอใจการทำงานของตำรวจในคดี ดิไอคอน

สำนักวิจัยซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความพึงพอใจต่อผลงานตำรวจคดี ดิไอคอน กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ

ซูเปอร์โพล เผยคนไทยกังวลรัฐทุ่มงบประมาณกับแรงงานต่างด้าว

สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เสนอผลสำรวจเรื่อง ความเห็น ต่อ สิทธิแรงงานต่างชาติ กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศ ดำเนินโครงการทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) รวมจำนวนตัวอย่างในการวิเคราะห์ทางสถิติทั้งสิ้น