‘วันนอร์’ รับมีโอกาสเปิดประชุมสมัยวิสามัญ ช่วง พ.ค. – มิ.ย. ถกงบปี 68 หลังรัฐบาลทำร่างเสร็จ ชี้สภาชุดนี้ทำงานดีมีประสิทธิภาพ ล่มแค่ครั้งเดียว ซักฟอก 2 วัน ภาพรวมดี ประท้วงแค่สีสัน
5 เม.ย. 2567 – ที่รัฐสภา นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา และประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า หลังปิดสมัยประชุมสภาฯ 9 เมษายนนี้แล้ว มีโอกาสที่จะเปิดสมัยประชุมวิสามัญ ก่อนเปิดสมัยประชุมอีกครั้ง 3 กรกฎาคม เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2568 ที่รัฐบาลเสนอ ซึ่งสภาต้องพิจารณาภายใน 15 วัน และเห็นว่ารัฐบาลจะจัดทำร่างกฎหมายงบประมาณ 2568 เสร็จเรียบร้อย ภายในเดือนเมษายน เข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ความเห็นชอบกลางเดือนเมษายน ซึ่งถ้าส่งมาสภาก็จะต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญ ซึ่งอาจจะเป็นช่วงเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน เพื่อพิจารณาวาระ 1 และตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณา แต่หากเปิดสมัยประชุมวิสามัญแล้ว หากมีเรื่องอื่นที่สำคัญ คงจะให้เวลาในการพิจารณาตามสมควร
ส่วนกฎหมายที่ค้างอยู่นั้น นายวันมูหะมัดนอร์ ระบุว่า มีหลายส่วนที่ค้างอยู่ในกรรมาธิการวิสามัญหรือกรรมาธิการสามัญ เมื่อพิจารณาเสร็จก็เข้าสภา และมีบางส่วนเป็นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ที่เกี่ยวกับการเงินที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณารับรอง 39 ฉบับ ซึ่งหากรัฐบาลดำเนินการเสร็จก็ให้ส่งมาสภาเพื่อเปิดสมัยวิสามัญจะได้มีกฎหมายในการพิจารณา และเชื่อว่ารัฐบาลต้องการเช่นนั้น
ประธานสภาฯ กล่าวถึงการทำงานของรัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติ ในสมัยประชุมที่ผ่านมาว่า ไม่ใช่ความรู้สึกของตนเองเพียงคนเดียว แต่สื่อมวลชนและประชาชนได้วิเคราะห์การทำงานของสภาฯ ชุดที่ 26 ทำงานด้วยดีมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพเพราะสมาชิก เตรียมตัวค่อนข้างดี เวลาอภิปรายก็มีเอกสารหลักฐานที่ชัดเจน สามารถใช้ประโยชน์ได้ถือเป็นการพัฒนาบทบาททางด้านนิติบัญญัติเพื่อให้เกิดความศรัทธาของพี่น้องประชาชน และสมัยประชุมที่ผ่านมา ได้ประชุมถึง 32 ครั้ง โดย 31 ครั้ง เป็นการประชุมที่ผ่านไปได้ด้วยดี มีเพียงครั้งเดียวที่องค์ประชุมไม่ครบนิดหน่อย ซึ่งถือว่าน้อยมาก และหวังว่าในสมัยประชุมหน้าจะดีกว่านี้ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและมีการพัฒนาทางด้านนิติบัญญัติ
สำหรับการอภิปรายทั่วไปแบบไม่ลงมติตามมาตรา 152 ตลอด 2 วันที่ผ่านมานั้น นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า การประท้วงเป็นเรื่องธรรมดาเพื่อให้มีสีสันของสภา แต่ถือว่าน้อยมาก ตนอยู่ในสภามา 40 กว่าปี แม้จะเป็นการอภิปรายมาตรา 152 ไม่ลงมติ แต่ไม่มีการประท้วงแบบมีองครักษ์พิทักษ์ มีบ้างนิดหน่อย แต่ภาพรวมถือว่าเป็นการอภิปรายที่ดี แม้จะใช้เวลา 2 วัน ดึกไปหน่อย แต่การอภิปรายครั้งต่อไปเชื่อว่าวิปทั้งสองฝ่ายจะเข้าใจ ในการจะไปบริหารว่าจะใช้เวลาเท่าใด เพราะว่าถ้าใช้เวลามากเกินไปจะอภิปรายซ้ำซาก.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘แพทองธาร’ ยันพรรคร่วมไร้ปัญหา หลังภาพ 'ทักษิณ-อนุทิน' ออกรอบตีกอล์ฟด้วยกัน
ความจริงแล้วตนและนายอนุทิน ก็คุยกันอยู่แล้ว ถึงจะมีปัญหาอะไรก็คุยกันเคลียร์กันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพรรคภูมิใจไทยหรือพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆถึงเวลาถ้ามีอะไรก็คุย
อย่างหล่อ! ‘อนุทิน’ ปัดตีกอล์ฟเคลียร์ขัดแย้ง ‘ทักษิณ’ ยันการกระทำสำคัญกว่าคำพูด
‘อนุทิน’ ปัดตีกอล์ฟ ‘ทักษิณ’ เคลียร์ปมขัดแย้ง ยัน ‘การกระทำสำคัญ กว่าคำพูด’ ย้ำอีแอบ ไม่ได้หมายถึงตัวเอง - ภูมิใจไทยชัดเจน เพราะข้อเท็จจริงเข้าประชุมครม.
‘กนก’ สะท้อน ปัญหาความยุติธรรมโดยกฎหมาย บังคับใช้ กม.มากกว่าตัวบทของ กม.
ประเด็นที่เกิดคำถามต่อไป คือกฏหมายมุ่งเน้นบังคับไม่ให้คนกระทำผิด มากกว่าการทำให้คนกระทำผิดเป็นคนดี ใช่หรือไม่
การเมืองมกรา’68 พรรคร่วมร้อนรุ่มแตกหัก ‘ทักษิณ’ หนาวสะท้านชั้น 14
ทักษิณขยี้หนัก โชว์ภาพตีกอล์ฟขนาบข้างทุนผูกขาด ส่อสื่อสัญญาณรุก “พีระพันธุ์-รวมไทยสร้างชาติ” คาดชะตากรรมไม่แตกต่าง “ประวิตร-พปชร.” ประเมินปี 68 ปมชั้น 14 ทำการเมืองร้อนแรง
สัญญาณชัด! ‘เทพไท’ ฟันฉับความขัดแย้งในรัฐบาล เกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็วแน่นอน
เป็นเรื่องปกติที่พรรคการเมือง ซึ่งมีจุดยืนและอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน แต่กระโดดข้ามขั้วจัดตั้งรัฐบาลด้วยกัน
นักเขียนค่ายผู้จัดการ มองทางเลือก ‘ทักษิณ’ ยุบสภาล้างไพ่ใหม่ เหตุมั่นใจกระแส ’อิ๊งค์-ตัวเอง’
ทักษิณโชว์ร่วมก๊วนกอล์ฟอนุทิน โดยมีเจ้าสัวพลังงานร่วมด้วย โดยสื่อบอกว่าสยบรอยร้าว2พรรค ซึ่งจริงๆแม้ 2 พรรคจะขบเหลี่ยมทิ่มแทงกันบ้าง ก็ไม่ใช่เป้าหมายที่ทักษิณขู่ฟอด