4 เม.ย.2567 - พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวชี้แจงประเด็นการพักโทษเป็นกรณีพิเศษ ว่า ผู้อภิปรายและสมาชิกอีกจำนวนหนึ่ง อาจจะมีความเข้าใจไม่ตรงกัน ทำให้ท่านพูดอย่างไร ก็จะโยงไปที่โรงพยาบาลตำรวจ ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ราชทัณฑ์ บัญญัติไว้ว่า การนำตัวไปรักษานอกห้องขัง มิให้ผู้ต้องขังนั้นพ้นจากการควบคุม และถ้าผู้ต้องขังนั้นไปเสียจากสถานที่รับตัวไปรักษา ให้ถือว่ามีความผิดหนีที่คุมขัง
ดังนั้น ถ้าสมาชิกมองว่าสถานที่ซึ่ง นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไปรักษาตัว เป็นที่เลวร้าย เลือกปฏิบัติ ตนเองก็ไม่รู้จะใช้คำพูดอะไร เพราะการไปพักรักษาตัวก็มีเกณฑ์ตามกฎกระทรวง ตั้งแต่การจัดสถานที่ควบคุมพิเศษ ซึ่งตรงกับนิยามตามกฎหมาย นายทักษิณจึงอยู่ในเกณฑ์ดังกล่าว
พ.ต.อ.ทวี ย้ำว่า ตนเองไม่ได้เป็นผู้ออกกฎกระทรวง และหากจะหาผู้รับผิดชอบ แต่วันนี้เวลาที่จะอภิปราย รัฐธรรมนูญมาตรา 53 ระบุว่ารัฐต้องดูแล และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่ตนเองจะเสียใจว่าคนปัจจุบันมาใช้ตรรกะวิบัติ ข้าราชการตั้งแต่ปลัดกระทรวงยุติธรรม รองปลัดกระทรวงฯ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ และผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตนเองก็ไม่ได้เปลี่ยนตัวด้วยซ้ำ
"ต้องเรียนว่า ถ้าใช้ตรรกะวิบัติ หรือปฏิบัติไม่ชอบ ถ้าอดีตนายกฯ ทักษิณ เข้ามาวันที่ 22 ส.ค. 2566 ผมเองเคารพท่าน แต่ก็ยังมีความวิตก ทำไมท่านเข้ามาในรัฐบาลที่ยึดอำนาจจากท่านไป ท่านมีความกล้าหาญมาก ทำไมท่านไม่รอเวลา เพราะตอนนั้นก็รู้แล้วว่าการเลือกตั้ง พรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทยกำลังจะจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพรรคอื่นๆ ทำไมท่านไม่เข้ามาตอนที่มีรัฐบาลใหม่ ผมไม่ได้ถามเหตุผลท่าน แต่ถ้าในมุมมองของผม ผมถือว่าท่านมีสปิริตสูงมาก"
รัฐบาลปัจจุบันได้แถลงนโยบายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ เมื่อ 11 ก.ย. 2566 ห่างมาเกือบเดือนนายทักษิณ ก็ไปอยู่โรงพยาบาลแล้ว เมื่อมีผู้อภิปรายว่า การไปอยู่โรงพยาบาล เป็นการทำลายล้างกระบวนการยุติธรรม จะทำลายล้างได้อย่างไร เพราะในเมื่อทั้งกฎหมาย กฎกระทรวง ระบุว่า นี่คือเรือนจำ การกล่าวหาว่าเป็นที่คุมขังทิพย์ จึงไม่เป็นธรรม
ทั้งนี้ ในกฎหมายยังระบุว่า เมื่อเวลาเจ็บป่วย ให้ส่งแพทย์โดยเร็ว แล้วไม่ได้เขียนให้เอาตัวกลับมาด้วยซ้ำ หากจะกลับมาก็ต้องเป็นเรื่องของแพทย์ และหากแพทย์ให้ส่งตัวไปก็ไม่มีใครขัดแพทย์เลย แต่ที่สำคัญคือการถูกคุมขัง ท่านสูญเสียเสรีภาพ มีผู้คุม และตำรวจ ส่วนการจัดที่คุมขังพิเศษก็เป็นเรื่องของโรงพยาบาล อาจจะมีเหตุผลอย่างไรไม่ทราบ เพราะในกฎหมายราชทัณฑ์กำหนดไว้เพียง ไม่ให้หนี และไม่ให้ก่อเหตุร้าย
"ทุกท่านที่ดึงไปอยู่ในโรงพยาบาล บอกเป็นเรื่องเลวร้าย ขัดหลักนิติธรรม ผมได้พูดกับ สว. แล้ว การฉีกรัฐธรรมนูญ การยึดอำนาจ อันนั้นสิ ในทัศนะของผม ที่ธำรงไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นั่นคือการทำลายระบบ ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ผมพูดเสมอว่าตัวเองไม่อยากให้เห็นคนพูดว่า 'คนจงทำในสิ่งที่ฉันพูด แต่สิ่งที่ฉันพูด ฉันไม่ทำ' ถ้าเป็นลักษณะนี้จะเกิดความเสียหาย"
พ.ต.อ.ทวี ชี้แจงเรื่องความเห็นของแพทย์ว่า มีแพทย์ 2 คน ที่จะรายงานมายังอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ซึ่งเป็นผู้มีความรอบคอบมาก จึงส่งเรื่องกลับไปยังโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ว่าอาการลักษณะนี้สามารถนำตัวกลับมาที่โรงพยาบาลราชทัณฑ์ได้หรือไม่ ซึ่งได้คำตอบว่าอยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา อธิบดีกรมราชทัณฑ์จึงได้ทำหนังสือถามกลับไปที่แพทย์โรงพยาบาลตำรวจ พร้อมส่งไปให้แพทย์อีกหลายคนมีความเห็นกลับมาอีก กระทั่งเสนอเรื่องมายังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเห็นชอบ และส่วนตัวก็เชื่อว่า เรื่องอาการเจ็บป่วยไม่มีใครรู้ดีกว่าแพทย์
"ผมมาเป็นรัฐมนตรี ผมก็สงสัย มาถึงยังไม่ทันได้นอนเลย ทำไมต้องมาอยู่ในชั้น 14 ผมก็มาดูว่ามันเป็นความเห็นของแพทย์" พ.ต.อ.ทวี กล่าว
ต่อมา นายวาโย อัศวรุ่งเรือง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ได้ใช้สิทธิ์พาดพิง พร้อมตั้งคำถามว่า ต่อไปผู้สูงอายุและผู้ป่วยทุกคนในเรือนจำ จะได้รับการพิจารณาและสิทธิในการรักษาตัวเช่นเดียวกันหรือไม่ โดย พ.ต.อ.ทวี ตอบว่า จะนำไปปฏิบัติ และขอให้สมาชิกช่วยตรวจสอบด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ฟันธงตัวแปรรัฐบาลชิงยุบสภา ยังไม่เกิด
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงกระแสข่าวฐบาลมีโอกาสชิงยุบสภา จะเกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
ดร.เสรี ฟันธง 'พรรคเพื่อไทย' คือต้นตอทำให้ 'พรรคประชาชน' ชนะการเลือกตั้งครั้งหน้า
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊กว่า
ที่ปรึกษาของนายกฯ โผล่ทำเนียบฯ สแกนแล้วไม่มีม็อบการเมือง มีแต่ม็อบปากท้อง
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า ความจริงได้มีโอกาสเข้ามาที่ทำเนียบฯหลายครั้งเพื่อมาพูดคุยกับทีมงาน แต่ยัง
ความเป็นมาของรัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 (ตอนที่ 33): ‘กรมขุนชัยนาทนเรนทร’ ทรงตกเป็นเหยื่อการเมืองของหลวงพิบูลสงคราม”
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 4 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 ประกาศใช้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490
'ดร.ณัฏฐ์' นักกฎหมายมหาชน ชำแหละทุกแง่มุม ผลกระทบคดีตากใบขาดอายุความ
ดร.ณัฐวุฒิ วงศ์เนียม หรือ “ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน กล่าวถึงคดีตากใบที่ไม่สามารถนำตัวจำเลยมาศาลได้ ภายในอายุความ 20 ปี ทำ
'เทพไท' อัดพรรคเพื่อไทย ตระบัดสัตย์ซ้ำซาก!
มีหลายคนรู้สึกแปลกใจกับผลการลงมติวาระรับทราบรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการออ