'ชัยชนะ' ลั่น ปชป.ยุคใหม่ ต้องตรงไปตรงมา อะไรดีก็ว่าดี อะไรไม่ดีก็ต้องวิจารณ์

30 มี.ค.2567 - นายชัยชนะ​ เดชเดโช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์​ กล่าวว่า​ การสัมมนาวันนี้เป็นการกำหนดยุทธศาสตร์พรรค ว่าหลังจากที่ได้กรรมการบริหารพรรคชุดใหม่มาแล้ว ในอนาคตพรรคจะมีนโยบายเรื่องอะไร​ และกำหนดการลงพื้นที่อย่างไร​ หลังจากนี้และหลังจากนี้จะนำไปชี้แจงให้กับที่ประชุมใหญ่ ในเดือนเมษายน ขณะเดียวกันกรรมการบริหารพรรคและสส.จะได้แลกเปลี่ยน การทำงานร่วมกัน และรับฟังปัญหาในแต่ละพื้นที่ เพื่อมาวิเคราะห์และคิดเป็นนโยบายของพรรค

เมื่อถามว่าวางติวเข้มสำหรับการอภิปรายตามมาตรา 152 นาย​ชัย​ชนะ​ กล่าวว่า​ วันนี้จะเป็นการกำหนดตัวผู้อภิปรายว่ามีใครบ้าง และดูดเนื้อหา โดยเรื่องไหนที่สว.พูดไปกระจ่างแล้ว ก็จะหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้ซ้ำประเด็น ไม่เช่นนั้นประชาชนจะเบื่อ​

"ไม่รู้สึกกดดัน มาก่อนหน้านี้ประชาชนจะคาดหวัง เพราะทราบดี และทุกอย่างก็ต้องว่ากันไปตามข้อเท็จจริง​และเหตุผลว่าเป็นอย่างไร​ ต้องเอาข้อเท็จจริงมาพูด เพราะประชาธิปัตย์ยุคใหม่ต้องเอาปัญหาที่แท้จริงมาพูด ต้องวิจารณ์ตรงไปตรงมา อะไรดีก็ว่าดี อะไรไม่ดีก็วิจารณ์เพื่อให้แก้ไข อะไรที่เป็นปัญหาก็ต้องถามและรัฐบาลต้องตอบให้ได้"นายชัยชนะ กล่าว

เมื่อถามย้ำว่าจะได้เห็นการอภิปรายเรื่องในทักษิณหรือไม่นั้น นายชัยชนะกล่าวว่า ขอให้รอดู และสว. ได้ถามไปแล้วในบางคำถาม และรมว.ยุติธรรมก็ตอบไปแล้ว ดังนั้นต้องมาวิเคราะห์ดูว่า มีประเด็นอะไรที่ตกค้างอยู่ ดังนั้นขอให้รอติดตามในวันอภิปรายดีกว่า

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เทพไท' เรียกร้องนิรโทษกรรมทุกกลุ่ม รวมคดี 112 ด้วย

นายเทพไท เสนพงศ์ อดีตสส.นครศรีธรรมราช โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง "พรบ.นิรโทษกรรม:ปรองดองจริงหรือ?" ระบุว่ากรณีนายนพดล ปัทมะ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวถึงการยื่นร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.

จับแล้ว! 2 แม่ลูก แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ลูบคม 'ปธ.กมธ.ตำรวจ'

พล.ต.ต.ภูมิพัฒน์ ภัทรศรีวงษ์ชัย ผู้บังคับการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 5 (ผบก.สอท.5) พ.ต.อ.อุกฤช ศรีนิติวรวงศ์ ผกก.วิเคราะห์ข่าวและเครื่องมือพิเศษ

ดร.เสรี ถามลั่น มีกิน มีใช้ มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี เกิดขึ้นกี่โมง?

ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาอดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊กว่า ทำงานไม่เป็น ไม่เห็นผลงานเชิงประจักษ์ใดๆ ที่หาเสียง

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 45: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 อันเป็นพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสภาผู้แทนราษฎร