29 มี.ค.2567 - ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ของนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นผู้เสนอ
นายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล อภิปรายว่า สาระสำคัญของญัตติคือปัญหาที่ตัวเราเองไม่เข้าใจตัวเราเองว่า มีอำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในฐานะที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ พวกตนเข้าใจความตั้งใจดีของผู้เสนอญัตติ และยืนยันว่าเราไม่ปรารถนาจะขัดขวางญัตตินี้แต่อย่างใด อย่างไรก็ตามพวกตนสมาชิกพรรคก้าวไกลมีความจำเป็นที่จะต้องขอสงวนความเห็นไว้ใน 2 ประเด้นสำคัญคือ1.เห็นว่าเมื่อประธานฯไม่บรรจุร่างรัฐธรรมนูญฯของนายชูศักดิ์ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสถานั้นเป็นการใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับการประชุมรัฐสภา รวมทั้งไม่เป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
และ2.ในกรณีปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ พวกเราไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่ต้องส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าพวกเรามีอำนาจที่จะพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ที่จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้หรือไม่
“พูดง่ายๆรัฐสภาไม่จำเป็นต้องไปถามศาล หรือขออนุญาตตุลาการ 7 คน ในสิ่ที่พวกเรามีอำนาจชัดเจนอยู่แล้วในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งการยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยโดยไม่จำเป็นนั้นยังมีปัญหาอย่างอื่นด้วย เพราะสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นการไปเปิดช่องหรือสนับสนุนให้ศาลรัฐธรรมนูญขยายอำนาจของตนเอง จนเสียสมดุลทางอำนาจในระบบรัฐสภา ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ กับศาลรัฐธรรมนูญมากขึ้น พวกผมจึงเห็นว่าการใช้ดุลพินิจในการไม่บรรจุร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯเข้าสู่สภาฯไม่ถูกต้อง เพราะร่างของนายชูศักดิ์ไม่มีบทบัญญัติใดเลยที่ขัดรัฐธรรมนูญ”นายชัยธวัช กล่าว
นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/64 โดยละเอียดแล้ว ผมยืนยันว่าไม่มีข้อความตรงไหนเลยที่วินิจฉัยว่าร่างแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวดการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มิใช่แก้ไขเพิ่มเติมรายมาตรา จึงไม่สามารถบรรจุให้รัฐสภาพิจารณาบรรจุได้ ศาลรัฐธรรมนูญเพียงแต่เห็นว่าวิธีการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวด 15/1 ย่อมมีผลเป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญปี 60 หากรัฐสภาต้องการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ต้องจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ก่อนที่จะเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมเข้าสู่สภา และในรายละเอียดพบว่าควรทำประชามติ 2 ครั้งเท่านั้น ครั้งแรกหลังรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมผ่านวาระที่3 แล้ว ครั้งที่2 หลังจากที่มีการจัดทำร่างรัฐธรรมเสร็จแล้ว
นายชัยธวัช กล่าวต่อว่า เห็นชัดเจนว่ารัฐสภามีอำนาจจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไพ้ และการพิจารณาร่างรัฐแก้ไขเพิ่มเติมให้มีหมวดใหม่ทำได้โดยไม่ต้องทำประชามติก่อนเข้าสู่การพิจารณาวาระที่1วาระที่2 แต่เมื่อประธานรัฐสภามีดุลพินิจไปอีกอย่าง พวกตนเห็นว่ารัฐสภายังสามารถหข้อยุติเรื่องนี้ได้ด้วยกลไกลของรัฐสภาเอง เช่นสามรถเสนอญัติให้สมาชิกรัฐสภาปรึกษาหารือแสดงความคิดเห็นได้ หรือลงมติว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับประธานรัฐสภา สุดท้ายตนเชื่อว่าเมื่อเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกรัฐสภาเห็นอย่างไร ประธานสภาก็คงจะดำเนินการไปตามนั้น เราตีความอำนาจของตัวเองได้ โดยไม่ต้องไปขออนุญาตใคร เมื่อไม่มีเหตุจำเป็นต้องไปถามศาลรัฐธรรมนูญในเรื่องที่เรามีอำนาจอยู่แล้ว พวกตนก็ไม่สนับสนุนให้ยื่นคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ ที่ผ่านมาการยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยหลายครั้งกลายเป็นการเปิดช่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอำนาจของตนเอง บางครั้งก็ตีความรัฐธรรมนูญเกินบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ และปัจจุบันศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นผู้ผูกขาดตีความแต่เพียงผู้เดียวไปแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญกำลังกลายเป็นรัฐธรรมนูญเสียเอง วินิจฉัยอย่างไรก็ได้ แล้วอ้างว่าคำวินจฉัยผูกพันทุกองค์กร บีบให้สถาบันทางการเมืองอื่นสยบยอม ยอมจำนนกันหมด หากพวกเรายังมีส่วนร่วมในการสร้างบรรทัดฐานทางการเมืองแบบนี้ต่อไปในอนาคตระบอบการเมืองของเราที่ควรอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ ปกครองด้วยรัฐธรรมนูญ จะกลายเป็นระบอบการเมืองที่ปกครองด้วยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
“ด้วยเหตุและผลที่กล่าวมาทั้งหมด พวกผมและสมาชิกพรรคก้าวไกล จึงขอสงวนความเห็นไว้ในที่ประชุมรัฐสภาแห่งนี้ด้วยการงดออกเสียงในญัตตินี้ ไม่ใช่เพราะต้องการขัดขวางการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และไม่ใช่เพราะต้องการขัดขวางญัตตินี้ เพราะเชื่อว่าในวันนี้เสียงส่วนใหญ่ของรัฐสภาที่มาจากสส.ฝั่งรัฐบาลมากพออยู่แล้วที่จะให้ญัตติฉบับนี้ผ่านไปได้โดยไม่มีปัญหา แต่พวกผมขออนุญาตงดออกเสียงเพื่อส่งเสียงเตือนให้รัฐสภาแห่งนี้ช่วยกันทบทวนและแก้ไขระบอบการเมืองของพวกเราในอนาคต เพื่อให้ระบบประชาธิปไตยมีดุลยภาพระหว่างสถาบันการเมืองต่างๆ โดยมีอำนาจของประชาชนเป็นอำนาจสูงสุด”นายชัยธวัช กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เลขาฯกกต. ตรวจหน่วยรับสมัคร อบจ.ปราจีนบุรี อุบตอบปมสอบเงิน 20 ล้าน
นายแสวง บุญมี เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พร้อมด้วย พ.ต.ท. ระพีพงษ์ จิรพัฒนาลักษณ์ รองเลขาธิการ กกต. , น.ส.โชติกา แก้วผล ผู้อำนวยการ กกต.ประจำจังหวัดปราจีนบุรี และคณะ ร่วมสังเกตการณ์การรับสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ.ปราจีนบุรีและนายก อบจ.จังหวัดปราจีนบุรี ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี
แฉอีโม่ง วิ่งเต้นล้มปมชั้น 14 เตือนหยุดทำเถอะ
นายจตุพร พรหมพันธุ์ วิทยากรคณะหลอมรวมประชาชน เฟซบุ๊คไลฟ์ว่า นับตั้งแต่ต้นปี 2568 ให้จับตาดูวันที่ 15 ม.ค.ที่แพทยสภาขีดเส้นตายให้แพทย์รักษาทักษิณ ชินวัตร ชั้น 14 ส่งรายงานการรักษามาตรวจสอบการเอื้อหนีติดคุก แล้วยังต้องติดตามผลตรวจสอบของ ป.ป.ช.กรณีชั้น
มีแม้วไม่มีเรา! วัดใจจุดยืน 'พรรคส้ม' หลังทักษิณขีดเส้นแบ่งข้างทุกเวทีแล้ว
นายสุทธิชัย หยุ่น สื่อมวลชนอาวุโส โพสต์เฟซบุ๊กว่า "พรรคส้มกล้าไหม? มีแม้วไม่มีเรา!
ดร.เสรี ฟาดพรรคขี้โม้-พรรควาทกรรม
ดร.เสรี วงษ์มณฑา นักวิชาการด้านการตลาดและการสื่อสาร โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า “พรรคหนึ่งมีแต่วาทกรรม ไม่เคยทำงาน
ศาลรธน. มีมติเอกฉันท์ ไม่รับคำร้อง ปมจำกัดสิทธิสมัคร สว.
ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์มีคำสั่งไม่รับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัจฉัย กรณีที่ นายเสฐียร ศรีเมือง (ผู้ร้อง) ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 213 ดังนี้ 1.การกระทำของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
พ่อนายกฯ ลั่นพรรคร่วมรัฐบาลต้องอยู่ด้วยกันจนครบเทอม
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการประเมินสถานการณ์การเมืองในปี 2568 ว่า การเมืองคงไม่มีอะไร ยังเหมือนเดิม พรรคร่วมรัฐบาลก็เหมือนเดิม การที่ไม่เห็นด้วยกับอะไรกันบ้าง ก็เป็น