29 มี.ค.2567 - เวลา 12.40 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ที่มีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาญัตติ เรื่องขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 210 (2) ของนายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และคณะ เป็นผู้เสนอ
นายชูศักดิ์ กล่าวเปิดเสนอญัตติว่า ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาฯ แจ้งว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา256 และเพิ่มเติมหมวด15/1การจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ที่ตนและคณะเป็นผู้เสนอ ไม่ใช่ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม ประธานรัฐสภาจึงไม่สามารถบรรจุเป็นวาระการประชุมรัฐสภาได้นั้น เท่ากับว่าประธานรัฐสภา เห็นว่ารัฐสภาไม่มีหน้าที่พิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มเติม แต่ตนเห็นว่าเป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมตามรัฐธรรมนูญ 2560 (2) และการเสนอญัตติเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 แล้ว จึงชอบที่ประธานจะบรรจุเป็นระเบียบวาระ ดังนั้น ตนจึงขอเสนอญัตติตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา พ.ศ.2563 ข้อ31 ขอให้รัฐสภามีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของรัฐสภา และขอให้ศาลพิจารณวินิจฉัยว่ารัฐสภาจะบรรจุวาระแก้ไขเพิ่มติมที่มีบทบัญญัติให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยยังไม่มีผลประชามติ ได้หรือไม่ และหากว่ารัฐสภาสามารถบรรจุร่างได้แล้ว การจัดให้ประชาชนออกเสียงประชามติเสียก่อนว่าสมควรให้มีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ จะสามารถกระทำในขั้นตอนที่รัฐสภาลงมติให้ความเห็นชอบรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมในวาระสาม โดยสอบถามไปพร้อมกับกรณีมาตรา256(8)ได้หรือไม่ หากไม่ได้จะต้องสอบถามในขั้นตอนใด
นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล อภิปรายว่า รู้สึกหนักใจที่จะต้องส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ เพราะทุกครั้งที่รัฐสภาส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเกี่ยวกับการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือการยื่นดาบให้แก่ตุลาการ 9 คน ที่ถูกแต่งตั้งโดยกลุ่มคนที่ส่วนใหญ่ไม่อยากจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และให้กลุ่มคนดังกล่าวชี้ขาดรัฐสภาว่าทำได้ ทำไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่ผ่านมามักไม่เป็นคุณต่อกระบวนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แต่ที่หนักใจกว่านั้น ถ้าเกิดรัฐสภาเดินตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัดจะไม่ต้องใช้เวลาหรือกำลังพิจารณาญัตตินี้ตั้งแต่ต้น
นายพริษฐ์ อภิปรายต่อว่า หากสงสัยในคำวินิจฉันศาลรัฐธรรมนูญที่ 4/2564 เราสามารถไปดูคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการได้ เพื่อประกอบการวินิจฉัยของประธานรัฐสภา เมื่อตนศึกษาคำวินิจฉัยส่วนตนแล้วจะเห็นชัดว่าตุลาการมีความเห็นอย่างไร หากจะยึดตามความเข้าใจและข้อมูลของตน มี 5 ตุลาการบอกว่าประธานรัฐสภาบรรจุเข้าเป็นระเบียบวาระได้ และมี2ตุลาการวินิจฉัยคล้ายคำวินิจฉัยกลาง อีก1ตุลาการชัดเจนว่าบรรจุเป็นระเบียบไม่ได้จนกว่าจะทำประชามติ และอีก 1 ตุลาการชัดเจนว่ารัฐสภาไม่มีอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉะนั้นพออนุมานได้ว่าคำวินิจฉัยกลางเปรียบเสมือนการสรุปรวบยอดบอกกับเราว่าประธานรัฐสภาสามารถบรรจุร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมของพรรคเพื่อไทยเป็นระเบียบวาระได้ และเชื่อว่าถ้ารัฐสภามีมติให้ส่งเรื่องไปยังศาลรัฐธรรมนูญจริงๆ ตุลาการที่เคยวินิจฉัยก็จะวินิจฉัยกลับมาเหมือนเดิม
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
แก้วสรร : ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ประเมินคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลรธน.ยกคำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง เอกฉันท์ 5 ประเด็นเว้นประเด็น 2
จากกรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
'จตุพร' ตอกย้ำศาลรธน.รับคำร้องคดีล้มล้าง เพื่อหยุดอหังการอำนาจ เริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง
ลุ้นศาล รธน.พิจารณาคำร้อง 'จตุพร' เชื่อรับไว้วินิจฉัยเพื่อหยุดอหังการอำนาจ ลั่นจะเริ่มจุดเปลี่ยนบ้านเมือง เปิดความหวังประเทศก้าวเดินสู่ผลประโยชน์ชาติ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'อนุทิน' เช็กสัญญาณ ครม.อิ๊งค์ ปมศาลรธน.นัดถกรับ-ไม่รับคำร้อง คดีทักษิณ-เพื่อไทย ล้มล้างการปกครอง
ที่ด่านพรมแดนบ้านผักกาด ตำบลคลองใหญ่ อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี นายอนุชิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี ที่ในวันพรุ่งนี้(22 พ.ย.) ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณารับคำร้อง
สส.แพ้! กมธ.ประชามติ ฝั่ง สว. โหวตชนะ ใช้เกณฑ์เสียงข้างมาก 2 ชั้น แก้รัฐธรรมนูญ
นายกฤช เอื้อวงศ์ สว. พร้อมด้วย นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร สว. ในฐานะโฆษกคณะกรรมาธิการร่วมกันเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการออกเสียงประชามติ แถลงผลการประชุมครั้งที่ 3 เพื่อหาข้อยุติในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.