กกต.ป้ายแดง ไม่กดดันพิจารณาคดีร้อนยุบพรรค

28 มี.ค.2567 - นายสิทธิโชติ อินทรวิเศษ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้สัมภาษณ์ถึงการเข้ารับตำแหน่งกกต. ว่า ก่อนหน้านี้กกต.ทำงานได้ดีอยู่แล้ว แต่ถ้ามองจากข้างนอกก็มีอุปสรรคปัญหาที่สะท้อนกลับมาในบางเรื่อง ซึ่งเป็นภาพรวมที่ว่ากกต.ทำอะไรกันอยู่ กกต.ทำอะไรถึงไหนแล้ว พอตนเข้ามานั่งอยู่ในตำแหน่งกกต. สิ่งหนึ่งที่อยากพัฒนาก็คือความสามารถของบุคลากร ที่จะต้องมีความรู้ในการทำงานให้มีความทันสมัย เจ้าหน้าที่กกต.ทุกคนต้องพัฒนาตัวเองตามปัญหา ซึ่งเราจะต้องสร้างความรู้ให้กับทุกคน รวมถึงต้องทำให้ระบบขั้นตอนมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และจะต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์สอดคล้องกับปัจจุบัน เบื้องต้นจะต้องทำให้องค์กรนี้มีความสามารถก่อน

เมื่อถามว่าการเข้ามาในขณะที่มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการทำงานของกกต.ที่มีความล่าช้า อาจถูกมองว่าเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นายสิทธิโชติ กล่าวว่า ตนก็เข้าใจว่าบางคนอยากให้การทำงานเห็นผล ไม่ว่าทางใดทางหนึ่งอย่างรวดเร็ว คนที่ฟังกับคนที่ทำมีความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ซึ่งกกต.จะต้องทำตามกฎหมาย หากทำงานเร็วโดยไม่ยึดกฎหมาย โดยเอาความรู้สึกหรือทำแบบส่งเดช ไปที่ไหนก็แพ้ไปถึงศาลก็แพ้ เพราะฉะนั้นการรวบรวมพยานหลักฐานให้เป็นไปตามกฎหมาย ให้ศาลสามารถรับฟังได้ ดังนั้นกกต.จะต้องเลือกหาพยานหลักฐาน หรือกลั่นกรองพยานหลักฐานที่สามารถรับฟังได้ ซึ่งอาจจะช้าบ้างแต่กระบวนการก็ไม่ได้ช้าเกินไป เมื่อคดีไปถึงศาลแล้วศาลต้องรับฟังได้แรงกดดันต่างๆเราก็ขอทำความเข้าใจ เราจะทำตามแรงกดดันอย่างเดียวไม่ได้เราต้องมีหลักก่อน ซึ่งจะต้องไม่ช้าเกินไป

ถามว่า จากที่เคยทำงานในศาลฎีกามาก่อนจะนำความรู้ประสบการณ์ในการทำคดีเลือกตั้งในอดีตที่กกต.ส่งเรื่องไปยังศาลมาปรับปรุงการทำสำนวน เพื่อให้กกต.ทำงานได้อย่างรวดเร็วนั้นได้อย่างไร นายสิทธิโชติ กล่าวว่า เป็นเรื่องเดียวที่ตนได้เปรียบกว่าคนอื่น เพราะเคยเป็นประธานแผนกคดีเลือกตั้งมาก่อน ซึ่งทำคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งเข้าโดยเข้าสู่ที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา 2 รอบ โดยในครั้งแรกคือการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 และการเลือกตั้งปี 2566 ซึ่งขั้นตอนของการดำเนินคดีมีขั้นตอนที่กำหนดไว้ เช่นกรณีการตัดสิทธิผู้สมัครรับเลือกตั้ง ศาลจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน เมื่อศาลรับเรื่องจากกกต. ก็นัดไปสวนทันทีนัดพร้อมทันที และในการเลือกตั้งสส.ก็ให้ศาลทุกจังหวัดดำเนินการไต่สวนแทนศาล แต่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 วัน และส่งข้อเท็จจริงมายังศาลฎีกา ซึ่งศาลฎีกาจะต้องตัดสินให้แล้วเสร็จภายใน 2 วัน และเหลือเวลาอีก 3 วันเพื่อส่งคดีกลับไปอ่านคำพิพากษาซึ่งไม่เคยล่าช้าเพราะถูกบังคับในระบบกฎหมายแล้ว ซึ่งเข้าใจว่าสาเหตุที่มีความล่าช้าอาจจะเป็นคดีอื่นที่มีความเกี่ยวพันกันไม่ใช่คดีเลือกตั้ง เช่นคดีฟ้องร้องชดใช้เรียกค่าเสียหายอาจเกิดจากการตัดสิทธิให้ใบเหลืองใบแดง ซึ่งกลายเป็นเรื่องคดีแพ่งคดีอาญาปกติไป สำหรับคดีเลือกตั้งปกติก็จะมีการบังคับอยู่แล้วยืนยันว่าไม่ช้าแน่นอน

ผู้สื่อข่าวถามอีกว่า สำนวนจากกกต.ที่ไปยังศาล เห็นจุดอ่อนอะไรที่จะนำมาปรับปรุงให้การทำงานของกกต. เมื่อส่งสำนวนไปศาลก็สามารถวินิจฉัยได้เลยเพื่อให้ฝ่ายการเมืองเกิดความเกรงกลัว นายสิทธิโชติ กล่าวว่า เรื่องนี้ตนเห็นว่าเบื้องต้นกกต.มีพนักงานสืบสวนสอบสวนในต่างจังหวัดเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะไม่มีความเชี่ยวชาญในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งพยานหลักฐานบางชิ้นหากมาโดยไม่ชอบ หรือในความรู้สึกเราอาจพอรับฟังได้แต่เมื่อไปถึงศาล ศาลมองว่ายังรับฟังไม่ได้เพราะยังจะต้องผ่านการพิสูจน์มาก่อน ดังนั้นการรับฟังพยานหลักฐานเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่กกต.พลาดพลั้งเสียทีในบางเรื่อง ก็ขึ้นอยู่กับการรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้น

"ถ้ามาจากจังหวัดแล้วมาถึงกกต.ส่วนกลาง เมื่อเห็นว่าพยานหลักฐานแค่นี้ยังไม่เพียงพอคุณต้องสอบเพิ่มเพื่ออุดรอยรั่วตรงนี้ จุดนี้คือจุดอ่อนที่จะต้องพัฒนา ผมได้คุยกับหลายฝ่ายของกกต. ว่ากกต.จะต้องพัฒนาให้ความรู้ ในการสืบสวนรวบรวมพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นจุดที่สำคัญ ยกตัวอย่าง ตอนที่อยู่ศาลฎีกามีกรณีตัดสิทธิผู้สมัครก็มีการส่งเอกสาร ศาลฎีกาก็สงสัยว่า การนับเป็นสมาชิกพรรคหรือลาออกแล้ว ลาออกเมื่อไหร่ ทำให้การประชุมสาขาพรรคชอบหรือไม่ เอกสารบางอย่างไม่ชัด และข้อบังคับพรรคครอบคลุมขนาดไหนจึงต้องขอเอกสารเพิ่ม หากกกต.เตรียมไว้ดีมีข้อมูลเหล่านี้ปิดหมดศาลก็วินิจฉัยได้เลย ซึ่งก็เคยขอไปและทำให้คดีมีความล่าช้าพอสมควร แต่ถ้าศาลฎีกาไม่ขอศาลฎีกาก็ยกฟ้องไปเลย หรือตัดสินให้ผู้ถูกร้องชนะไปเลย ขึ้นอยู่กับเวลาบีบขนาดไหน ดังนั้นการเตรียมสำนวนการรับฟังพยานหลักฐานเตรียมเอกสาร สนับสนุนข้อกล่าวหาของเราเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งข้อนี้ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่เราต้องพัฒนา" นายสิทธิโชติ กล่าว

เมื่อถามว่าเชื่อว่าแนวทางที่เราคิดไว้จะสามารถอุดรอยรั่วการทำงานของกกต.และเอาผิดคนที่ทำผิดกฎหมายเลือกตั้งได้มากขึ้นใช่หรือไม่ นายสิทธิโชติกล่าวว่า แนวคิดของผมคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานของกกต. สืบสวนวินิจฉัยในทุกเรื่องของกกต.ได้ แต่การจะอุดรอยรั่วให้ได้ดีที่สุดเราก็ต้องสร้างคนทำงานให้มีประสิทธิภาพซึ่งคนของกกต.มีเยอะทั้งประเทศถ้าเราสามารถทำตรงนั้นได้คิดว่าจะสามารถอุดรอยรั่วเหล่านี้ได้

ถามต่อว่าหนักใจหรือไม่ที่เข้ามาเป็นกกต.ในขณะที่กำลังมีการพิจารณาเรื่องของการยุบพรรคการเมือง นายสิทธิโชติ กล่าวว่า ตอนที่ตนไปแสดงวิสัยทัศน์ต่อกรรมาธิการวุฒิสภาก็ถูกถามว่ามาเป็นกกต.อยากจะทำอะไรบ้าง ซึ่งตอนคิดว่าภารกิจหลักสำคัญของกกต.คือทำอย่างไรจะคัดคนดีคนเก่งคนมีความรู้ความสามารถเข้ามาเราเน้นที่คนดีเพราะคนดีจะครอบคลุมหมดทุกอย่างทั้งซื่อสัตย์สุจริตฉลาดมีความรู้มีความตั้งใจ ให้เข้าสู่ระบบการเมืองเป็นผู้บริหารประเทศสิ่งเหล่านี้เป็นเป้าหมายกกต.ที่ต้องทำให้ได้ ต้องนำคนดีๆเข้ามาสู่ระบบการเมือง ถ้าเราตั้งธงไว้อย่างนี้แล้วการยุบพรรคการให้ใบเหลืองใบแดงมันก็จะต้องมีว่าคนนั้นดีไม่ดี ทำผิดจริงหรือไม่ต้องยึดหลักกฎหมายเป็นหลัก แล้วต้องให้ความเป็นธรรมเที่ยงธรรมเหมือนสโลแกนของกกต.เราต้องสร้างความมั่นใจให้ประชาชนว่าเราสามารถช่วยคัดเลือกคนดีให้เขาได้ แต่ปัญหาที่เราประสบอยู่ ณ เวลานี้อย่างการเลือกสว.ที่เป็นระบบใหม่ หลีกหนีระบบปกติที่ให้ประชาชนเลือกตั้ง ซึ่งเชื่อว่าผู้ร่างมีเจตนาที่ดีที่ให้บ้านเมืองพัฒนาได้คนที่มีคุณสมบัติมีคุณวุฒิที่ดีเข้ามากลั่นกรองกฎหมายที่ผ่านจากสภาผู้แทนราษฎร หรือกลั่นกรองผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ จึงให้เลือกเป็นกลุ่มอาชีพโดยกลุ่มอาชีพเลือกกันเองตามที่มีการสมัคร ซึ่งการเลือกกันเองและการเลือกไขว้ระหว่างอาชีพเพื่อนำไปสู่สว. ระดับประเทศ 200 คนจากที่มีคนสมัครเป็นแสนคนตรงนี้เป็นเรื่องใหญ่ของกกต. ซึ่งตอนคิดว่าระบบไม่เคยใช้มาก่อน จุดอ่อนก็คือสิ่งที่เหลือคิดไว้ล่วงหน้าว่าอะไรคือจุดอ่อนของระบบนี้ มันจะจัดสรรได้จริงหรือไม่โดยเราต้องเข้าใจว่าคนที่ลงสมัครก็ต้องคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะพาตัวเองเข้าไปสู่รอบลึกๆได้ และทำอย่างไรที่จะให้คนมาเลือกเขาเป็นตัวแทนของสาขาอาชีพนั้น ซึ่งเราก็กลัวว่าถ้าเข้ามากันเป็นแบบจัดตั้งเยอะๆเราก็จะได้ระบบจัดตั้งเข้ามาแต่ถ้าเข้ามาด้วยความที่ทุกคนอยากเป็นสว.เหมือนกันหมดมาจากหลากหลายกลุ่มอาชีพ และที่สุดก็มาเลือกคนที่มีความรู้ความสามารถจริงๆก็จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งคิดว่าเป็นข้อห่วงใยของกกต.ทุกคนในขณะนี้ว่าทำอย่างไรให้การเลือกสว. บรรลุวัตถุประสงค์ และเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญให้ดีที่สุด เราพยายามคิดว่าทำอย่างไรเราจะเข้าไปรู้สถานการณ์ต่างๆเหล่านั้นได้เพื่อที่จะเอาคนไม่ดีออกไปแล้วให้คนดีได้เข้าไปจริงๆ

เมื่อถามว่าจุดอ่อนกกต.คือเรื่องของการอ่อนการสื่อสารต่อประชาชน นายสิทธิโชติ กล่าวว่าตนยอมรับเพราะตอนที่อยู่ข้างนอกก็ฟังมาเยอะว่าทำไมกกต. ทำช้า ทำไมทำแบบนี้แบบนั้น แต่พอเราอยู่ข้างในจะรู้ว่ากกต.ทำตามขั้นตอนตามกฎหมายโดยไม่ได้สนใจกระแสว่าบีบไปทางไหนแต่สิ่งที่ทำก็ไม่ได้สื่อสารให้ประชาชนเข้าใจว่ากำลังทำอะไรอยู่ วิธีการทำงานเป็นอย่างไร ฉะนั้นการสื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจคิดว่าสำนักงานกกต.น่าจะต้องคิดวิธีการใหม่ นอกเหนือจากการให้สัมภาษณ์ หรือการออกเอกสาร ตรงนี้ต้องหาวิธีการพรีเซนต์ ให้ประชาชนทราบโดยไม่น่าเบื่อ ส่วนหนึ่งคิดว่าการมีส่วนร่วมของพรรคการเมือง และภาคประชาชนที่เข้ามาทำกิจกรรมร่วมกับกกต.และกกต.ได้เผยแพร่ให้ความรู้ไปว่า ณเวลานี้เป็นอย่างไร ซึ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของความคิดแต่ก็อยากรับฟังข้อเสนอแนะจากสื่อว่ากกตควรจะดำเนินการอย่างไรบ้างซึ่งอยากให้ช่วยกันเพราะการที่สื่อมวลชนแนะนำมาก็ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมซึ่งก็จะเป็นประโยชน์กับประชาชนซึ่งกกต. คงจะไม่นิ่งเฉยในเรื่องนี้คงจะต้องมีการพัฒนาตนเชื่อมันเช่นนั้น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง

คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ

'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!

นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน

ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)

ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476

รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง