นักการเมืองประสานเสียงแก้กฎหมายพรรคการเมือง!

กกต.จัดเสวนา 'พรรคการเมืองสร้างชาติ' ทุกพรรคประสานเสียง แก้กฎหมายพรรคการเมือง ดันทำงานเพื่อปชช. เต็มที่ ลั่นยุบพรรคไม่ใช่ทางออก

27 มี.ค.2567 - ที่อิมแพค ฟอรัม เมืองทองธานี สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้จัดเสวนาวิชาการเรื่องพรรคการเมืองสร้างชาติและการประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจการพรรคการเมือง โดยนายชัยธวัช ตุลาธน สส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคก้าวไกล นายชูศักดิ์ ศิรินิล สส.บัญชีรายชื่อและรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.), นายภราดร ปริศนานันทกุล รองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย และ ศ.วุฒิสาร ตันไชย นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีนายอิทธิพร บุญประคอง ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง กล่าวเปิดงาน และนายแสวง บุญมี เลขาธิการ กกต. กล่าวรายงาน ทั้งนี้ มีหัวหน้าพรรค และสมาชิกพรรคการเมืองเข้าร่วมงานเป็นจำนวนมาก

ซึ่งประเด็นคำถาม ในงานเสวนา คือพรรคการเมืองเอื้อประโยชน์ให้การเมืองไทยได้อย่างไรโดยนายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า โดยส่วนตนมองว่าพรรคการเมืองทุกพรรคที่ก่อตั้งขึ้น มีเจตนาว่าต้องการเข้ามาบริหารบ้านเมืองและนำนโยบายเข้ามาใช้ให้ประโยชน์กับประชาชนคงไม่มีพรรคการเมืองใด ที่ตั้งขึ้นแล้วอยากเป็นฝ่ายค้าน ซึ่งพรรคการเมืองได้ตั้งขึ้นและถูกกำกับโดยรัฐธรรมนูญ อีกทั้งบริบทของรัฐธรรมนูญนั้นมีความเข้มงวดในการควบคุมพรรคการเมือง ซึ่งทางพรรคการเมืองมองว่าเรามีเจตนาในจัดตั้งพรรคขึ้นก็จริงแต่เราถูกจำกัด มากมายหลายประการ ในข้อกฎหมาย ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่สามารถที่จะเรียกร้องอะไรได้ จึงมองว่าทางออกที่จะดีสุดคือการแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นพรรคการเมืองเป็นประชาธิปไตย

นายชูศักดิ์ กล่าวต่อว่าแทนที่จะบริหารชาติบ้านเมือง แต่กลับถูกมองว่ามาบริหารอำนาจ บางครั้งก็ถูกยุบพรรค ความต่อเนื่องในการบริหารชาติบ้านเมือง และดำเนินกิจกรรมทางการเมืองนั้นก็ไม่เกิดขึ้น โดยลึกๆ ไม่ค่อยเห็นด้วย ในเรื่องการยุบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นโดยง่าย ซึ่งเราเคยเสนอให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ในหลายเรื่องโดยเฉพาะมาตรา 92 (2) และ (3) แต่ท้ายที่สุดแล้วเราก็แก้ไม่สำเร็จ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ ซึ่งในส่วนพรรคการเมือง ก็สร้างนักการเมืองมืออาชีพ ให้ขึ้นมาบริหารพรรคการเมือง แต่ในปัจจุบันเรายังไม่มีร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะส่วนมากทุกคนก็มีอาชีพหลักควบคู่ไปด้วย ท้ายที่สุดแล้วการที่พรรคการเมือง ถูกควบคุมกำกับด้วยกฎหมาย แต่มองว่าควรจัดทำรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับพรรคการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยและมีความมั่นคงมากกว่าที่เป็นอยู่

ด้านนายวุฒิสาร กล่าวว่า พรรคการเมืองก่อนจะสร้างชาติควรจะมองว่าจะสร้างนักการเมืองที่ดีได้อย่างไรซึ่งความจริงที่ทำให้พรรคการเมืองมั่นคงและเดินต่อได้ คือความจริงที่อยู่ภายในพรรคการเมือง เช่น แก่นกลาง ที่เป็นชุดความคิดอุดมการณ์ จุดมุ่งหมาย เดียวกัน ที่สมาชิกพรรคจะมีความคิดเห็นตรงกันหรือไม่เชื่อเรื่องเดียวกันใช่หรือไม่ เพราะหากจะต้องมีอิสระในการจัดการบริหาร พรรคการเมืองควรเติบโตด้วยธรรมชาติไม่ใช่เติบโตด้วยกติกา คนที่จะควบคุมพรรคคือสมาชิกพรรคการเมือง คนที่จะรับผิดชอบคือกรรมการบริหารพรรคการเมือง ที่ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญ

นายวุฒิสาร กล่าวอีกว่าระบบกฎหมายควรเอื้อให้พรรคการเมืองเติบโตโดยประชาชน ซึ่งเรื่องที่สำคัญคือเราต้องยอมรับว่าพรรคการเมือง มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนแปลงการเมืองไทย ซึ่ง 4-5 ปีที่ผ่านมาบทบาทของ สส.ในการอภิปรายในสภาไปในทิศทางที่ดีเห็นชัดเจนว่า หากคุณจะพูดอะไรที่ไม่มีข้อมูลเป็นไปไม่ได้แล้ว เราเห็นถึงความเปลี่ยนแปลง ทุกคนต่างมีข้อมูลข้อเท็จจริงเข้ามาอ้างอิงในการอภิปราย แต่ที่ผ่านมากติกาหรือกฎหมายพรรคการเมือง ไม่เคยให้พรรคการเมืองเติบโตโดยธรรมชาติแต่กฎหมายออกมาซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆมีกติกาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอยากให้มี Mindset สำหรับกฎหมายนี้ จะต้องให้เวลาเพื่อเกิดการพัฒนาไปเรื่อยๆ อย่าออกกฎหมายเพื่อการยุบพรรคอย่างเดียว เพราะพรรคการเมืองถือว่าเป็นสมบัติของสมาชิกพรรค เราต้องออกกติกาให้ดีและมี Mindset ใหม่

ด้านนายชัยธวัช กล่าวว่าน่าเสียดายที่สังคมไทย สวนทางกับโลก และบอกว่าพฤติกรรมของพรรคก้าวไกล มีพฤติกรรมล้มล้างการปกครอง และถูกยุบพรรค ซึ่งในแง่นี้หมายความว่าพรรคการเมืองพรรคนี้ ไม่น่าจะมีบทบาทให้การเมืองดีและสร้างชาติ แต่ในทางตรงกันข้าม ถูกมองว่าเป็นพรรคการเมืองทำลายชาติเป็นพรรคการเมืองที่ไม่ดีซึ่งมีนัยยะที่เป็นประเด็นสำคัญอยู่ ทั้งนี้มองว่าพรรคการเมืองมีความสำคัญมากๆในการสร้างชาติ ในฐานะผู้มีบทบาททางตรงในการกำหนดนโยบายสาธารณะรวมถึงการออกกฏหมาย ตัวพรรคก้าวไกลเอง พยายามพัฒนาบุคลากรและตัวแทนของพรรคให้มีบทบาทสำคัญมากขึ้น เพราะไม่ว่าจะพูดถึงการกำหนดนโยบายสาธารณะ เราระดมสมองจากนักกฎหมาย และผู้เชี่ยวชาญ แต่ในเมืองไทยเราไม่เคยเห็นพัฒนาการทางการเมือง เราไม่เคยเห็นการถกเถียงทางการเมืองกันอย่างจริงจังดังนั้นตนคิดว่าควรจะมีได้แล้ว

นายชัยธวัชยังย้ำอีกว่า การเมืองดีไม่มีอะไรมากต้องวางอยู่บนหลักการพื้นฐานง่ายง่ายคือ 1.อำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน 2.สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานต้องได้รับการคุ้มครอง 3.กฎกติกาฟรีและแฟร์หรือไม่ หากเราออกแบบการเมืองที่เราคิดว่าการเมืองดีคือแบบนี้ เราก็จะออกกฎกติกาที่เชื่อว่าจะเอื้อต่อการพัฒนาทางการเมือง เพราะเชื่อว่าประชาชนเรียนรู้ได้ แต่หากการเมืองดีคือการที่ยุบพรรคการเมืองกันอย่างเป็นปกติ พรรคการเมืองถูกสั่งว่าหาเสียงแบบนี้ไม่ได้และอันตรายไป จนถึงการยุบพรรคนั้น และกฎพรรคการเมืองนั้นหยุบหยิบไปหมด การใช้งบประมาณ ไม่เอื้อต่อการสร้างพรรคการเมืองที่เข้มแข็งเลย ขอเงินยากและหากเราออกแบบกฎกติกาพรรคการเมืองด้วยพื้นฐานที่เรียกว่าเป็นการเมืองที่ไม่ไว้ใจประชาชนและต้องการพยายามควบคุมอำนาจ และสถาบันทางการเมืองที่ยึดโยงกับประชาชนให้อยู่ภายใต้อำนาจที่ไม่ได้ยึดโยงกับประชาชน แต่เป็น “คุณพ่อรู้ดีไปหมด” ว่าการเมืองที่ดีควรเป็นอย่างไร อันนี้ถือเป็นใจกลางสำคัญมากๆที่การเมืองไทยยังไม่จบว่าจะมีคำตอบจากเรื่องนี้อย่างไร

ด้านนายภราดร กล่าวต่อว่า สำหรับพรรคการเมืองที่ไม่รักษาคำพูดตอนหาเสียง จะมีบทลงโทษอย่างไรนั้น บอกว่าหากไม่ทำตามนโยบายที่หาเสียงไว้ ก็จะส่งผลต่อการเลือกตั้งครั้งต่อไป ยกตัวอย่างพรรคภูมิใจไทยกับนโยบายกัญชา ซึ่งระบุว่าจะทำกัญชาให้เป็นกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งในช่วง 4 ปีที่นายอนุทินเป็น รมว.สาธารณสุข ก็ทำให้เป็นกัญชาเสรีทางการแพทย์และสำเร็จไปส่วนหนึ่งแต่สิ่งที่ปรากฏออกมา เรากำลังเขียนกฎหมายเพื่อที่จะให้มีการควบคุมความเสรีของกัญชาเกี่ยวกับเรื่องของการสันทนาการ ซึ่งเราประกาศว่าไม่เห็นด้วยอยู่แล้ว แต่กฎหมายนั้นไม่สำเร็จเพราะอะไรก็แล้วแต่พักร่วมรัฐบาลขณะนั้นทำให้องค์ประชุมไม่ครบไม่เห็นด้วยพยายามเตะถ่วงให้กฎหมายนี้ไม่ผ่าน ก็มีผลกระทบ มาถึง การเลือกตั้งว่าภูมิใจไทยทำให้กัญชาเสรีมากเกินไปซึ่งไม่ใช่เจตนารมณ์ของเราเนื่องจากกฎหมายไม่แล้วเสร็จ ทำให้พรรคการเมืองอื่นนำมาโจมตีในสนามเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นคิดว่าการพูดแล้วไม่สามารถทำตามที่หาเสียงได้แม้บทลงโทษทางกฎหมายไม่มีแต่ก็จะถูกกดลงโทษทางสังคมต่อไปส่งผลต่อพรรคการเมืองในอนาคต

นายภราดรกล่าวว่า การเมืองจะดีหรือไม่ดีพรรคการเมืองจะดีหรือไม่ดีต้องเริ่มต้นจากกติกา พรรคการเมืองจะดีได้ กติกาก็ต้องดีก่อน พรรคการเมืองเป็นบ้านของสมาชิก และทำหน้าที่ในการนำเสนอ แนวทางความคิดของตัวเองสู่สาธารณะแล้วให้สาธารณะ วิพากษ์วิจารณ์เห็นตัวตนของพรรค ต้องมีการสอบถามว่าประชาชนต้องการอะไรแล้วเอาความต้องการนั้น มาเป็นแก่น เป็นหลักคิดนำเสนอต่อสังคมอีกครั้งแล้วลงสู่สนามเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนเลือกเข้าสู่การเป็นคณะบริหาร นี่คือสิ่งที่สังคมไทยปรารถนาที่จะเห็น แต่ที่ผ่านมาพรรคการเมืองถูกกดทับถูกบีบคั้น ถูกทำให้รู้สึกว่านักการเมืองและพรรคการเมืองเป็นสิ่งชั่วร้าย เป็นสิ่งที่สังคมไม่ปรารถนาจึงออกกติกามาเหมือนกับว่าพยายามที่จะเข่นฆ่านักการเมืองและเข่นฆ่าพรรคการเมือง ไม่ให้พรรคการเมืองมีการเติบโต โดยเฉพาะในรัฐธรรมนูญปี 2550 และฉบับ 2560 ที่มีกติกาในการยุบพรรคซึ่งตนคิดว่าไม่มีใครเห็นด้วยกับการยุบพรรคการเมืองจากกติกาที่เขียน ว่าจะต้องยุบจาก เหตุผล 1 2 3 แต่พรรคการเมืองควรจะต้องยุบพรรคจากประชาชน เพราะเกิดมาจากประชาชน ซึ่งในอดีตหลายพรรคการเมืองที่เกิดมาปัจจุบันก็ไม่มีสถานะแล้วเพราะประชาชนไม่เลือก อย่างไนก็ตาม หลายคนผ่านประสบการณ์ถูกยุบพรรคมาแล้วทั้งสิ้น อาจารย์ชูศักดิ์ 2 ครั้ง นายชัยธวัช 1 ครั้ง ส่วนตน 1 ครั้งและกำลังสุ่มเสี่ยงอีก 1 ครั้ง ฉะนั้น ถือว่าเป็นความเจ็บปวดในฐานะคนการเมืองที่ต้องมาทำการเมืองโดยมีความระแวง ว่าจะถูกยุบพรรคจากการทำงานการเมืองหรือไม่

“อยากเห็นพรรคการเมืองมาแข่งกันนำเสนอมุมมองทัศนคติทางการเมือง เศรษฐกิจสังคมการศึกษา จะเดินหน้าพัฒนาประเทศผ่านนโยบายต่างๆ แต่จะเห็นว่าในปี 2562 และ 2566 ในการเลือกตั้งพรรคการเมืองไม่ได้แข่งในเรื่องเหล่านี้ แต่กลับแข่งกันว่าเป็นพวกของใคร เป็นฝ่าย เผด็จการหรือฝั่งประชาธิปไตยซึ่งนี่เป็นเรื่องพื้นฐานมาก มันมีที่ไหนที่พรรคการเมืองอยู่ฝั่งเผด็จการ เพราะทุกคนก็มาจากการเลือกตั้ง”

นายภราดร กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามทุกอย่างอยู่ที่กติกา อย่างที่นายชูศักดิ์บอกว่า ชนใดเขียนกฎหมายก็เพื่อชนชั้นนั้น รัฐธรรมนูญปี 2560 ก็มาจากผู้ที่ทำรัฐประหารเมื่อปี 2557 เขียน กฎหมายเขียน รัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์การเลือกตั้งปี 2562 กติกาจึงบิดเบี้ยวมาจนถึงทุกวันนี้ ดังนั้นคิดว่าสิ่งที่พรรคการเมืองเห็นตรงกันว่าประเด็นแรกที่จะต้องทำคือการแก้ไขกติกาให้เป็นสากล แก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน ผ่านสสร.ที่มาจากประชาชน นี่คือเรื่องสำคัญที่เป็นหัวใจของการเลือกตั้งรอบนี้และอนาคตต่อไปหาก กติกาเข้มแข็งเป็นสากล มาจากประชาชน ซึ่งยังไม่รู้ว่าสุดท้ายจะออกมาแบบไหนแต่แน่นอนว่าเมื่อมาจากประชาชนย่อมดีกว่ารัฐธรรมนูญที่มาจากเผด็จการ ทั้งฉบับ 2550 และ 2560 ดังนั้นเมื่อกติกาดี พรรคการเมืองดีก็นำไปสู่การเมืองที่ดี

"พรรคการเมืองต่อไปนี้ถ้าเป็นกติกาใหม่เราจะไม่ต่อสู้การเมืองบนคำว่าเผด็จการ หรือคำว่าประชาธิปไตย แต่จะมาต่อสู้กัน ว่าเราเป็นพรรคการเมืองแบบอนุรักษ์นิยม เป็นพรรคการเมืองเสรีเราจะทำเศรษฐกิจแบบทุนเสรีทำเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมอะไรก็แล้วแต่ นี่คือช่องทางการนำเสนอของพรรคการเมืองที่จะเสนอต่อประชาชนให้ได้เลือกในสิ่งที่เขาควรจะเลือก ไม่ใช่ว่ามาเลือกว่าเป็นเผด็จการประยุทธ์ หรือไม่ประยุทธ์หรือมีลุงไม่มีเราอะไรแบบนี้" นายภราดร กล่าว และว่า พฤติกรรม การกระทำของพรรคการเมืองต่างๆ จะมีผลต่ออนาคตที่ประชาชน จะเป็นผู้ตัดสินผ่านการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้หมายความว่านักการเมืองตรวจสอบไม่ได้องค์กรอิสระยังมีหน้าที่ในการตรวจสอบนักการเมืองอยู่ดี แต่ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่พอเหมาะพอสม ที่ไม่ใช่ว่ามีธงการเมือง ที่จะกลั่นแกล้งทางการเมืองกัน อย่างเรื่องของการยุบพรรค ซึ่งเชื่อว่าการยุบพรรคทุกครั้งนั้นมีธงทางการเมืองและเชื่อว่าสังคมก็เห็นแบบนั้นเหมือนกัน ทั้งนี้ไม่ได้หมายความว่าพรรคการเมืองถูกตรวจสอบโดยองค์กรอิสระไม่ได้ แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมายแต่พอเหมาะสม และการตรวจสอบที่เข้มแข็งที่สุดคือการตรวจสอบโดยประชาชน

นายภราดร ยังกล่าวถึง นโยบายเงินดิจิทัล10,000 บาทว่าพรรครัฐบาลมีความเป็นห่วงโครงการดังกล่าวแล้วจะขอไม่เข้าร่วมประชุมหรือไม่ ว่า ในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล รัฐบาลได้ประกาศเป็นนโยบายของรัฐบาลไปแล้ว เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ในองคาพยพก็ต้องเดินหน้าไปตามนโยบายของรัฐบาล แน่นอนว่าพรรคภูมิใจไทยก็ต้องเดินหน้าไปตามนโยบายของรัฐบาล แต่ในปี 2567 ยังติดขัดในเรื่องของงบประมาณที่ยังไม่สามารถเอาไปใช้ได้ ก็อาจจะต้องหาช่องทางอื่นซึ่งเชื่อว่าขณะนี้ทางรัฐบาลกระทรวงการคลังกำลังหาช่องทาง เพื่อจะนำเงินมาดำเนินนโยบายนี้ได้อย่างไร แน่นอนว่าก็มีทางออกในการออกเป็นพ.ร.ก. เงินกู้ได้หรือไม่ ซึ่งก็เป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรี หรือออกเป็นพ.ร.บ. ซึ่งต้องผ่านสภาได้หรือไม่ ก็ต้องมาถกเถียงในสภาต่อไป ดังนั้นคิดว่าในฐานะพรรคร่วมรัฐบาล เมื่อเป็นนโยบายรัฐบาลก็จำเป็นที่จะต้องร่วมกันผลักดันให้สำเร็จ หากไม่มีอะไรที่หนักหนาสาหัสหรือผิดกฎหมายซึ่งส่วนตัวมองว่าไม่ผิดกฎหมายอะไรก็สามารถที่จะผลักดันไปได้ ส่วนความเห็นพรรคฝ่ายค้าน หรือพรนคก้าวไกลไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ ก็ว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ธรรมนัส' รูดซิปปาก! ไม่รู้ 'วัน อยู่บำรุง' ย้ายซบพลังประชารัฐ เรื่องของบิ๊กป้อม

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมว.เกษตรและสหกรณ์ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ปฏิเสธที่จะตอบคำถามถึงกรณี นายวัน อยู่บำรุง อดีตสมาชิกพรรคเพื่อไทย จะย้ายไปสมัครสมาชิกพรรคพลังประชารัฐในวันอังคารที่ 23 ก.ค.นี้โดยระบุสั้นๆว่า ตนไม่ทราบ

'อนาคตไกล' รับซื้อ 'ปลาหมอคางดำ' 20 ตันเพื่อกำจัด อัด 'พิธา' ตรรกะวิบัติอ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น

“พรรคอนาคตไกล” บรรเทาความเดือดร้อนพี่น้องเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและชาวประมง รับซื้อปลาหมอคางดำ 20 ตันเพื่อกำจัด อัด "พิธา-ก้าวไกล ตรรกะวิบัติ" อ้างคนจะเพาะเลี้ยงมากขึ้น

‘อยู่บำรุง’ อยู่บ้านป่า เลือกนายดูนํ้าใจ ‘เหลิม’ รอเพื่อไทยขับ ‘วัน’ เปิดตัว พปชร. 23 ก.ค.

"ทักษิณ" หอบหลานไปเลี้ยงที่เขาใหญ่ “อนุทิน” เปิดรีสอร์ตต้อนรับ ร่วมร้องเพลงสนุกสนาน "เหลิม-วัน" ซบพลังประชารัฐ ปิดดีล ของแท้ เปิดตัว 23 ก.ค. เผยสัมพันธ์

จับตาเปิดตัว 'วัน อยู่บำรุง' ซบพลังประชารัฐ 23 ก.ค.นี้ ยังมีไหลเข้าตามมาอีก

นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม โพสต์เฟสบุ๊คระบุถึงกรณีที่นายวัน อยู่บำรุง เตรียมย้ายไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.)ว่า ”ปิดดีล ของแท้....อังคารนี้ บ่ายสาม รอพี่หนุ่ม เปิดตัว... มีคนตามมาอีกเพียบ...งานนี้ของแท้..

เคลื่อนไหวทันควัน! 'กาโม่ อาชวิน' ทายาทอยู่บำรุง โพสต์ชี้แจงหลัง 'เฉลิม' จะพาเข้า พปชร.ด้วยกัน

นายอาชวิน อยู่บำรุง หรือ กาโม่ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม บุตรชายนายวัน อยู่บำรุง อดีต สส.กทม. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า จากที่มีการได้กล่าวถึงชื่อผม

'เฉลิม' ยืนยันหอบตระกูล 'อยู่บำรุง' ย้ายซบพลังประชารัฐ แน่นอนล้านเปอร์เซ็นต์

ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกระแสข่าวที่จะย้ายไปร่วมงานกับพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ว่า เป็นเรื่องจริง 1 ล้านเปอร์เซ็นต์ โดยตนรู้จักกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค พปชร. มานานกว่า 30 ปี หากพรรคพท.มีมติขับ