'สว.สถิตย์'จัดเต็ม!ซักฟอกรัฐบาล 5 ด้าน

26 มี.ค.2567- ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 25 มีนาคม 2567 วาระการเปิดอภิปรายทั่วไปในวุฒิสภา เพื่อให้คณะรัฐมนตรีแถลงข้อเท็จจริง หรือชี้แจงปัญหาสำคัญเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน โดยไม่มีการลงมติ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 153 โดยนายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้อภิปรายให้รัฐบาลแถลงข้อเท็จจริง 5 ด้าน

ด้านแรก การสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ สว.สถิตย์ ได้แสดงข้อเท็จจริงว่า เศรษฐกิจไทยโตต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น คือ ร้อยละ 3.5 โดยชี้ให้เห็นว่าการลงทุนที่ผ่านมาเป็นยักษ์หลับในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเห็นได้จาก สัดส่วนการลงทุนในงบประมาณ และสัดส่วนการลงทุนรวมใน GDP ไม่เพียงพอ อีกทั้งด้านการส่งออก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจซึ่งปรากฏว่าสินค้าส่งออก กลายเป็นเครื่องจักรเก่าทางเศรษฐกิจเป็นสินค้าล้าสมัยไม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีและความต้องการของตลาดโลกในปัจจุบัน ในขณะที่รัฐบาลมี “นโยบายจะสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ”

สว.สถิตย์ได้ตั้งคำถามว่า “รัฐบาลจะมีนโยบายเชิงโครงสร้าง ทำให้เศรษฐกิจโตเต็มศักยภาพ หรือมากกว่านั้นได้อย่างไร”

ด้านที่ 2 การเติบโตอย่างทั่วถึง สว.สถิตย์ ได้อภิปรายว่า การเติบโตที่ดี ต้องเป็นธรรมและทั่วถึง ทั้งมิติค่าสัมประสิทธิ์ความเสมอภาค มิติรายได้ มิติรายจ่าย และมิติเชิงพื้นที่ซึ่ง 15 จังหวัดขนาดใหญ่มีสัดส่วนใน GDP ถึงร้อยละ 70 ขณะที่อีก 62 จังหวัดที่เหลือ มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 30 นอกจากนี้ระเบียงเศรษฐกิจทั้ง ระเบียงฯภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง-ภาคตะวันตก และภาคใต้ ยังขาดการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง ในขณะที่รัฐบาลมี “นโยบายจะพัฒนาพื้นที่ และเมืองให้เกิดการกระจายความเจริญ และกิจกรรรมทางเศรษฐกิจไปสู่ภูมิภาค”

สว.สถิตย์ได้ตั้งคำถามกับประเด็นนี้ว่า “รัฐบาลจะมีเป้าหมาย ในการลดความเหลื่อมล้ำเชิงพื้นที่ ให้กับ 62 จังหวัดที่เติบโตน้อยได้อย่างไร” และ “ใน 6 เดือนที่ผ่านมารัฐบาลได้ “ดำเนินการผลักดันการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจทั้ง 4 ภาคอย่างไร และมีแผนที่จะดำเนินการต่อไปอย่างไร”
ในเรื่องการกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่น ซึ่งมีเป้าหมายให้สัดส่วนรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร้อยละ 35 ของรายได้รัฐบาล แต่การจัดสรรรายได้ใน 10 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ยเพียงร้อยละ 29 ในขณะที่รัฐบาลมี “นโยบายจะกระจายอำนาจเพื่อสร้างประสิทธิภาพองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่”

สว.สถิตย์ตั้งคำถามว่า “รัฐบาลมีนโยบายและแผนที่จะจัดสรรรายได้ท้องถิ่นให้ถึงร้อยละ 35 ของรายได้รัฐบาลหรือไม่ อย่างไร”

ด้านที่ 3 ซอฟต์พาวเวอร์ สว.สถิตย์ ให้ข้อเท็จจริงว่า รัฐบาลสนับสนุนซอฟต์พาวเวอร์ 11 สาขาได้แก่ อาหาร, แฟชั่น, การออกแบบ, ศิลปะ, หนังสือ, ภาพยนตร์, เฟสติวัล, ดนตรี, ท่องเที่ยว, กีฬา และเกมส์ จัดแบ่งเป็น 54 โครงการ งบประมาณกว่า 5 พันล้านบาท โดยมีเป้าหมายสร้างงาน 20 ล้านตำแหน่ง สร้างรายได้ 200,000 บาทต่อครอบครัวต่อปี

สว.สถิตย์ ได้อภิปรายว่า ซอฟต์พาวเวอร์ตามตำรามี 3 เรื่อง คือ ค่านิยมการเมือง นโยบายต่างประเทศ และวัฒนธรรม ประเทศไทยคงต้องเน้นหนักไปทางด้านวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เพื่อโน้มน้าวจูงใจให้ประเทศอื่นคล้อยตามโดยสมัครใจ อันเป็นลักษณะของซอฟต์พาวเวอร์หรืออำนาจนุ่มนวลที่ไม่ต้องใช้กำลังทหาร หรือการบีบบังคับทางเศรษฐกิจ อย่างเช่นอำนาจแข็งกร้าว หรือฮาร์ดพาวเวอร์

สำหรับ 11 สาขาที่รัฐบาลจำแนกไว้ต้องมองโดยรวมอย่างบูรณาการเพื่อสะท้อน “ความเป็นไทย” ให้ประเทศอื่นหลงใหลยอมทำตามสิ่งที่เป็นวัฒนธรรมสร้างสรรค์ของไทย โดยไม่ต้องบังคับ เช่นเดียวกับ ญี่ปุ่นที่ส่งเสริม Cool Japan ไม่ว่าจะเป็นอาหาร แฟชั่น ภาพยนตร์ ก็อยู่ในธีมของ Cool Japan หรือเกาหลีที่เน้นธีม Korean Wave หรือคลื่นเกาหลี ไม่ว่าจะเป็น K-Drama K-Pop K-Culture ด้วยเหตุนี้ซอฟต์พาวเวอร์ของไทยจะต้องมุ่งเน้นไปที่ “ความเป็นไทย” ส่วน 11 สาขา เป็นเพียงองค์ประกอบ

สว.สถิตย์อภิปรายต่อว่า รัฐบาลยังมีนโยบายที่จะจัดตั้งองค์กรคอนเทนต์ที่เรียกว่า THACCA โดยให้ข้อคิดเห็นว่าต้องเป็นองค์กรในการพัฒนาระบบนิเวศน์ ทั้งในเรื่องการปลดปล่อยกฏระเบียบ การส่งเสริมเทคโนโลยี การพัฒนากองทุน การร่วมมือกับภาคเอกชน และการส่งออกวัฒนธรรม
สว.สถิตย์ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ซอฟต์พาวเวอร์ คือ หนทางในการนำทุนทางวัฒนธรรมไปสู่ความสำเร็จในเวทีโลก พัฒนาวัฒนธรรมไทยให้มีความเป็นสากลระดับโลก เอารสนิยมความต้องการตลาดโลกเป็นที่ตั้ง และปรับความเป็นไทยให้สอดคล้องกับตลาดโลก ต้องตั้งเป้าหมายการส่งออกวัฒนธรรมสร้างสรรค์ให้เป็นรายได้หลักของประเทศ ต้องทำให้ซอฟต์พาวเวอร์ ของไทยโดดเด่นในโลกท่ามกลางคู่แข่งที่สำคัญ ในขณะที่รัฐบาลมี “นโยบายจะสร้างพลังสร้างสรรค์หรือซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศและสร้างรายได้ผ่านการส่งเสริม 1 ครอบครัว 1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์”

สว.สถิตย์ตั้งคำถามว่า “รัฐบาลมีนโยบายเชิงยุทธศาสตร์ในการบูรณาการนโยบาย ซอฟต์พาวเวอร์ 11 สาขาอย่างไร และได้มีการพัฒนาทักษะ 1 ครอบครัว 1 ซอฟต์พาวเวอร์ไปแล้วมากน้อยเพียงใด ผ่านกลไก หรือหน่วยงานใด และรัฐบาลจะดำเนินการจัดตั้ง THACCA เมื่อใด โดยวิธีการใด”

ด้านที่ 4 รัฐบาลดิจิทัล ว.สถิตย์อภิปรายว่า ดิจิทัลเทคโนโลยี คือพลังเปลี่ยนแปลงโลกอย่างรวดเร็ว สร้างโอกาสมหาศาลให้กับรัฐบาลทั่วโลก สร้างความมั่งคงให้ประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพภาครัฐ ในขณะเดียวกันก็ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐอย่างมีนัยสำคัญ สิ่งที่รัฐบาลต้องผลักดัน คือ บัตรประชาชนดิจิทัลและเป็นบัตรเดียวที่ใช้ยืนยันตัวตน ในการติดต่อรับบริการภาครัฐ ทั้งสวัสดิการ การเงิน สุขภาพ การศึกษา การเดินทาง เป็นต้น

ในเรื่องการใช้คลาวด์ รัฐบาลต้องผลักดันแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างๆ ของภาครัฐ ให้เป็นแพลตฟอร์มการทำงานยุคใหม่บนคลาวด์ และจะต้องให้แต่ละกระทรวงมีศูนย์กลางคลาวด์ที่เดียว ส่วนหน่วยงานเล็กๆ ให้รวมที่คลาวด์กลางของรัฐบาลเพื่อความเป็นเอกภาพ และลดค่าใช้จ่ายภาครัฐลงไปได้มาก นอกจากนี้ ควรจะรวมสำนักงานที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาลดิจิทัลทั้งหมดมาไว้ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในขณะที่รัฐบาลมี “นโยบายจะนำเอาเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาใช้อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อประโยชน์ของประเทศ และประชาชน”

สว.สถิตย์ตั้งคำถามว่า “รัฐบาลจะผลักดันการใช้ดิจิทัลไอดี ให้ครบถ้วนทุกหน่วยงานภาครัฐ เมื่อใด อย่างไร และจะผลักดันให้บูรณาการ การใช้คลาวด์หรือไม่ อย่างไร และจะรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลมาไว้ที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือไม่ อย่างไร”

ด้านที่ 5 การพ้นกับดักรายได้ปานกลาง สว.สถิตย์ ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางของประเทศต่างๆว่า อิตาลี ใช้อุตสาหกรรมอาหาร การท่องเที่ยว และ SME ไต้หวัน เน้นอุตสาหกรรมไฮเทค และSME ส่วนเกาหลี จากอุตสาหกรรมหนักไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ด้านมาเลเซียมีวิสัยทัศน์ 2020 ใช้อุตสาหกรรมไฮเทคเป็นตัวนำ เวียดนามและอินโดนีเซีย ประกาศจะพ้นกับดักรายได้ปานกลางในปี ค.ศ. 2045 ครบ 100 ปี หลังจากได้รับเอกราช ส่วนประเทศไทย แต่เดิมมีวิสัยทัศน์จะก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางในปี พ.ศ. 2580 แต่มาสะดุดกับสถานการณ์โควิด-19 คงต้องขยายเวลาออกไป

สว.สถิตย์ได้ตั้งคำถามว่า “รัฐบาลจะมีวิสัยทัศน์ และเป้าหมาย ในการทำให้ประเทศพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางหรือไม่ อย่างไร และเมื่อใด”

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'ปิยบุตร' หนุน 'กกต.' เร่งประกาศรับรองผล 'เลือก สว.' ก่อนค่อยสอยทีหลัง

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า กล่าวถึงการเลือก สว.ว่า ผลที่ออกมาแปลกประหลาดมาก ซึ่งหากมีปัญหาเช่นนี้ก็ไม่สอด

โฆษกก้าวไกล ชี้บทพิสูจน์ผลงาน สว.ชุดใหม่ ออกแบบ ส.ส.ร. ต้องมาจากเลือกตั้ง 100%

นายพริษฐ์ วัชรสินธุ สส.บัญชีรายชื่อและโฆษกพรรคก้าวไกล กล่าวถึงการคัดเลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ว่า ทุกอย่างเป็นผลลัพธ์กระบวนการเลือก สว.ในรัฐธรรมนูญ แต่เรื่องสำคัญเฉพาะหน้าคือ ทำอย่างไรให้คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)

'อนุทิน' สมเพชคนด้อยค่า สว. ชี้เจตนารมณ์รธน.ต้องการให้มีคนหลากหลาย

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย ในฐานะหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่มีเสียงด้อยค่าของ สว. ว่า ตนรู้สึกสมเพชคนด้อยค่า เป็นการแสดงที่ให้เห็นชัดเจนว่า คนที่พูด อย่างเช่น สว.ไม่มีการศึกษา

‘อนุทิน’ ร้องโอ้โห! ‘ภูมิใจไทย’ โดนโยงเอี่ยวเลือก สว. ลั่นไม่ทำอะไรผิดกม.

’อนุทิน‘ ยินดี ’ลุงชาญ‘ คว้านายก อบจ.ปทุมธานี ยันไม่มีแนวคิดแข่งสนามท้องถิ่น ร้องโอ้โห พูดได้ไงภูมิใจไทยเอี่ยวเลือก สว.

'สมชาย' ไล่บี้ กกต. นับคะแนนใหม่ชุดบล็อกโหวต จับแก๊งฮั้วเลือก สว.

นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า